เชื้อชาติ ความเที่ยงธรรม และมรดกยุคอาณานิคมใหม่: การระบุซึ่งหนทางสู่การดำเนินงานด้านมนุษยธรรมอย่างมีจริยธรรม (Part 3)

บทความ / บล็อค

เชื้อชาติ ความเที่ยงธรรม และมรดกยุคอาณานิคมใหม่: การระบุซึ่งหนทางสู่การดำเนินงานด้านมนุษยธรรมอย่างมีจริยธรรม (Part 3)

เส้นทางสู่การ ร่วมพลังกับการดำเนินงานด้านมนุษยธรรม

เมื่อมีการหยิบยกข้อโต้แย้งขึ้นมาว่า เราจะต้องคำนึงถึงศาสนา เพศ เชื้อชาติ และเครื่องหมายทางสังคมอื่น ๆ ของผู้ได้รับผลกระทบเพื่อให้เราปรับเปลี่ยนการดำเนินการด้านมนุษยธรรมหรือไม่ คำตอบที่พบบ่อยสุดคือ วิธีการดังกล่าวนี้อาจเป็นอุปสรรคต่อหลักการด้านมนุษยธรรม ยกตัวอย่างเช่น เมื่อพูดถึงเรื่องความไม่ลำเอียง (impartiality) การวิเคราะห์เช่นนี้ได้แยกให้เห็นถึงการไม่แบ่งแยกหรือเลือกปฏิบัติบนฐานของเชื้อชาติ เพศ และเครื่องหมายทางสังคมอื่น ๆ ที่ไม่เหมือนกันและไม่ควรเหมือนกันอย่างไร ไม่ใช่แค่การมองเห็นเรื่องของ ‘เชื้อชาติ เพศ และเครื่องหมายทางสังคมอื่น ๆ’ เนื่องจากการตีความหลักการด้านมนุษยธรรมตามหลักความเที่ยงธรรมจะช่วยให้เราอธิบายถึงความแตกต่างระหว่างผู้ได้รับผลกระทบต่อระดับความไม่เที่ยงธรรมที่เกิดขึ้นอย่างไร ซึ่งเราจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการให้ความช่วยเหลือและคุ้มครองของเรา

ในแง่ของการก้าวไปข้างหน้าในประเด็นนี้นั้น ส่วนใหญ่แล้ว ขั้นตอนต่อไปที่สำคัญก็คือ การส่งเสริมเติมเต็มข่าวประชาสัมพันธ์ขององค์กรในประเด็นเรื่องความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันและความเป็นพันธมิตรพวกพ้องเดียวกันด้วยการกระทำที่เป็นรูปธรรมและวัดผลได้ในการทำให้สถาบันมุ่งเป้าดำเนินการในลักษณะต่อต้าน/ขจัดการเหยียดเชื้อชาติและมีความเที่ยงธรรม โดยที่ยังยึดมั่นปฏิบัติตามหลักการด้านมนุษยธรรมอยู่ ทั้งนี้ ส่วนใหญ่แล้ว ทรัพยากรและคำตอบก็มีพร้อมให้ใช้งานอยู่แล้ว แต่องค์กรด้านมนุษยธรรมแต่ละแห่งจำเป็นต้องให้การหนุนหลังและสนับสนุนจอย่างเป็นระบบ

ประการแรก เราจะต้องยกระดับและให้ทุนสนับสนุนการดำเนินงานที่มุ่งเน้นความหลากหลายและการคำนึงถึงผู้คนจากทุกหมู่เหล่า รวมทั้งมีสำนึกความรับผิดชอบในหน้าที่ต่อผู้ได้รับผลกระทบ หากหน่วยงานภาคส่วนมนุษยธรรมมีความจริงใจที่จะเน้นผู้คนเป็นศูนย์กลางและมีความเที่ยงธรรม นั่นหมายถึง จะต้องมีการจัดสรรเงินทุนและทรัพยากรบุคคลที่จำเป็นเพื่อยกระดับฝ่ายการทำงานด้านความหลากหลายและการคำนึงถึงผู้คนจากทุกหมู่เหล่า มีสำนึกความรับผิดชอบในหน้าที่ในการปฏิบัติงานให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบ ตลอดจนความหลากหลายและการคำนึงถึงผู้คนจากทุกหมู่เหล่าในการปฏิบัติงาน ซึ่งจำเป็นต้องยอมรับว่า ความหลากหลายและการคำนึงถึงผู้คนจากทุกหมู่เหล่านั้นมีความสำคัญ แต่ขั้นตอนที่สำคัญจำเป็น คือการจัดสรรทรัพยากรในการดำเนินการและทำให้ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินงานตามประวัติการทำงานนั้นจะไม่ต้อง “ทำงานเกินความสามารถ” โดยมีภาระหน้าที่ที่ต้องจัดการมากเกินไป

