เชื้อชาติ ความเที่ยงธรรม และมรดกยุคอาณานิคมใหม่: การระบุซึ่งหนทางสู่การดำเนินงานด้านมนุษยธรรมอย่างมีจริยธรรม (Part 2)

บทความ / บล็อค

เชื้อชาติ ความเที่ยงธรรม และมรดกยุคอาณานิคมใหม่: การระบุซึ่งหนทางสู่การดำเนินงานด้านมนุษยธรรมอย่างมีจริยธรรม (Part 2)

มรดกยุคอาณานิคมใหม่ – เราฟังเสียงของใคร?

ไม่ต้องสงสัยเลยว่า องค์กรด้านมนุษยธรรมนั้นได้ช่วยเหลือชีวิตคนนับล้านด้วยการปฏิบัติหน้าที่แนวหน้าในพื้นที่สุดอันตรายในโลก อย่างไรก็ตาม การดำเนินการด้านมนุษยธรรมบางประการนั้นยังคงฝังรากอยู่ในมรดกยุคอาณานิคมใหม่ ซึ่งหน่วงรั้งความพยายามในการส่งเสริมให้เกิดความก้าวหน้าที่แท้จริง ทั้งนี้ ในการสร้างสถาบันที่มีความเที่ยงธรรมและต่อต้าน/ขจัดการเหยียดเชื้อชาติ ภาคหน่วยงานด้านมนุษยธรรมจะต้องยอมรับบทบาทของมรดกยุคอาณานิคมใหม่ที่ยังคงมีบทบาทอย่างต่อเนื่องในกิจกรรมการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการคุ้มครอง รวมทั้งภายในองค์กรด้านมนุษยธรรมเองด้วย ซึ่งจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงด้านความเที่ยงธรรมในเชิงระบบมากที่สุด

ดังนั้น มรดกยุคอาณานิคมใหม่จึงหมายถึง กฎหมาย นโยบาย และการดำเนินการต่าง ๆ ที่อยู่ในองค์กรด้านมนุษยธรรม ซึ่งบังคับใช้พลวัตของอำนาจอาณานิคมของผู้คนและสถาบันหรือองค์กรจากประเทศโลกที่หนึ่งที่กดขี่และใช้อำนาจเหนือประเทศโลกที่สามอย่างเป็นระบบ

ตัวอย่างชัด ๆ ของเรื่องนี้เห็นได้จากแถลงการณ์เมื่อปีที่แล้ว ซึ่งมีชื่อเรียกว่า “เราจะต้องฟังและลงมือปฏิบัติ ไม่ใช่เป็นผู้กำหนด” โดย ปีเตอร์ เมาเรอร์ ประธาน ICRC ผู้ซึ่งกล่าวว่า “เราจะต้องเปลี่ยนแปลง ทั้ง ICRC และหน่วยงานด้านมนุษยธรรม ในการมีส่วนร่วมกับผู้คนที่ได้รับผลกระทบจากการสู้รบและสถานการณ์รุนแรง” ดังที่เมาเรอร์ระบุไว้ว่า “ผลจากการสำรวจในประเทศอัฟกานิสถาน เลบานอน และเฮติ แสดงให้เห็นว่า ผู้คนที่ได้รับผลกระทบโดยรวมรู้สึกว่าตนมีโอกาสพูดเกี่ยวกับความช่วยเหลือที่มอบให้เพียงเล็กน้อย ทั้งนี้ หากพูดแบบกว้าง ๆ คือ แม้ผู้ตอบแบบสำรวจจะรู้สึกค่อนข้างปลอดภัยและได้รับความเคารพจากผู้ให้ความช่วยเหลือ แต่พวกเขากลับให้อันดับเรื่องความเกี่ยวข้องสัมพันธ์และความเป็นธรรมของความช่วยเหลือในระดับต่ำ ยกตัวอย่างเช่น ผู้ตอบแบบสอบถามในประเทศเฮติกว่า 70% กล่าวว่า พวกเขาไม่รู้ว่าจะให้คำแนะนำหรือการร้องเรียนแก่หน่วยงานผู้ให้ความช่วยเหลืออย่างไรได้บ้าง และ 90% กล่าวว่า พวกเขารู้สึกว่า ความคิดเห็นของตนไม่ได้รับการพิจารณาหรือคำนึงถึง

