‘น้ำ’ กับ ‘งานมนุษยธรรม’ คุยกับวิศวกรของ ICRC เนื่องในวันน้ำโลก 20/03/2024, บทความ วันที่ 22 มีนาคม เป็นวันน้ำโลก (World Water Day) ซึ่งเป็นวันที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อทุกชีวิต นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่ามนุษย์สามารถมีชีวิตอยู่ได้ราว 3 สัปดาห์หากขาดอาหาร แต่สามารถมีลมหายใจได้เพียง 3 วัน หากปราศจากน้ำดื่ม อย่างไรก็ดี ทุกวันนี้ด้วยภาวะสงคราม ความขัดแย้ง ความไม่สงบต่างๆ การเข้าถึงน้ำสะอาดยังคงเป็นปัญหาใหญ่ และเป็นเรื่องจำเป็นถึงชีวิตสำหรับหลายพื้นที่ในปัจจุบัน ธันวิชช์ มหัทธนาสิงห์ ...
ในครอบครัวผู้สูญหาย เมื่อสตรีต้องกลายเป็นช้างเท้าหน้า เสียงจากศรีลังกาเนื่องในวันสตรีสากล 11/03/2024, บทความ ‘กว่าหมื่นคน’ คือจำนวนเคสคร่าวๆ ของครอบครัวผู้สูญหายในประเทศศรีลังกาที่ยังคงรอคอยข่าวคราวจากบุคคลอันเป็นที่รัก แม้ความขัดแย้งภายในประเทศจะจบลงเป็นเวลากว่า 10 ปี แล้วก็ตาม “บางบ้านผู้ชายออกไปร่วมรบและไม่ได้รับข่าวคราวอีกเลย มันเป็นความสูญเสียที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ทิ้งช่องว่างและสร้างผลกระทบให้คนที่อยู่ข้างหลังเป็นเวลาหลายสิบปี” บุณฑริก จำปาไทย เจ้าหน้าที่ฝ่ายคุ้มครองของเราที่ได้เข้าไปสัมผัสประสบการณ์ตรงในงานสานสัมพันธ์ครอบครัวของประเทศศรีลังกากล่าว “หากพี่ชายยังอยู่เขาคงจะอายุเท่านั้น หากสามียังอยู่บ้านเราคงจะเป็นแบบนี้” เป็นประโยคที่บุณฑริกได้ยินอยู่บ่อยครั้ง การสูญหายของผู้ชายที่เป็นความหวัง และเป็นช้างเท้าหน้า นำพาไปสู่ผลกระทบทั้งทางเศรษฐกิจและจิตใจ เพราะทำให้ผู้หญิงจำนวนมากต้องลุกขึ้นสู้เพื่อหาทางรอดให้ตัวเองและครอบครัว “เราเคยเจอแต่ผู้หญิงที่สู้ ไม่เคยเจอคนที่ไม่สู้ หลายครั้งที่ลงพื้นที่แล้วเจอภรรยาหรือคุณแม่ของบุคคลสูญหายมีแรงใจลุกขึ้นทำงานหลายๆ ...
รัสเซีย-ยูเครน ความขัดแย้งระหว่างประเทศนำไปสู่การสูญหายของบุคคล 23,000 ชีวิต 23/02/2024, บทความ คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศพยายามตามหาผู้สูญหาย 23,000 ชีวิต ซึ่งยังไม่ทราบชะตากรรม บางรายอาจถูกจับกุม ถูกสังหาร หรือขาดการติดต่อกับครอบครัวเพราะหลบหนีจากความขัดแย้ง ความเจ็บปวดจากการพลัดพราก ยิ่งเพิ่มเติมความทุกข์ให้กับครอบครัวของผู้สูญหายที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์อันยากลำบาก หลังการขัดกันทางอาวุธยกระดับขึ้นเมื่อสองปีก่อน ความต้องการด้านมนุษยธรรมมีแต่จะเพิ่มสูงขึ้น นั่นรวมไปถึงผู้คนหลายล้านที่ต้องพลัดถิ่น ทั้งภายในประเทศ และระหว่างประเทศ “การไม่ทราบชะตากรรมของบุคคลอันเป็นที่รักเป็นเรื่องสาหัสมาก นี่คือความจริงอันน่าสลดใจของหลายหมื่นครอบครัวที่ต้องอยู่กับความเจ็บปวดเรื่อยมา ครอบครัวมีสิทธิ์รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับญาติของตน และหากเป็นไปได้ พวกเขาจะต้องสามารถแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างกันได้” ซาน วูจาซานิน หัวหน้าสำนักงานกลางเพื่อสืบหาญาติ (Central ...
