ICRC

‘อย่าลืมพวกเรา’: เสียงเล็กๆ จากเจ็ดครอบครัวสุดท้ายในหมูบ้านวาเดียเนีย ประเทศยูเครน

‘อย่าลืมพวกเรา’: เสียงเล็กๆ จากเจ็ดครอบครัวสุดท้ายในหมูบ้านวาเดียเนีย ประเทศยูเครน

, บทความ / เรื่องเล่าจากภาคสนาม

วาเดียเนีย หมู่บ้านเล็กๆ ทางตอนใต้ของยูเครนเคยเป็นสถานที่ที่ใครหลายคนเรียกว่าบ้าน จากประชากรกว่า 300 ครอบครัว ปัจจุบันวาเดียเนียมีสมาชิกเหลือเพียง 13 คนเท่านั้น ย้อนไปหลายปีก่อนหน้า หมู่บ้านที่เงียบสงบเคยเป็นจุดหมายปลายทางของชาวเมืองที่อยากหนีความวุ่นวายช่วงปลายสัปดาห์ มาหาธรรมชาติและบรรยากาศเรียบง่ายของโรงนา พื้นหญ้า และฝูงปศุสัตว์ ด้วยความที่วาเดียเนียอยู่ห่างจากเมืองใหญ่อย่างมาริอูปอลที่มีประชากรเกือบครึ่งล้านเพียง ...
The Promise: กระดาษหนึ่งแผ่นเปลี่ยนชีวิตคุณได้อย่างไร?

The Promise: กระดาษหนึ่งแผ่นเปลี่ยนชีวิตคุณได้อย่างไร?

, บทความ

  ICRC จับมือกับผู้กำกับฝีมือดี Bassam Tariq ถ่ายทอดภาพสะเทือนใจของครอบครัวที่พลัดพรากผ่านหนังสั้นความยาว 4 นาที เรื่อง Wa’ad (The Promise – คำสัญญา) หนังบอกเล่าเรื่องราวยากจะบรรยายผ่านสายตาและบทสนทนาของลูกชายกับผู้เป็นพ่อที่ซ้อนทับเหตุการณ์ต่างๆ จนนำไปสู่บทสรุปที่น่าตกตะลึง ‘แนวคิดของหนังเรื่องนี้คือการสื่อสารให้ผู้ชมได้ฉุกคิดว่าข้อความในกระดาษมีพลังมากแค่ไหน’ Bassam Tariq กล่าว ‘มันอาจไกลตัวจนเรานึกไม่ถึง แต่ในมุมหนึ่งของโลก มีผู้คนมากมายที่ต้องพลัดพราก ...
จากเมียนมาสู่บังกลาเทศ: บ้านเกิดที่ไม่ปลอดภัยกับอนาคตที่ไม่แน่นอน

จากเมียนมาสู่บังกลาเทศ: บ้านเกิดที่ไม่ปลอดภัยกับอนาคตที่ไม่แน่นอน

, บทความ

Nurjahan ฉันอยู่ตามลำพังกับลูกชาย สามีของฉันเสียชีวิตไปในระหว่างเหตุความรุนแรงในเมียนมา ชีวิตที่นี่ยากลำบากและสุขภาพของฉันก็แย่ลงทุกวัน ฉันหายใจไม่ทันและปวดท้องอยู่ตลอด แต่เราไม่มีเงินพอสำหรับอะไรทั้งนั้น ข้าว และทุกสิ่งที่มี ล้วนมาจากความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ตอนนี้หน้าฝนกำลังจะมาถึง ฉันกังวลว่าบ้านของเราจะทนไม่ไหว ถ้าน้ำเกิดท่วมขึ้นมาเมื่อไหร่ นั่นอาจทำให้เราต้องเสียบ้านไปอีกครั้งเหมือนปีก่อนหน้า Jubaer บ้านของเราไม่ได้ถูกสร้างมาให้แข็งแรงพอต่อสู้กับฤดูมรสุม ในฐานะที่ผมเป็น “majhi” หรือผู้นำชุมชม มันเป็นความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่ที่ต้องทำให้แน่ใจว่าสมาชิกทุกคนได้รับอาหารและความช่วยเหลือที่เหมาะสมและเพียงพอต่อการดำรงชีวิต Setara ฉันเคยมีบ้าน แต่ตอนนี้ไม่เหลืออะไรเลย ฝน ...
เมียนมา-บังกลาเทศ: สถานการณ์ที่ไม่มีใครได้ประโยชน์