มรดกยุคอาณานิคมใหม่ที่มีอิทธิพลต่อกิจกรรมความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการคุ้มครอง ถือเป็นเหตุผลเชิงโครงสร้างที่สำคัญเหตุผลหนึ่งว่า ทำไมผู้คนที่ได้รับผลกระทบจึงรู้สึกว่าการบริการหรือความช่วยเหลือที่จัดหาให้นั้นไม่ได้กำหนดขึ้นโดยพวกเขา โดยความคิดเห็นและความต้องการของพวกเขา ซึ่งข้อเสนอแนะประเภทนี้ระบุให้เห็นถึงปัญหาที่ว่าบุคคลที่ได้รับผลกระทบมีแนวโน้มที่จะได้รับการปฏิบัติอย่างไรบ้าง รวมทั้งได้รับการอธิบายถึงว่าอย่างไร โดยใช้คำศัพท์แสงใหญ่ ๆ  ซึ่งทุกครั้งที่ชุมชนหรือบุคคลที่ได้รับผลกระทบถูกอธิบายเรียกว่าเป็น “ผู้เปราะบาง” “ไร้ซึ่งอำนาจ” “ช่วยเหลือตนเองไม่ได้” “ขาดอำนาจ” หรือ “ตกเป็นเหยื่อ” ดังกล่าวถือเป็นการอธิบายถึงระดับการพึ่งพาและขาดอำนาจในการตัดสินใจเอง

การใช้ “Grammatology” เช่นนี้ ซึ่งเป็นศาสตร์แห่งการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาษาเขียนและภาษาพูดในสังคม พร้อมกับการวิเคราะห์รูปแบบของพฤติกรรมที่มาพร้อมกับการใช้ภาษา บังคับให้มีการใช้สิ่งที่ เวเนกลาเซนและมิลเลอร์ เรียกว่าเป็น “อำนาจเหนือ” พลวัต มากกว่าการสนับสนุนให้เป็น “อำนาจร่วมกันกับ” พลวัตของการดำเนินงาน ตามที่ ฮิวโก สลิม ตั้งข้อสังเกตว่า “ในไวยากรณ์การใช้ภาษาของงานด้านมนุษยธรรม คำบุพบท “กับ” จะต้องเป็นแนวทางหรือเข็มทิศทางศีลธรรมของเรา เราควรเลือกวิธีการปฏิบัติที่เป็นการปฏิบัติ “กับผู้คน” และหลีกเลี่ยงการปฏิบัติที่เป็นการปฏิบัติ “ต่อผู้คน” การตัดสินใจ “แทนผู้คน” หรือการกระทำ “ต่อผู้คน” ข้อความสั้น ๆ แต่ทว่ายิ่งใหญ่ที่มาจากขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อผู้พิการทั่วโลก (ผ่านรัฐธรรมนูญนิยมของโปแลนด์ในช่วงศตวรรษที่สิบหก) เห็นได้ชัดว่ามีความถูกต้องเหมาะสม โดยกล่าวไว้ว่า “ไม่มีอะไรที่เกี่ยวกับเรา หากปราศจากเรา” ดังนั้น หากเป็นไปได้ การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมควรเน้นผู้คนเป็นสำคัญและจะต้องไม่เน้นเป้าหมายของความช่วยเหลือเท่านั้น

เช่นเดียวกับที่ผู้ได้รับผลกระทบรู้สึกว่าหน่วยงานภาคมนุษยธรรมนั้นไม่ได้รับฟังหรือมีการทำงานร่วมกับพวกเขา ซึ่งกลุ่มสตรีนิยมประเทศโลกที่สามได้เขียนเกี่ยวกับผู้หญิงที่อยู่ในสถานะรองว่าถูก “ปิดเงียบเสียง” อย่างไรบ้างจากทางฝ่ายอาณานิคม/อาณานิคมใหม่ ซึ่งกระบวนการปิดเงียบเสียงนี้มีผลกระทบในทางลบต่อฝ่ายหนึ่ง โดยเป็นฝ่ายที่ยืนอยู่ระหว่างจุดคาบเกี่ยวเชื่อมโยงของความไม่เท่าเทียมกันน้อยลง และมีการ “เรียกร้อง” ในเรื่องของ “ผู้ถูกกดขี่” ในลักษณะที่ต้องเผชิญกับการเป็นภาพตัวแทน ซึ่งหมายความว่า เรื่องหรือประเด็นนี้ไม่ได้ถูกนำเสนอภาพแทนอย่างที่เป็นอยู่จริง แต่กลับเป็นภาพแทนผ่านมุมมองหรือการมองเห็นของอาณานิคม/อาณานิคมใหม่ ดังนั้น ความเป็นจริงของเรื่องหรือประเด็นนี้ รวมทั้งมุมมองของพวกเขา จึงไม่ได้สะท้อนออกมาอย่างเพียงพอตามที่ฝ่ายอีกฝ่ายนำเสนอ