‘คาลิดู คูลิบาลี’ นักเตะทีมชาติเซเนกัล สู่ภารกิจคุ้มกันผู้ได้รับผลกระทบจากการสู้รบ 29/01/2024, News / ไทย อาบีจาน/เจนีวา – คาลิดู คูลิบาลี นักเตะกองหลังและกัปตันทีมชาติเซเนกัลในการแข่งขันฟุตบอล แอฟริกา คัพ ออฟเนชั่นส์ ร่วมกับคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ไอซีอาร์ซี) ผลิตภาพยนตร์สั้นเพื่อสร้างความตระหนักเกี่ยวกับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศในหมู่ประชาชนคนทั่วไปและผู้ถืออาวุธ ภาพยนตร์ “Defenders” (กองหลัง) มีเป้าหมายสำคัญเพื่อสื่อสารไปยังกลุ่มผู้ถืออาวุธรุ่นเยาว์ให้ตระหนักเกี่ยวกับกฎเกณฑ์พื้นฐานแห่งสงคราม เช่น การห้ามโจมตีพลเรือนไม่ว่ากรณีใด การดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อสตรีและเด็กอันเป็นผลจากการปฏิบัติการทางทหาร รวมถึงการไว้ชีวิตศัตรูที่ยอมจำนน เป็นต้น “ฟุตบอลสามารถสื่อสารประเด็นสำคัญไปยังผู้คนได้อย่างทั่วถึงและเข้าใจง่าย และเรื่องสำคัญเหนือสิ่งอื่นใดสำหรับแอฟริกา ก็คือ ...
ไอซีอาร์ซีเผยแพร่แผนยุทธศาสตร์ ประจำปี 2024-2027 11/01/2024, News / ไทย สืบเนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการแบ่งขั้วความคิดทางการเมืองและมีการยกระดับความรุนแรงของการขัดกันทางอาวุธมากขึ้นทั่วโลก คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ไอซีอาร์ซี) เตรียมพร้อมรับมือต่อสถานการณ์ดังกล่าวผ่านการกำหนดแผนยุทธศาสตร์ประจำปี 2024-2027 เพื่อเป็นกรอบแนวทางการดำเนินงานขององค์กรในระยะเวลา 4 ปีข้างหน้า จุดมุ่งหมายของแผนยุทธศาสตร์ฉบับนี้ คือ แก้ไขปัญหาอันเกิดจากภูมิทัศน์โลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และเน้นย้ำเป้าหมายหลักขององค์กรในการคุ้มครองและช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการขัดกันทางอาวุธและความรุนแรง ในห้วง 4 ปีข้างหน้า ไอซีอาร์ซีจะให้ความสำคัญต่อการเสริมสร้างงานด้านการคุ้มครองและการพูดคุยหารือกับทั้งฝ่ายรัฐและกลุ่มติดอาวุธที่ไม่ใช่รัฐ เพื่อให้ทุกฝ่ายปฏิบัติตามพันธกรณีภายใต้กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (international humanitarian law – IHL) ทุกประการ ...
เตือนภัย ICRC เปิดรับบริจาคผ่านทางช่องทางออนไลน์ที่เป็นทางการเท่านั้น 26/12/2023, บทความ ICRC (International Committee of the Red Cross) หรือ คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ มีเงินทุนหลักมาจากการบริจาคโดยสมัครใจของรัฐบาลต่างๆ ที่เป็นภาคีของอนุสัญญาเจนีวา สภากาชาดของแต่ละประเทศ องค์กรและสถาบันระหว่างประเทศ รวมถึงหน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่างๆ ปัจจุบัน เงินทุนกว่า 80% ของ ICRC มาจากการบริจาคโดยรัฐ ICRC มีการเปิดรับบริจาคจากภาคประชาชน แต่ผ่านทางช่องทางออนไลน์ที่เป็นทางการเท่านั้น ...
ทำความรู้จัก 3 หลักการพื้นฐาน กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ 20/12/2023, บทความ กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (International Humanitarian Law – IHL) วางกฎเกณฑ์ที่ได้รับการตกลงร่วมกันเกี่ยวกับวิธีในการในการสู้รบ กฎที่ว่านี้กล่าวว่าสิ่งใดบ้างที่ไม่ใช่เป้าหมายของการโจมตี และการโจมตีเหล่านั้นจะต้องทำด้วยวิธีการใดเพื่อให้ได้สัดส่วนระหว่างความจำเป็นทางการทหารกับความเสียหายทางมนุษยธรรม บทความนี้จะพาไปรู้จัก 3 หลักการพื้นฐานของกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ 1.แบ่งแยกพลรบกับพลเรือน (Distinction) การโจมตีเป้าหมายทางการทหาร รวมไปถึงพลรบไม่ได้ถูกห้ามตามหลักกฎหมายที่ว่านี้ ในทางตรงกันข้าม การโจมตีพลเรือนและวัตถุพลเรือนไม่สามารถกระทำได้ นั่นไปถึงการโจมตีโดยตั้งใจและการโจมตีเป็นวงกว้างแบบไม่แบ่งแยก 2.ความได้สัดส่วน (Proportionality) กำหนดข้อห้ามในการโจมตีเป้าหมายทางการทหารหากการโจมตีนั้นจะส่งผลกระทบต่อประชาชน กฎข้อนี้ระบุว่าการโจมตีต่างๆ ...