ภายในสถาบันที่ปฏิบัติงานด้านมนุษยธรรม สิ่งจำเป็นคือการมอบเงินทุนจัดการด้านความหลากหลายและการคำนึงถึงผู้คนจากทุกหมุ่เหล่าในระดับองค์กร ซึ่งดังกล่าวจะช่วยแก้ไขปัญหาการขาดความหลากหลาย ทั้งในผู้ทำหน้าที่สรรหาพนักงานและพนักงานในตำแหน่งผู้นำ ทั้งในสำนักงานภาคสนามและในสำนักงานใหญ่

คู่ขนานกันไปนั้น การทำงานของทีมที่มุ่งเน้นความหลากหลายและการคำนึงถึงผู้คนจากทุกหมู่เหล่าของการปฏิบัติงาน รวมทั้งมีสำนึกความรับผิดชอบในหน้าที่ต่อผู้เดือดร้อนจะเป็นต้องมีการยกระดับและจัดลำดับความสำคัญทั่วทั้งโครงสร้างขององค์กรด้านมนุษยธรรมแต่ละแห่ง เพื่อให้คำแนะนำต่าง ๆ ของทีมที่มีต่อการทำให้เราสามารถเป็นที่พึ่งพาของชุมชนที่ได้รับผลกระทบได้รับการนำไปปฏิบัติ ยกตัวอย่างเช่น ที่ ICRC นั้น การดำเนินงานที่ต้องรับผิดชอบต่อผู้ได้รับผลกระทบนั้นจะต้องดำเนินการโดยทีมงานมีสำนึกความรับผิดชอบในหน้าที่ต่อผู้ได้รับผลกระทบและการมีส่วนร่วมกับชุมชน (Accountability to Affected People and Community Engagement) เมื่อรวมกันกับทีมงานด้านความหลากหลายและการคำนึงถึงผู้คนจากทุกหมู่เหล่าของการปฏิบัติงาน (Operations Diversity Inclusion) ทีมเหล่านี้จะต้องปฏิบัติงานตามคำมั่นสัญญาขององค์กรในการดำเนินงานที่เน้นคนเป็นศูนย์กลางตามยุทธศาสตร์การดำเนินงานขององค์กรประจำปี2019-2022 โดย ICRC ได้ดำเนินการประเมินการคำนึงถึงผู้คนที่มีความหลากหลายในการดำเนินงานภายในองค์กรตนเอง ซึ่งจะแล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2020 การประเมินดังกล่าวจะนำทางเราไปสู่ความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นเกี่ยวกับสาเหตุและวิธีการทำงานร่วมกันและในการพัฒนาความร่วมมือข้ามองค์กรที่เน้นตระหนักถึงการทำงานร่วมกันระหว่างการเป็นองค์กรที่คำนึงผู้คนจากทุกหมู่เหล่าและดำเนินโครงการหรือแผนงานที่เน้นการคำนึงผู้คนจากทุกหมู่เหล่าเป็นศูนย์กลางจริง ๆ นอกจากนี้ยังจะช่วยให้สามารถระดมเงินทุนและเตรียมความให้แก่เจ้าหน้าที่ระดับผู้นำและระดับผู้บริหารในการจัดการประเด็นด้านความหลากหลาย ความเที่ยงธรรม และการคำนึงผู้คนจากทุกหมู่เหล่าทั่วทั้งนโยบายและการปฏิบัติในระดับท้องถิ่นและระดับโลก

ประการที่สอง เราจำเป็นต้องร่วมจัดการการเปลี่ยนแปลงระบบอย่างแข็งขัน หากเราต้องการเป็นองค์กรด้านมนุษยธรรมที่ต่อต้าน/ขจัดการเหยียดเชื้อชาติ เราจำเป็นต้องลงมือปฏิบัติ ซึ่งความรู้และความเชี่ยวชาญมีอยู่มากมายเกี่ยวกับวิธีการต่างๆ ที่เราสามารถเปลี่ยนองค์กรของเราอย่างเป็นระบบ เราจะดึงเอาความรู้และความชำนาญออกมาจากตรงนั้นและอุทิศทรัพยากรบุคคลต่องานดังกล่าวอย่างประณีตบรรจง โดยเชื่อมั่นว่า การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นตามธรรมชาติหากเราเผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์ที่ถูกต้องเหมาะสม

