ICRC

แถลงการณ์จากประธานคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ไอซีอาร์ซี) เรื่องความขัดแย้งในประเทศยูเครน

แถลงการณ์จากประธานคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ไอซีอาร์ซี) เรื่องความขัดแย้งในประเทศยูเครน

, News / ไทย

การสู้รบระลอกล่าสุดในประเทศยูเครนทำให้ผมรู้สึกกังวลใจอย่างยิ่งยวด การยกระดับความรุนแรงและการกระจายตัวเป็นวงกว้างของการต่อสู้นั้น เพิ่มความเสี่ยงต่อการสูญเสียชีวิต และการทำลายล้างในระดับที่น่ากลัวเกินกว่าจะจินตนาการได้เมื่อคำนึงถึงแสนยานุภาพทางทหารของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ขณะนี้เราได้เห็นผลกระทบโดยตรงต่อพลเรือนแล้ว โดยสถานการณ์ที่ทวีความรุนแรงขึ้นล่าสุดส่งผลให้เกิดการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานระลอกใหม่ ทั้งนี้ เป็นเวลาแปดปีมาแล้วที่ประชากรในภูมิภาคดอนบาสและอีกหลายแห่งต้องทนอยู่กับผลกระทบจากความขัดแย้ง ในตอนนี้ผมกลัวว่าผลกระทบที่มีอยู่แล้วจะเพิ่มมากขึ้นไปอีก อันจะนำไปสู่การสูญเสียชีวิตเป็นจำนวนมหาศาล และการทำลายวัตถุพลเรือนที่สำคัญ เช่น โรงผลิตน้ำประปาและโรงงานไฟฟ้า ตลอดจนการย้ายถิ่นฐานของประชากรขนานใหญ่ ผลกระทบทางจิตใจ การพลัดพรากจากครอบครัว และการสูญหายของบุคคล จากประสบการณ์การทำงานอย่างยาวนานของไอซีอาร์ซี เราพบว่า ความผิดพลาด และความคลาดเคลื่อน ตลอดจนการขาดความเข้าใจ ในการประเมินผลกระทบที่อาจจะมีต่อพลเรือนจากปฏิบัติการทางทหารขนาดใหญ่ ...
ปฏิบัติการทุ่นระเบิด: อิทธิพลที่มีต่อกฎหมายและนโยบายด้านการจัดการกับเศษซากอาวุธสงครามประเภทสารพิษ

ปฏิบัติการทุ่นระเบิด: อิทธิพลที่มีต่อกฎหมายและนโยบายด้านการจัดการกับเศษซากอาวุธสงครามประเภทสารพิษ

ปฏิบัติการทุ่นระเบิด (Mine action)มีความสอดคล้องกับการเคลื่อนไหวป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการขัดกันทางอาวุธที่ตระหนักถึงความจำเป็นของการจัดการกับภัยอันตรายที่เกิดขึ้นแล้ว เนื่องจากมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดผลกระทบของทุ่นระเบิดและเศษซากอาวุธสงครามประเภทระเบิด และถือเป็นต้นแบบของการช่วยเหลือผู้ประสบภัยและฟื้นฟูสภาพแวดล้อมที่มีเศษซากอาวุธสงครามประเภทสารพิษตกค้างอยู่ บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของชุดบทความเรื่อง สงคราม กฎหมาย และสิ่งแวดล้อม ภายใต้ความร่วมมือกับ Conflict and Environment Observatory  โดยมี บอนนี ดอกเคอตี จากคลินิกสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศของ Harvard Law School และ Human ...
สถานการณ์ไม่แน่นอนและอุณหภูมิติดลบกระทบชาวยูเครนในแนววางกำลังฝั่งตะวันออก

