สายด่วนไอซีอาร์ซี

News / บล็อค / ไทย

สายด่วนไอซีอาร์ซี

ความช่วยเหลือสำหรับนักข่าวในพื้นที่เสี่ยงอันตราย

ตามกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ นักข่าวที่เข้าไปปฏิบัติงานในพื้นที่ที่มีการสู้รบต้องได้รับการเคารพและการคุ้มครองตราบใดที่พวกเขาไม่กระทำการเป็นปรปักษ์ อันส่งผลกระทบต่อสถานภาพของตนในฐานะพลเรือน

ทุกปีนักข่าวถูกจับกุม ได้รับบาดเจ็บ ถูกสังหารหรือหายสาบสูญไปอย่างไร้ร่องรอยระหว่างการปฏิบัติงาน

เสรีภาพของนักข่าวในการประกอบวิชาชีพของตนนั้นอยู่นอกเหนือขอบเขตงานของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ไอซีอาร์ซี) อย่างไรก็ตามประเด็นทางด้านมนุษยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการที่พวกเขาหายสาบสูญหรือถูกกักขังในระหว่างสงครามหรือถูกคุมขังในสถานการณ์ของความไม่สงบและความตึงเครียดภายในประเทศนั้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับไอซีอาร์ซี

ไอซีอาร์ซีสามารถปฏิบัติงานได้รวดเร็วขึ้นในการให้ความคุ้มครองและความช่วยเหลือแก่นักข่าวที่ถูกกักขังหรือถูกจับกุมหรือหายสาบสูญไป ทั้งนี้หากเรา ได้รับรายละเอียดทั้งหมดโดยด่วนที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ด้วยเหตุนี้ ไอซีอาร์ซีจึงเปิดบริการสายด่วนตลอด 24 ชั่วโมงสำหรับครอบครัวและสมาคมวิชาชีพของนักข่าว

ใช้สายด่วนได้เมื่อใด

  • เมื่อใดก็ตามที่นักข่าวซึ่งปฏิบัติงานอยู่นั้น
  • หายสาบสูญไป
  • ถูกกักขังหรือถูกจับกุม
  • ถูกคุมขัง

ใครสามารถแจ้งเตือนไอซีอาร์ซีได้

  • ครอบครัวของนักข่าว
  • บรรณาธิการของนักข่าว
  • สมาคมนักข่าวภายในประเทศ
  • สมาคมนักข่าวในระดับภูมิภาคหรือระหว่างประเทศ

วิธีแจ้งเตือนไอซีอาร์ซี

สำนักงานภูมิภาคกรุงเทพฯ

โทรศัพท์: +66 (0)81 950 1270 (24 ชั่วโมง/วัน) ภาษาอังกฤษ
โทรศัพท์: +66 (0)81 719 7701  ภาษาไทย
โทรศัพท์: +66 (0)2 262 1680

สำนักงานใหญ่เจนีวา
โทรศัพท์: +41 79 574 06 36 (24 ชั่วโมง/วัน)
โทรศัพท์: +41 22 730 34 43
press@icrc.org

คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ
หน่วยประชาสัมพันธ์
“สายด่วน”
19 ถนนเดอลาแปซ์
1202 กรุงเจนีวา, ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

ไอซีอาร์ซีต้องการข้อมูลใดบ้าง

  • ชื่อและรายละเอียดในการติดต่อบุคคลที่แจ้งเรื่อง
  • รายละเอียดส่วนตัวของนักข่าว
  • ชื่อเต็ม
  • ชื่อเต็มของบิดา
  • วันที่และสถานที่เกิด
  • สัญชาติ
  • ข้อมูลการติดต่อระหว่างการปฏิบัติงาน
  • ข้อมูลการติดต่อสำหรับครอบครัวของนักข่าวและสำหรับบุคคลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

สภาวะของเหตุการณ์

  • เกิดอะไรขึ้น (การหายสาบสูญ, การจับกุม ฯลฯ)
  • เกิดเหตุการณ์ขึ้นที่ใดและภายใต้สภาวะใด
  • พบเห็นหรือได้รับข่าวคราวจากนักข่าวครั้งล่าสุดที่ใดและเมื่อใด
  • ลักษณะของงาน
  • ดำเนินการอะไรไปบ้างแล้วและโดยใคร
  • ข้อมูลอื่นใดก็ตามอันอาจเป็นประโยชน์
แบ่งปันบทความนี้