เมียนมา-บังกลาเทศ: สถานการณ์ที่ไม่มีใครได้ประโยชน์

, บทความ

‘นี่เป็นสถานการณ์ที่ไม่มีใครได้ประโยชน์’ คำแถลงจากนายปีเตอร์ เมาเรอร์ ประธานคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศหลังการเยือนประเทศพม่าและบังกลาเทศ ดากา (ICRC) – ผมกำลังจากภูมิภาคนี้ด้วยความรู้สึกที่ยากเกินบรรยาย ในสถานการณ์เช่นนี้ ผมโชคดีที่มีโอกาสเดินทางไปเยี่ยมผู้ประสบภัยในทั้งสองฝั่ง – เมียนม่าและบังกลาเทศ สองประเทศที่เผชิญปัญหาผู้ลี้ภัยจากวิกฤตในรัฐยะไข่ คอกส์บาซาร์ – เมืองชายแดนของบังกลาเทศ คือเป้าหมายหลักในการเดินทางของผู้ลี้ภัยมากมาย ค่ายผู้ลี้ภัยและที่พักอาศัยจำนวนมากถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับความต้องการที่มีมากและยากจะตอบรับ ผมได้พบปะและพูดคุยกับผู้คนในสองประเทศ และได้พบคำตอบที่ชัดเจนในใจ ไม่ว่าจะอยู่หรือไป การตัดสินใจล้วนนำไปสู่เส้นทางอันยากลำบาก ไม่มีบ้านที่ปลอดภัย ...
กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศกับข้อกำหนดว่าด้วยการคุ้มครองความเป็นเอกภาพของครอบครัวและผู้ย้ายถิ่นฐานที่หายสาบสูญหรือเสียชีวิต

กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศกับข้อกำหนดว่าด้วยการคุ้มครองความเป็นเอกภาพของครอบครัวและผู้ย้ายถิ่นฐานที่หายสาบสูญหรือเสียชีวิต

, บทความ

ในสถานการณ์การขัดกันทางอาวุธ การทำให้ผู้ย้ายถิ่นฐานต้องพลัดพรากจากครอบครัวหรือถูกจับกุมคุมขัง จนทำให้ผู้ย้ายถิ่นฐานเหล่านั้นต้องหายสาบสูญหรือเสียชีวิตถือเป็นการละเมิดกฏหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (International Humanitarian Law – IHL) อุปสรรคสำคัญที่พบในการคุ้มครองผู้ย้ายถิ่นฐานคือ ผู้ย้ายถิ่นฐานส่วนใหญ่มักพำนักแยกกันอยู่ในหลายประเทศ ทำให้เกิดปัญหาด้านการสื่อสารระหว่างสมาชิกในครอบครัว เนื่องจากใช้ภาษาที่แตกต่างกัน นอกจากนี้อุปสรรคสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ การส่งข้อมูลข้ามแดนระหว่างหน่วยงานของแต่ละประเทศที่อาจทำให้เกิดปัญหาในแง่ของการรวบรวมข้อมูล ที่จะถูกนำมาใช้ในการยืนยันตัวตนของผู้ย้ายถิ่นฐานที่เสียชีวิตแล้ว กรณีดังกล่าวอาจมีความซับซ้อนมากขึ้นหากผู้ย้ายถิ่นฐานไม่ต้องการติดต่อกับครอบครัว เพราะกลัวจะถูกส่งตัวกลับประเทศ (deportation) หรือกลัวว่าจะทำให้ครอบครัวในประเทศต้นทางต้องเผชิญกับการแก้แค้น(reprisal) ดังนั้นหากปราศจากการถ่ายทอดข้อมูลให้ครอบครัวรับรู้ รวมถึงการยืนยันตัวตนของผู้ตั้งถิ่นฐานด้วยการตรวจสอบร่างของผู้เสียชีวิต จึงทำให้ผู้ย้ายถิ่นฐานหลายคนมีสถานะเป็นผู้หายสาบสูญทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงอาจจะเสียชีวิตไปแล้วก็ตาม ...
‘สถานะ’ และ ‘การคุ้มครอง’ : องค์กรมนุษยธรรมมองเรื่อง ‘ผู้ลี้ภัย’ ไว้อย่างไร