สถานการณ์ไม่แน่นอนและอุณหภูมิติดลบกระทบชาวยูเครนในแนววางกำลังฝั่งตะวันออก

, News / ไทย

สำหรับชาวยูเครนหลายแสนคนที่อาศัยอยู่ใกล้แนววางกำลังด้านตะวันออกของประเทศแล้ว แต่ละวันที่ผ่านไปคือการดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด แปดปีของความขัดแย้งทำให้ผลกระทบด้านมนุษยธรรมเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล เนื่องจาก น้ำ แก๊สหุงต้ม และ ไฟฟ้าที่มีอยู่อย่างจำกัด บวกกับอากาศหนาวเย็นแบบติดลบ โรคระบาดโควิด-19 และสถานการณ์ที่มีความไม่แน่นอนต่อเนื่องยาวนาน ท่ามกลางสถานการณ์อันยากลำบากนี้ คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ หรือ ไอซีอาร์ซี (International Committee of the Red Cross) จึงเร่งส่งความช่วยเหลือ ทั้ง ...
ICRC แต่งตั้งทีมบริหารใหม่ขับเคลื่อนองค์กรท่ามกลางความท้าทายปัจจุบัน

ICRC แต่งตั้งทีมบริหารใหม่ขับเคลื่อนองค์กรท่ามกลางความท้าทายปัจจุบัน

, News / ไทย

นครเจนีวา – ที่ประชุมสมัชชาใหญ่ของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ หรือ ไอซีอาร์ซี (International Committee of the Red Cross – ICRC) รับรองการแต่งตั้งผู้อำนวยการใหม่ 6 ตำแหน่ง โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2022 และมีวาระดำรงตำแหน่ง 4 ปี ...
พุทธศาสนาและกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ : การบรรยายโดย แอนดรูว์ บาร์เทิล-สมิธ

พุทธศาสนาและกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ : การบรรยายโดย แอนดรูว์ บาร์เทิล-สมิธ

, บทความ / บล็อค

พุทธศาสนาเป็นศาสนาที่หลายคนรู้จักและเข้าใจว่าเป็นศาสนาแห่งอหิงสา (ความไม่เบียดเบียนและการเว้นจากการทำร้าย) และบ่อยครั้งมีการนำพุทธศาสนามาใช้ในบริบทของความขัดแย้ง ไม่ว่าจะเป็นเพื่อการป้องกัน การเจรจา รวมถึงแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง แต่ที่ผ่านมา มีการวิจัยค่อนข้างน้อยเกี่ยวกับทัศนคติของพุทธศาสนาที่มีต่อสถานการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นโดยไม่อาจป้องกันได้หรือยังเกิดขึ้นอยู่ ดังนั้น ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) จึงพยายามเชื่อมประสานและสัมพันธ์กับวงการพุทธศาสนาทั้งในภูมิภาคเอเชียและภูมิภาคอื่น เพื่อบุกเบิกริเริ่มศึกษาวิจัยเกี่ยวกับทัศนคติของพุทธศาสนาและหลักธรรมคำสอนที่มีต่อการทำสงคราม รวมถึงความสอดคล้องเชื่อมโยงกันของพุทธศาสนากับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (International Humanitarian Law – IHL) ในการบรรเทาอันตรายและความทุกข์ทรมานจากความขัดแย้งที่เกิดขึ้น แอนดรูว์ บาร์เทิล-สมิธ ...
กฎหมายมนุษยธรรมอิสลาม: การนำเสนอโดย ดร. ซีอาเลาะห์ ราห์มานี

กฎหมายมนุษยธรรมอิสลาม: การนำเสนอโดย ดร. ซีอาเลาะห์ ราห์มานี

, บทความ / บล็อค

คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) ได้ศึกษาความสอดคล้องเชื่อมโยงกันของกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (IHL) ที่มีร่วมกับศาสนาต่าง ๆ มาเป็นเวลาหลายปีแล้ว โดยมุ่งหมายสำคัญของการศึกษาคือเพื่อเรียนรู้และกระตุ้นส่งเสริมให้เกิดการพูดคุยอภิปรายระหว่างกันเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ที่มีความสำคัญ เช่น ศาสนาอิสลามนั้นเป็นศาสนาหนึ่งที่มีชุดกฎหมายมนุษยธรรมเป็นของตัวเองและนำชุดกฎหมายนี้มาใช้ในการบรรเทาความทุกข์ทรมานในสถานการณ์การขัดกันทางอาวุธ ในการบรรยายอันเป็นส่วนหนึ่งของโครงการหลักสูตร “ความขัดแย้ง ความรุนแรง และงานด้านมนุษยธรรม” ซึ่ง สถาบันพระปกเกล้า จัดขึ้นร่วมกับ ICRC และมูลนิธิสถาบันการจัดการวิถีพุทธเพื่อสุขและสันติ (มูลนิธิ สกพ.) ...
ICRC เผย การสู้รบด้วยอาวุธระเบิดร้ายแรงในเขตเมืองกระทบกว่า 50 ล้านคนทั่วโลก