ยกตัวอย่างเช่น การรายงานด้านมนุษยธรรม เมื่อเราอ่านรายงานหรือบทความทั้งหมดเกี่ยวกับการกระทำหรือโครงการริเริ่มด้านมนุษยธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ แต่เสียงที่ดำเนินการส่งผ่านเพียงเสียงเดียวก็คือ เสียงที่มาจาก “นักข่าว” หรือองค์กรด้านมนุษยธรรมเอง ซึ่งอาจมีคำพูดสั้น ๆ โดยไม่มีปริบทเพียงหนึ่งหรือสองคำพูดและดึงออกมาจากคำพูดของผู้ได้รับผลกระทบ โดยบ่อยครั้งมักเน้นเรื่องของการตกเป็นเหยื่อและ/หรือความซาบซึ้งขอบอกขอบใจต่อความช่วยเหลือที่มอบไว้ ดังนั้น รายงานด้านมนุษยธรรมจึงไม่ได้สะท้อนถึงสิ่งที่ผู้ได้รับผลกระทบกล่าว แต่ทว่าเป็นสิ่งที่หน่วยงานด้านมนุษยธรรมนำพาออกไปจากการปฏิสัมพันธ์ เสียงที่แท้จริงในขั้นต้นจึงถูกปิดกั้น และหน่วยงานด้านมนุษยธรรมก็เป็นคนที่พูดแทนผู้คนที่ได้รับผลกระทบนั่นเอง

ในทางกลับกัน เรื่องราวและมุมมองดังกล่าว ซึ่งปิดเงียบเสียงของผู้ได้รับผลกระทบ ก็อาจทำให้มรดกอาณานิคมใหม่ของการที่ว่า “ชาวตะวันตกผิวขาวผู้พิทักษ์ชีวิต” ผู้เข้ามามอบความช่วยเหลือโดยไม่ต้องสนใจหรือมีส่วนร่วมกับผู้คนที่ตนช่วยเหลือมากนัก พูดแทนผู้เดือดร้อน แล้วก็ทึกทักสันนิษฐานเกี่ยวกับความต้องการและลำดับความสำคัญของผู้เดือดร้อนไปเอง

ความไม่เท่าเทียมกันในเชิงระบบ ซึ่งแสดงออกในรูปแบบของ “ความแตกต่าง” อย่างคาบเกี่ยวเชื่อมโยงกันจากบรรทัดฐานตะวันตก บ่อยครั้งมักนำไปสู่ลำดับชั้นของความรู้และประสบการณ์ที่ส่งออกจากประเทศโลกที่หนึ่งสู่ “พื้นที่ปฏิบัติงานภาคสนาม” และได้รับค่าตอบแทนมากกว่า รวมทั้งสม่ำเสมอกว่า มากกว่าความรู้และประสบการณ์ของคนท้องถิ่น ซึ่งระดับความรุนแรงมีมากยิ่งขึ้นในหน่วยงานภาคมนุษยธรรม โดยเป็นผลมาจากความไม่เท่าเทียมกันในเชิงระบบอื่น ๆ เช่น ระดับที่แตกต่างกันในการเข้าถึงรายงานภายในระหว่างเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นและระหว่างประเทศ โอกาสของความก้าวหน้า การเข้าถึงการฝึกอบรมต่าง ๆ และอุปสรรคทางองค์กรจำนวนมากที่คาบเกี่ยวเชื่อมโยงกันทำให้เพื่อนร่วมงานที่ไม่ใช่คนท้องถิ่น ซึ่งมักจะมาจากประเทสโลกที่หนึ่ง อยู่เหนือเพื่อนร่วมงานที่มาจากประเทศโลกที่สาม

ดังที่ประธานเมาเรอร์ของ ICRC กล่าวไว้ เราจะต้องเปลี่ยนวิธีการที่เรามีส่วนร่วมกับผู้ได้รับผลกระทบ ตัวอย่างเช่น เราอาจดึงเอาความรู้ของผู้คนที่อยู่ในวัฒนธรรมท้องถิ่น และลดวิธีการดำเนินงานด้านความช่วยเหลือและด้านการคุ้มครองจากบนลงล่างลงให้เหลือน้อยกว่าเดิม ซึ่งจะต้องมีการจัดการกับอคติต่าง ๆ ที่มาพร้อมกับสิ่งที่เราพิจารณาว่าเป็น “ความรู้” และ “ข้อมูล” ทั้งนี้ ตามที่สปิวักแสดงความคิดเห็นไว้ว่า เมื่อธรรมเนียมปฏิบัติแบบชายเป็นใหญ่/อาณานิคมเข้ามามีอิทธิพล ก็จะลงท้ายกลายเป็นว่า ‘ชุดความรู้ที่ถูกทำให้ขาดคุณสมบัติกลายเป็นชุดความรู้ที่ไม่เพียงพอต่อภารกิจหรืองานของตนหรือไม่ประณีตบรรจงเพียงพอ กล่าวคือ ชุดความรู้ที่ไม่มีความประณีตหรือละเอียดเพียงพอ ซึ่งอยู่ในระดับต่ำลงไปของลำดับชั้น ต่ำกว่าระดับความรู้หรือความมีหลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์’