ประการที่สาม เราจำเป็นต้องร่วมดำเนินงานการติดตามตรวจสอบและประเมินผลแบบด้านจริยธรรมและแยกส่วนโดยมีความเที่ยงธรรมเป็นตัวขับเคลื่อน ซึ่งค้นแสวงหาผู้ได้รับผลกระทบกลุ่มย่อยที่มีความคาบเกี่ยวเชื่อมโยงอยู่ระหว่างความไม่เที่ยงธรรมอย่างแข็งขัน ซึ่งการดำเนินงานที่มีคนเป็นศูนย์กลางอาจดำเนินการได้ผ่านการวิเคราะห์ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงรุกว่า ผู้ได้รับผลกระทบมากที่สุดเป็นใครและอยู่ที่ใด อีกทั้งผ่านการทำงานร่วมกับกลุ่มคนเหล่านี้ในการกำหนดและวางแผนกิจกรรมการดำเนินงานและช่วยเหลือของเรา ซึ่งในการรวบรวม วิเคราะห์ และใช้ข้อมูลที่มีการจำแนกเพศ อายุ และความพิการนั้น จำเป็นต้องอาศัยศักยภาพความสามารถและการสะท้อนกลับของผลการดำเนินงานด้วย

ประการที่สี่ เราจะต้องปล่อยให้ผู้ได้รับผลกระทบเป็นผู้บอกเล่าเรื่องราวของตนเองและนำตัวเราออกจากแนวปฏิบัติของยุคอาณานิคมใหม่ที่รายงานเรื่องราวและเป็นปากเป็นเสียงแทนผู้ได้รับผลกระทบ อย่างน้อยเราอาจเริ่มต้นด้วยการนำเสนอเรื่องราวบอกเล่าโดยตรงจากปากของผู้คนที่ได้รับผลกระทบ แทนการนำเสนอคำพูดสั้น ๆ ที่มีการตกแต่งและปราศจากบริบท อีกทั้ง เราจะต้องใช้ภาษาที่ครอบคลุมคำนึงถึงผู้คนทุกหมู่เหล่าและก้าวออกจากภาษาของยุคอาณานิคมใหม่ที่อธิบายถึงผู้ได้รับผลกระทบเพียงภาพเดียวว่าเป็นผู้ ‘เปราะบาง’ ‘ไร้อำนาจ’, ‘ช่วยเหลือตนเองไม่ได้’, ‘ขาดอำนาจ’ หรือ ‘ตกเป็นเหยื่อ’

และประการที่ห้า เราจะต้องขยายขอบเขตความเข้าใจของเราต่อสิ่งที่เราพิจารณาว่าเป็นความรู้และความเชี่ยวชาญที่เราให้ยกย่องให้คุณค่า ซึ่งหมายความว่า การนำเอาวิธีการยึดตามความเที่ยงธรรมมาใช้ในการดำเนินงานด้านมนุษยธรรมและงานช่วยเหลือซึ่งคำนึงถึงและให้ความสำคัญกับความรู้ของคนท้องถิ่นและการมีส่วนร่วมของพนักงานสัญญาจ้างท้องถิ่น นอกจากนี้ยังหมายถึงการส่งเสริมมุมมองของความหลากหลายที่มีเพียงแต่เป็นการจ้างงานและส่งเสริมให้มีพนักงานผิวดำ ชนพื้นเมือง และกลุ่มผิวสี (BIPOC) มากขึ้น แต่ใช้ประโยชน์จากมุมมองที่หลากหลายมากขึ้นที่ขับเคลื่อนนวัตกรรมใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น อังนั้นกล่าวนั้นจะต้องคำนึงถึงความหลากหลายในประวัติการทำงาน ภูมิหลัง รวมทั้งฐานความรู้ของทั้งผู้สรรหาและตัวพนักงาน แม้ว่ากระบวนการนี้จะอยู่ระหว่างดำเนินการ แต่เราอาจเริ่มต้นด้วยการทำให้พนักงานปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทีมผู้บริหาร/ผู้จัดการนั้น ตระหนักถึงอคติที่ตนมีและดำเนินการฝึกอบรมด้านการต่อต้านอคติที่จำเป็นให้ได้

เช่นเดียวกับช่วงเวลาอื่น ๆ ในประวัติศาสตร์ของหน่วยงานภาคมนุษยธรรมที่จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลง แต่ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดคือ การทำให้คำพูดต่าง ๆ ที่ปรากฎอยู่บนกระดาษนั้นกลายเป็นจริงขึ้นมาให้ได้ ในการทำเช่นนั้น เราอาจเริ่มต้นเส้นทางการก้าวไปข้างหน้าที่มีสำนึกความรับผิดชอบมากขึ้น ซึ่งเราจะค้นหาผู้ได้รับผลกระทบที่เราเข้าไม่ถึงอยู่ ณ ขณะนี้ เราจะเป็นปากเป็นเสียงให้ผู้คนที่เดือดร้อนให้เสียงของพวกเขาดังขึ้นกว่าเดิม เราจะทำงานร่วมกับผู้เดือดร้อนและชุมชนที่พวกเขาอาศัยอยู่ และเราจะกำหนดขั้นตอนใหม่แห่งการ ‘ร่วมพลังกับ’ การดำเนินการเพื่อมนุษยธรรม

Reference: แปลจากบทความต้นฉบับ Race, equity, and neo-colonial legacies: identifying paths forward for principled humanitarian action

แบ่งปันบทความนี้