ICRC เผย การสู้รบด้วยอาวุธระเบิดร้ายแรงในเขตเมืองกระทบกว่า 50 ล้านคนทั่วโลก

, News / ไทย

ในขณะที่โลกมีความเป็นเมืองมากขึ้น ความขัดแย้งและการสู้รบก็ขยับเข้ามาในเมืองมากขึ้นเช่นกัน คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ หรือ ไอซีอาร์ซี (International Committee of the Red Cross- ICRC) ระบุในรายงานล่าสุด “Explosive Weapons with Wide Area Effects: A Deadly Choice in ...
คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศเปิดกองทุนลดโลกร้อน

คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศเปิดกองทุนลดโลกร้อน

, News / ไทย

คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ หรือ ไอซีอาร์ซี (International Committee of the Red Cross- ICRC) เปิดตัวกองทุนเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (Climate and Environment Transition Fund) อันเป็นโครงการระยะยาวเพื่อสนับสนุนเป้าหมายของไอซีอาร์ซีด้านความยั่งยืนและการลดโลกร้อน ผ่านการทำงานมนุษยธรรมของไอซีอาร์ซีทั่วโลก นาย ปีเตอร์ เมาเรอร์ ประธานคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ กล่าวว่า ...
คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ จับมือพันธมิตรจัดนิทรรศการภาพถ่ายครั้งแรกในไทย

คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ จับมือพันธมิตรจัดนิทรรศการภาพถ่ายครั้งแรกในไทย

, News / ไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์ 22 ธันวาคม 2021 คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ จับมือพันธมิตรจัดนิทรรศการภาพถ่ายครั้งแรกในไทย กรุงเทพฯ – คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (International Committee of the Red Cross – ICRC) หรือ ไอซีอาร์ซี ร่วมกับ สภากาชาดไทย สหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (International ...
การส่งสัญญาณด้านการคุ้มครองทางกฎหมายในโลกดิจิทัล คือวิถีใหม่ของเครื่องหมายพิเศษอันเด่นชัดหรือไม่

การส่งสัญญาณด้านการคุ้มครองทางกฎหมายในโลกดิจิทัล คือวิถีใหม่ของเครื่องหมายพิเศษอันเด่นชัดหรือไม่

, บทความ / บล็อค

 ปัจจุบัน มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการสู้รบมากขึ้นอย่างชัดเจน แม้ว่าจะมาพร้อมกับความเสี่ยงจำนวนมาก แต่การใช้เทคโนโลยีดังกล่าวก็อาจมาพร้อมกับโอกาสใหม่ ๆ ได้ด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น เทคโนโลยีใหม่ ๆ อาจเป็นสิ่งที่ช่วยส่งสัญญาณทางดิจิทัลว่า โครงสร้างพื้นฐานและทรัพย์สินบางอย่างได้รับการคุ้มครองภายใต้กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศหรือไม่ ซึ่งกว่า 150 ปี ที่ผ่านมา เครื่องหมายกาชาดและเสี้ยววงเดือนแดง และไม่นานมานี้คือ เครื่องหมายคริสตัลแดง ได้ร่วมกันทำหน้าที่ดังกล่าวนี้บนโลกทางกายภาพ แล้วจะเป็นไปได้หรือไม่ หากพิจารณาจากมุมมองด้านความปลอดภัยของโลกไซเบอร์แล้ว ว่าควรมีการทำเครื่องหมายสินทรัพย์ดิจิทัลให้แก่หน่วยงานที่ได้รับการคุ้มครองในช่วงเวลาที่เกิดการขัดกันทางอาวุธ รวมถึงสมควรแนะนำให้มีการคุ้มครองด้วยหรือไม่ ...