กระนั้น โดยปราศจากการยอมรับความรู้ของคนท้องถิ่น รวมทั้งการเคารพความเชี่ยวชาญของเพื่อนร่วมงานท้องถิ่นแล้ว เรื่องราวที่บรรยายบอกเล่าโดยผู้ฏิบัติงานด้านมนุษยธรรมจากประเทศโลกที่หนึ่งก็จะกลายเป็นเรื่องราวบอกเล่าเช่นนั้น โดยยังคงไว้ซึ่งกระบวนการของวิธี ‘การธิบายและเรื่องราวแห่งความเป็นจริง [ที่มี] การจัดตั้งเป็นบรรทัดฐานหนึ่ง’ ซึ่งดังกล่าวถือว่าเป็นปัญหาอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเราพิจารณาว่า เงินทุนเพื่อการดำเนินงานด้านมนุษยธรรมส่วนใหญ่นั้นได้รับการจัดสรรเพื่อไปดำเนินการในพื้นที่โลกมุสลิม แต่องค์ประกอบของหน่วยงานภาคมนุษยธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตำแหน่งระดับผู้นำ ยังคงครอบงำโดยผู้คนจากประเทศกลุ่มองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ หรือ โออีซีดี ซึ่งในการแก้ไขปัญหานี้นั้น เราอาจทำการติดตามและประเมินว่า ข้อเสนอที่จะให้มีการคำนึงถึงประชากรที่ได้รับผลกระทบมีการเปิดรับให้ ‘ชุมชนมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของการดำเนินการด้านมนุษยธรรม’ หรือไม่

เมื่อพิจารณาจากภาคหน่วยงานด้านมนุษยธรรมแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้นำขององค์การด้านมนุษยธรรมระหว่างประเทศ ส่วนใหญ่ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่จากประเทศโลกที่หนึ่ง ดังนั้น เราอาจทำการวิเคราะห์ปัจจัยทางสังคมที่มีผลต่อความเปราะบางอย่างเป็นระบบเพื่อหลีกเลี่ยงอคติทั่วไปของผู้ปฏิบัติงานด้านมนุษยธรรม ซึ่งอคติเหล่านี้อาจเป็นอคติที่เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวหรือตั้งใจและยังแสดงออกมาอย่างเป็นระบบและเป็นประจำ เห็นได้จากข้อมูลประวัติการทำงานของผู้ปฏิบัติงานด้านมนุษยธรรมที่ขาดความหลากหลาย รวมถึงผู้สรรหาพนักงานใหม่และผู้จัดการฝ่ายการจ้างงาน ผู้ซึ่งอาจเกี่ยวพันกับอคติจากการมีประสบการณ์หรือส่วนร่วมบางอย่าง และทำการรับสมัครผู้ปฏิบัติงานด้านมนุษยธรรมที่มีความคล้ายคลึงกันมากกว่า โดยมาจากประเทศโลกที่หนึ่งที่มีประสบการณ์ทางการศึกษาและอาชีพที่คล้ายกันมาก ๆ นั่นเอง

ปัจจัยเหล่านี้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญว่า ทำไมถึงองค์กรจะต้องมีการลงมือทำงานอย่างหนักเพื่อให้องค์กรมีสำนึกความรับผิดชอบในหน้าที่มากขึ้นและพยายามลดลำดับชั้นของอำนาจที่เลือกปฏิบัติต่อผู้คนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงการมีความเข้าใจเกี่ยวกับความเที่ยงธรรมว่าเรามีการตีความและปรับการปฏิบัติตามหลักการด้านมนุษยธรรมขั้นพื้นฐานอย่างไรบ้าง

Reference: แปลจากบทความต้นฉบับ Race, equity, and neo-colonial legacies: identifying paths forward for principled humanitarian action

แบ่งปันบทความนี้