เตือนภัย ICRC เปิดรับบริจาคผ่านทางช่องทางออนไลน์ที่เป็นทางการเท่านั้น 26/12/2023, บทความ ICRC (International Committee of the Red Cross) หรือ คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ มีเงินทุนหลักมาจากการบริจาคโดยสมัครใจของรัฐบาลต่างๆ ที่เป็นภาคีของอนุสัญญาเจนีวา สภากาชาดของแต่ละประเทศ องค์กรและสถาบันระหว่างประเทศ รวมถึงหน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่างๆ ปัจจุบัน เงินทุนกว่า 80% ของ ICRC มาจากการบริจาคโดยรัฐ ICRC มีการเปิดรับบริจาคจากภาคประชาชน แต่ผ่านทางช่องทางออนไลน์ที่เป็นทางการเท่านั้น ...
ทำความรู้จัก 3 หลักการพื้นฐาน กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ 20/12/2023, บทความ กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (International Humanitarian Law – IHL) วางกฎเกณฑ์ที่ได้รับการตกลงร่วมกันเกี่ยวกับวิธีในการในการสู้รบ กฎที่ว่านี้กล่าวว่าสิ่งใดบ้างที่ไม่ใช่เป้าหมายของการโจมตี และการโจมตีเหล่านั้นจะต้องทำด้วยวิธีการใดเพื่อให้ได้สัดส่วนระหว่างความจำเป็นทางการทหารกับความเสียหายทางมนุษยธรรม บทความนี้จะพาไปรู้จัก 3 หลักการพื้นฐานของกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ 1.แบ่งแยกพลรบกับพลเรือน (Distinction) การโจมตีเป้าหมายทางการทหาร รวมไปถึงพลรบไม่ได้ถูกห้ามตามหลักกฎหมายที่ว่านี้ ในทางตรงกันข้าม การโจมตีพลเรือนและวัตถุพลเรือนไม่สามารถกระทำได้ นั่นไปถึงการโจมตีโดยตั้งใจและการโจมตีเป็นวงกว้างแบบไม่แบ่งแยก 2.ความได้สัดส่วน (Proportionality) กำหนดข้อห้ามในการโจมตีเป้าหมายทางการทหารหากการโจมตีนั้นจะส่งผลกระทบต่อประชาชน กฎข้อนี้ระบุว่าการโจมตีต่างๆ ...
โรงพยาบาล สามารถสูญเสียความคุ้มครองจากกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศได้หรือไม่ 20/12/2023, บทความ โรงพยาบาลได้รับการคุ้มครองเป็นพิเศษจากกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ เพราะเป็นสถานที่สำหรับรักษาผู้ป่วยและผู้ได้รับบาดเจ็บ ทุกฝ่ายในความขัดแย้งไม่สามารถโจมตีโรงพยาบาล หรือเข้าขัดขวางไม่ให้โรงพยาบาลทำหน้าที่ทางการแพทย์ อย่างไรก็ดี โรงพยาบาลอาจสูญเสียสถานะการคุ้มครองได้เช่นกันหากถูกนำไปใช้นอกเหนือเป้าหมายทางมนุษยธรรม ยกตัวอย่างเช่น ใช้เป็นที่ซ่อนของพลรบ หรือใช้เป็นที่สำหรับกักเก็บอาวุธ . โรงพยาบาลอาจสูญเสียความคุ้มครองหากพบว่าถูกใช้งานในทางการรบ ทุกฝ่ายต้องตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจว่าโรงพยาบาลถูกใช้ในเป้าหมายดังกล่าวจริง อ้างอิงจากการประเมินข้อมูลบนพื้นฐานข้อเท็จจริงอย่างสมเหตุสมผล และหากแน่ใจแล้วว่าเป็นเช่นนั้น ก็ต้องมีการประกาศเตือนเพื่อให้ฝ่ายตรงข้ามหยุดใช้โรงพยาบาลในทางที่ไม่ถูกต้อง หากการเตือนไม่เป็นผล คู่ขัดแย้งต้องให้เวลาสำหรับโรงพยาบาลในการขนย้ายผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ออกจากพื้นที่ . อย่างไรก็ดี ทั้งหมดนี้ไม่ได้หมายความว่าโรงพยาบาลสามารถถูกโจมตีได้ในทันที เพราะภายใต้กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ การโจมตีต้องตั้งอยู่บนหลักความได้สัดส่วนและความระมัดระวัง ผู้มีส่วนร่วมในความขัดแย้งต้องทำทุกอย่างเท่าที่เป็นไปได้เพื่อปกป้องผลกระทบต่อเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์และผู้ป่วย ...
มองกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศผ่านภาพยนตร์ All Quiet on the Western Front 27/09/2023, บทความ สงครามโลกครั้งที่ 1 หรือที่เรียกกันในอีกชื่อหนึ่งว่ามหาสงคราม (The Great War) กินเวลายาวนานถึง 4 ปี มีการระดมสรรพกำลังและยุทธวิธีมากมาย ภายใต้ความเชื่อที่ว่า หากสงครามครั้งนี้บรรลุผล ก็จะสามารถยุติสงครามทั้งหมด (The war to end all wars) สงครามโลกครั้งแรกเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญทั้งในด้านการเมือง สังคม เศรษฐกิจ รวมไปถึงระบบกฎหมาย ...
เปิดรับสมัครแล้ววันนี้! การแข่งขันว่าความศาลจำลองในกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ 07/09/2023, บทความ คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศร่วมกับคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดการแข่งขันว่าความศาลจำลองในกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (IHL Moot Court) ประจำปี 2023 ในระหว่างวันที่ 4-5 พฤศจิกายน การแข่งขันในปีนี้จะจัดขึ้นที่คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อ่านรายละเอียดได้และวิธีการสมัครได้ในเอกสารด้านล่าง ICRC Regional Delegation Bangkok with Faculty of Law Chulalongkorn ...
ความมั่นคงทางอาหารในสถานการณ์ขัดแย้ง: เรื่องน่ารู้ที่คุณอาจไม่ทราบ 09/08/2023, บทความ พลเรือนไม่อาจมีชีวิตอยู่ได้นานหากขาดซึ่งน้ำและอาหาร อย่างไรก็ดี สถานการณ์ขัดแย้งมักมีผลต่อปัจจัยพื้นฐานเหล่านี้ขึ้นอยู่ที่การสู้รบจะดำเนินไปในรูปแบบไหนและมีผลต่อการผลิตอาหารในพื้นที่ใดบ้าง รายงานระดับโลกเกี่ยวกับวิกฤตด้านอาหารประจำปี 2023 (The 2023 Global Report on Food Crises) ระบุว่า ความขัดแย้งเป็นสาเหตุให้ประชากรกว่า 117 ล้าน ต้องเผชิญกับภาวะความไม่มั่นคงทางอาหารอย่างร้ายแรง ตามมาด้วยสาเหตุอื่นคือภาวะการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง (84 ล้าน) และปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (56 ล้าน) ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ...
ICRC ยังคงให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครนอย่างต่อเนื่อง 17/07/2023, บทความ ความเสียหายต่อเขื่อนโนวา คาคอฟคาในประเทศยูเครนถือเป็นความเสียหายที่สำคัญที่สุดต่อโครงสร้างพื้นฐานนับตั้งแต่การโจมตีเริ่มต้นขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปี 2022 มีอะไรคืบหน้าเกี่ยวกับสถานการณ์มนุษยธรรมในประเทศยูเครน? ความขัดแย้งระหว่างประเทศระหว่างรัสเซียกับยูเครนสร้างผลกระทบให้กับผู้คนนับล้าน ตัวเลขเหล่านี้มีแต่จะเพิ่มสูงขึ้นเมื่อมองจากปฏิบัติการทางการทหารที่ยังไม่มีทีท่าจะลดละ ไม่กี่เดือนที่ผ่านมายูเครนประสบปัญหาด้านมนุษยธรรมครั้งใหญ่เมื่อเขื่อนโนวา คาคอฟคาได้รับความเสียหาย กลายเป็นอีกหนึ่งปัญหาเร่งด่วนที่ซ้ำเติมพลเรือนอีกหลายหมื่นคนซึ่งอาศัยในบริเวณรอบข้าง ในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมงหลังเขื่อนได้รับความเสียหาย ICRC ได้นำส่งอาหารและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นให้กับหน่วยงานที่ทำงานใกล้ชิดในพื้นที่ อันได้แก่สภากาชาดยูเครนและหน่วยงานฉุกเฉินของประเทศยูเครน (State Emergency Service of Ukraine) เพื่อนร่วมงานของเราเร่งลงมือเพื่อระบุตำแหน่งพื้นที่ซึ่งปนเปื้อนไปด้วยวัตถุระเบิด และสรรพาวุธระเบิดที่ยังไม่ระเบิด (unexploded ordnance : ...