โรงพยาบาล สามารถสูญเสียความคุ้มครองจากกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศได้หรือไม่ 20/12/2023, บทความ โรงพยาบาลได้รับการคุ้มครองเป็นพิเศษจากกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ เพราะเป็นสถานที่สำหรับรักษาผู้ป่วยและผู้ได้รับบาดเจ็บ ทุกฝ่ายในความขัดแย้งไม่สามารถโจมตีโรงพยาบาล หรือเข้าขัดขวางไม่ให้โรงพยาบาลทำหน้าที่ทางการแพทย์ อย่างไรก็ดี โรงพยาบาลอาจสูญเสียสถานะการคุ้มครองได้เช่นกันหากถูกนำไปใช้นอกเหนือเป้าหมายทางมนุษยธรรม ยกตัวอย่างเช่น ใช้เป็นที่ซ่อนของพลรบ หรือใช้เป็นที่สำหรับกักเก็บอาวุธ . โรงพยาบาลอาจสูญเสียความคุ้มครองหากพบว่าถูกใช้งานในทางการรบ ทุกฝ่ายต้องตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจว่าโรงพยาบาลถูกใช้ในเป้าหมายดังกล่าวจริง อ้างอิงจากการประเมินข้อมูลบนพื้นฐานข้อเท็จจริงอย่างสมเหตุสมผล และหากแน่ใจแล้วว่าเป็นเช่นนั้น ก็ต้องมีการประกาศเตือนเพื่อให้ฝ่ายตรงข้ามหยุดใช้โรงพยาบาลในทางที่ไม่ถูกต้อง หากการเตือนไม่เป็นผล คู่ขัดแย้งต้องให้เวลาสำหรับโรงพยาบาลในการขนย้ายผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ออกจากพื้นที่ . อย่างไรก็ดี ทั้งหมดนี้ไม่ได้หมายความว่าโรงพยาบาลสามารถถูกโจมตีได้ในทันที เพราะภายใต้กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ การโจมตีต้องตั้งอยู่บนหลักความได้สัดส่วนและความระมัดระวัง ผู้มีส่วนร่วมในความขัดแย้งต้องทำทุกอย่างเท่าที่เป็นไปได้เพื่อปกป้องผลกระทบต่อเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์และผู้ป่วย ...
“Broken Cities” สำรวจผลกระทบอันซ่อนเร้นของสงครามในเมือง ครั้งแรกในรูปแบบโปรแกรม 3 มิติ ผ่านภาพถ่ายอาคารที่พังทลายกว่า 35,000 ภาพ 20/12/2023, News / ไทย นครเจนีวา (ไอซีอาร์ซี) – ร่วมสำรวจผลพวงอันโหดร้ายของการสู้รบที่เกิดขึ้นในพื้นที่เขตเมืองผ่าน ‘Broken Cities’ นิทรรศการดิจิทัลแบบอิมเมอร์ซีฟ ที่นำเสนอภาพถ่ายสภาพภายในของอาคารที่พังทลายจากสงครามกว่า 35,000 ภาพ ครั้งแรกในรูปแบบโปรแกรม 3 มิติ นิทรรศการนี้ จัดทำขึ้นโดยคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ หรือ ไอซีอาร์ซี (International Committee of the Red Cross ...
ประธานไอซีอาร์ซี กล่าว ณ การประชุมว่าด้วยสถานการณ์ในฉนวนกาซา “พลเรือนต้องได้รับการคุ้มครอง ตัวประกันต้องได้รับการปล่อยตัวโดยปราศจากอันตราย” 17/11/2023, News / ไทย นาง มีรยานา สปอลจาริก เอกเกอร์ ประธานไอซีอาร์ซี กล่าวในการประชุมนานาชาติ ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่พลเรือนในฉนวนกาซา สภาพความเจ็บปวดทุกข์ทรมานที่เกิดขึ้นในฉนวนกาซาและอิสราเอลเป็นเรื่องยากเกินกว่าที่เราจะรับได้ การสูญเสียซึ่งชีวิตของผู้คนและเด็กจำนวนมาก การทำลายล้างบ้านเรือนของประชาชน บาดแผลทางจิตใจที่ฝังลึกและยาวนาน การที่ยังมีคนถูกจับเป็นตัวประกันอยู่และความเจ็บปวดรวดร้าวที่ครอบครัวของพวกเขาต้องเผชิญ นับเป็นเรื่องโหดร้ายเกินจะรับไหว เมื่อมาคิดทบทวนว่าสถานการณ์หายนะต่อชีวิตผู้คนในครั้งนี้ได้เกิดขึ้นมานานถึงหนึ่งเดือนเต็มแล้ว และหากสถานการณ์นี้ดำเนินต่อไปก็คงจะเป็นเรื่องที่ไม่อาจยอมรับได้อีก กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศเป็นเครื่องมือที่ทั้งครอบคลุมและมีประสิทธิภาพที่สุดที่โลกของเรามีอยู่ในปัจจุบัน ในอันที่จะช่วยให้พลเรือนได้รับการคุ้มครอง พร้อมกับปูทางสู่การลดระดับความรุนแรงของสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ดิฉันขอเรียกร้องให้ประชาคมโลกดำเนินการให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศอย่างครบถ้วน เรียนท่านประธานาธิบดี ...