world war 1

ผู้สื่อข่าวได้รับความคุ้มครองอย่างไรในพื้นที่ขัดแย้ง

ผู้สื่อข่าวได้รับความคุ้มครองอย่างไรในพื้นที่ขัดแย้ง

, บทความ / บล็อค

มีคำกล่าวว่าความจริงคือเหยื่อยรายแรกของสงคราม นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมการรายงานข่าวที่แม่นยำและไม่เลือกข้าง จึงมีความสำคัญ โดยเฉพาะในสถานการณ์ความขัดแย้งที่คนทั้งโลกกำลังให้ความสนใจ บทบาทของผู้รายงานข่าวในฐานะผู้เห็นเหตุการณ์และบันทึกผลกระทบที่น่าหวาดกลัวของความขัดแย้งเป็นสิ่งจำเป็น แต่นั่นก็ทำให้พวกเขาตกเป็นหนึ่งในกลุ่มบุคคลที่ต้องเสี่ยงชีวิตมากที่สุด โดยอาจได้รับบาดเจ็บ ถูกลักพาตัว หรืออาจต้องเสียชีวิตในระหว่างการปฎิบัติหน้าทื่ กฎหมายมนุษยธรรมกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้อย่างไร และอะไรคือบทบาทหน้าที่ของผู้สื่อข่าวในพื้นที่สงคราม? กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศให้ความคุ้มครองผู้สื่อข่าวอย่างไร กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (IHL) เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการระบุสิทธิ หน้าที่ และความคุ้มครองในระหว่างการขัดกันทางอาวุธหรือสงคราม บุคลากรสื่อหรือนักข่าวส่วนใหญ่ไม่ได้มีสถานะพิเศษตามกฎหมายแต่ได้รับการคุ้มครองในฐานะพลเรือนที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องทางการสู้รบ กฎหมาย IHL ให้ความคุ้มครอง แต่ไม่ได้รับรองในเรื่องสิทธิเสรีภาพของสื่อในการรายงานหรือเข้าเข้าถึงพื้นที่สู้รบโดยไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐ ผู้สื่อข่าวสงคราม ...
จริงหรือไม่ที่การควบคุมอาวุธจากเทคโนโลยียุคใหม่ เป็นเรื่องฟุ่มเฟือยเกินไปในยามสันติ: สงครามโลกครั้งที่หนึ่งให้บทเรียนอะไรในประเด็นนี้

จริงหรือไม่ที่การควบคุมอาวุธจากเทคโนโลยียุคใหม่ เป็นเรื่องฟุ่มเฟือยเกินไปในยามสันติ: สงครามโลกครั้งที่หนึ่งให้บทเรียนอะไรในประเด็นนี้

, บทความ / บล็อค

ในช่วงต้นศตวรรษที่ยี่สิบเอ็ด บรรดาวิศวกรผู้เปี่ยมด้วยจิตนาการจากประเทศฝรั่งเศสตลอดจนสหรัฐอเมริกา ต่างมุ่งหวังให้สิ่งประดิษฐ์ของตนเป็นเครื่องมือยับยั้งการก่อสงคราม ยับยังความสูญเสียมหาศาลที่อาจจะตามมาในภายหลัง อย่างไรก็ดี ตลอดช่วงระยะเวลาสี่ปีในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ความมุ่งหวังดังกล่าวกลับไม่เป็นดั่งใจเมื่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถูกนำมาประยุกต์ใช้ในปฏิบัติการณ์ทางทหาร การคิดค้นพัฒนาอาวุธร้ายแรง ตลอดจนความเคลือบแคลงว่ต่อประเทศต่างๆ ว่าจะสามารถยืนหยัดในคุณค่าและหลักการของประเทศตนในยามรบกลายเป็นบทเรียนใหญ่ที่โลกทั้งใบต่างได้รับ จริงหรือไม่ที่สงครามโลกครั้งที่หนึ่งแสดงให้เห็นว่าหลักศีลธรรม รวมถึงหลักการตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศ (อนุสัญญากรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ค.ศ.​1868 หรืออนุสัญญากรุงเฮก ค.ศ. 1899 และ 1907) ที่นำมาใช้เป็นเหตุผลในการต่อต้านการใช้อาวุธที่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ถูกมองข้ามในยามที่ประเทศต้องเผชิญภาวะวิกฤต ค.ศ.1914-1918 กับการนำทฤษฎีความสัมพันธ์มาใช้อธิบายปรากฏการณ์ที่อาวุธชนิดใหม่กลายเป็นที่ยอมรับในสังคม ...
Valentine volunteers: เรื่องรักๆ ในสงครามโลกครั้งที่ 1 

Valentine volunteers: เรื่องรักๆ ในสงครามโลกครั้งที่ 1 

, บทความ

ทหารกับนางพยาบาล แทบจะเป็นความรักคลาสสิกที่พบทั่วไปในยามรบ สำหรับทหารมากมาย รอยยิ้มและการดูแลของเหล่าพยาบาลอาสาเป็นสิ่งเยี่ยวยาจิตใจ เป็นพลังบวก และเป็นเหมือนบ้านหลังเล็กๆ ให้ได้พักผ่อนก่อนกลับไปรับใช้ชาติ นายทหารหลายคนผูกมิตรกับสาวๆ ร้องเพลงและเล่าเรื่องราวในใจให้พวกเธอฟัง หลายคนฝากของที่ระลึกหรือรูปถ่าย เพราะไม่แน่ใจว่าตัวเองจะได้กลับมาหรือไม่ หรือในบางครั้ง ความสัมพันธ์อาจข้ามผ่านมุกตลกและบทสนทนา จนกลายเป็นไปเป็นความรักยืนยาวชั่วชีวิต Helen Beale พยาบาลอาสาของสภากาชาดอังกฤษ เล่าเรื่องประทับใจเกี่ยวกับทหารที่เธอดูแลในฝรั่งเศส ‘ฉันพบทหารที่ตลกที่สุดเท่าที่เคยรู้จัก เขามาจากเมืองชนบทชื่อ Lincolnshire (เมืองในอังกฤษ) และเกือบทำฉันขายหน้าหลายครั้ง ...
ย้อนมองปฏิบัติการของ ICRC ผ่านนิทรรศการ 100 ปีสงครามโลกครั้งที่ 1 (1918-2018)

ย้อนมองปฏิบัติการของ ICRC ผ่านนิทรรศการ 100 ปีสงครามโลกครั้งที่ 1 (1918-2018)

, บทความ / เรื่องเล่าจากภาคสนาม

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 (1914-1918) ICRC ให้การสนับสนุนองค์กรการกุศลทั่วรัสเซียและยุโรปตะวันออก หนึ่งร้อยปีหลังสงครามสิ้นสุดลง ICRC ยังคงปกป้องชีวิตและศักดิ์ศรีของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของความขัดแย้งทางอาวุธและสถานการณ์ความรุนแรงอื่น ๆ ไปพร้อมกับการส่งเสริมและสนับสนุนกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (เด็กๆ ในสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าของรัสเซียช่วยกันเลี้ยงแพะเพื่อนำน้ำนมมาเป็นอาหาร ภาพนี้ถูกถ่ายที่เมือง Novgorod ในเดือนสิงหาคม ...