ความทรงจำจากซานเรโม เมื่อนักเรียนนายร้อยไทยเข้าร่วมการแข่งขันกฎหมายในเวทีนานาชาติ 13/06/2023, บทความ “ต้องพร้อมตลอดเวลา และที่สำคัญคือภาษาเพราะเป็นกุญแจที่ทำให้เราเข้าใจเขา เขาเข้าใจเรา” “ศัพท์เฉพาะด้านกฎหมายกับศัพท์ทหารก็จำเป็นครับ เพราะไม่เหมือนภาษาอังกฤษที่เราใช้กันทั่วไป” ประโยคแรกเป็นของ ไอซ์ – นักเรียนนายร้อย ทฤษฎี ศรีสุข ส่วนประโยคที่สองเป็นของ เปรม –นักเรียนนายร้อย ธีระเศรษฐ์ มณิวราปริพัต ที่ตอบอย่างมั่นใจเมื่อเราถามถึงข้อท้าทายและคำแนะนำสำหรับนักเรียนนายร้อยในรุ่นต่อไปที่สนใจอยากสมัครเข้าแข่งขันความรู้กฎหมายว่าด้วยการขัดกันทางอาวุธ Law of Armed Conflict (LOAC) Competition ...
โลกนี้ยังต้องมีความเป็นกลาง 02/06/2023, บทความ “หากคุณไม่เข้าข้างเรา ถือว่าเป็นศัตรูกับเรา” (you’re either with us, or against us) กล่าวกันว่าคิเคโร – นักปรัชญาชาวโรมัน ได้กล่าวประโยคนี้กับจูเลียต ซีซาร์ ต่อมาประโยคเดียวกันถูกหยิบมาใช้โดยนักการเมืองทั่วโลกจนกลายเป็นวรรคทองที่แบ่งแยกมนุษยชาติออกเป็นสองฝั่งมานานนับพันปี ทุกวันนี้สถานการณ์ตึงเครียดระหว่างมหาอำนาจและสภาพสงครามที่โหมกระหน่ำได้ทำให้ความคิดของการที่จะยืนอยู่ตรงกลางกลายเป็นเรื่องผิดยุคผิดสมัยและอาจถูกท้าทายว่าเข้าข่ายผิดศีลธรรม เป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์ที่เมื่อมีความขัดแย้งเกิดขึ้น เรามักเลือกที่จะยืนอยู่กับฝั่งหนึ่งโดยตีตราฝั่งตรงข้ามด้วยคำว่าศัตรู แต่เราต้องไม่ลืมว่าความเป็นกลางยังคงเป็นพื้นที่จำเป็นสำหรับมนุษยชาติ เพราะหากไม่มีสิ่งนี้ ก็เป็นไปไม่ได้เลยที่องค์กรของเรา (ICRC) จะสามารถเข้าถึงพื้นที่เพื่อให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมกับผู้ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งทั่วโลก ...
หายนะที่ไม่อาจเกิดขึ้นซ้ำสอง อาวุธนิวเคลียร์ต้องไม่ถูกนำมาใช้อีก 18/05/2023, บทความ “ผมได้ยินชื่อเมืองฮิโรชิมะเป็นครั้งแรกพร้อมๆ กับคำว่าระเบิดปรมาณู มีคนบอกว่าผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนั้นน่าจะมาถึงหนึ่งแสน ผู้เสียชีวิตถูกเผาทั้งเป็นโดยรังสีความร้อน” ด็อกเตอร์มารเซล จูโน ผู้แทนของ ICRC และคุณหมอชาวต่างชาติคนแรกที่เดินทางไปถึงฮิโรชิมะหลังการทิ้งระเบิดเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 1945 ได้บรรยายสิ่งที่พบเห็นในบันทึกของเขา “เวลา 12 นาฬิกา เราบินมาถึงฮิโรชิมะ เพื่อเห็นความเสียหายแบบที่ไม่เคยพบเห็นที่ไหนมาก่อน ใจกลางเมืองถูกทำลายจนราบเป็นหน้ากลอง เหลือเพียงพื้นที่ว่างเปล่าสีขาว ไม่มีอะไรเหลือเลย” คุณหมอจูโนบันทึกผลกระทบที่น่ากลัวเกี่ยวกับระบบสาธารณสุขในฮิโรชิมะ -คุณหมอ ...