‘สถานะ’ และ ‘การคุ้มครอง’ : องค์กรมนุษยธรรมมองเรื่อง ‘ผู้ลี้ภัย’ ไว้อย่างไร

, บทความ / บล็อค

การเดินทางจากบ้านมีได้หลายเหตุผล การที่ใครสักคนจะได้รับการต้อนรับหรือดูแลมากแค่ไหน บางครั้งก็ขึ้นอยู่กับเหตุผลของการเดินทาง ที่จะบอกว่าผู้อพยพท่านนี้ควรได้รับสถานะ (status) หรือ การคุ้มครอง (protection) แบบใด แต่ไม่ว่าจะหลบหนีจากสงครามหรือเดินทางหางานสร้างอนาคต ไม่ว่าจะถูกบังคับให้เคลื่อนย้ายหรือเต็มใจออกจากบ้าน สิ่งที่ผู้คนเหล่านี้ต้องเผชิญไม่ต่างกัน คืออุปสรรค์ที่มักเกิดขึ้นระหว่างทาง นายปีเตอร์ เมาเรอร์ ประธานคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) กล่าวถึงประสบการณ์ความยากลำบากที่ผู้คนเหล่านี้ต้องเผชิญไว้ว่า: ‘เมื่อตัดสินใจออกเดินทาง ผู้อพยพและประชากรพลัดถิ่นต้องเผชิญโจทย์ยากตั้งแต่ก้าวแรก บนเส้นทางมีความไม่แน่นอน หลายชีวิตไม่สามารถไปถึงจุดหมายได้อย่างปลอดภัย หรือต่อให้ไปถึง ...
เปิดประตูกว้าง หรือ สร้างกำแพง? เมื่อผู้ลี้ภัยไม่ใช่ ‘ผู้เสียหาย’ แต่กลายเป็น ‘อันตราย’

เปิดประตูกว้าง หรือ สร้างกำแพง? เมื่อผู้ลี้ภัยไม่ใช่ ‘ผู้เสียหาย’ แต่กลายเป็น ‘อันตราย’

, บทความ / บล็อค

ในโลกทุกวันนี้ปัญหาเรื่องผู้ลี้ภัยกลายเป็นเรื่องใหญ่ในระดับนานาชาติ ไม่ใช่แค่การลี้ภัยจากสงครามหรือความขัดแย้ง แต่ยังรวมไปถึงกลุ่มแรงงานต่างชาติที่เดินทางออกจากบ้านเกิดเพราะปัญหาด้านเศรฐกิจ หลายคนอพยพจากภูมิลำเนาเพราะขาดโอกาสทางการศึกษา ไม่มีงานทำ หรือไม่สามารถเข้าถึงบริการทางสุขภาพขั้นพื้นฐาน ความคิดเรื่อง ‘เอลโดราโด (El Dorados)’ มีอยู่ทุกสมัย และไม่ใช่ความผิดที่หลายคนฝันถึงชีวิตที่ดีกว่าในมหานครใหญ่อย่าง นิวยอร์ก หรือ ลอนดอน ในช่วงทศวรรษที่ 1990s มีคลื่นผู้อพยพจากอิตาลี โปแลนด์ และ ไอร์แลนด์ ถาโถมเข้าสู่สหรัฐฯ เพื่อขานรับความฝันเรื่อง ...
คำว่า ‘ผู้ลี้ภัย’ มาจากไหน? ประวัติศาสตร์การลี้ภัยที่ย้อนไปไกลกว่าที่คิด

คำว่า ‘ผู้ลี้ภัย’ มาจากไหน? ประวัติศาสตร์การลี้ภัยที่ย้อนไปไกลกว่าที่คิด

, บทความ / บล็อค

ประวัติศาสตร์โลกเต็มไปด้วยเรื่องราวของการพลัดถิ่น จะด้วยเหตุผลทางการเมือง สงคราม หรือศาสนา ปฎิเสธไม่ได้ว่าโลกที่เราเห็นและเป็นอยู่ทุกวันนี้ เกิดขึ้นจากการแต่งแต้มสีสันของผู้คนจากหลายวัฒนธรรมที่พบปะสังสรรค์ผ่านการย้ายถิ่นฐานมายาวนานหลายศตวรรษ   แนวความคิดเรื่องผู้ลี้ภัยเริ่มตั้งแต่เมื่อไหร่? ความคิดที่ว่า มนุษย์เราควรให้ความช่วยเหลือแก่เหยื่อหรือผู้ที่กำลังอยู่ในอันตรายสามารถสืบย้อนกลับไปได้ไกลตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ  ในสมัยนั้น มีการพูดเรื่องสิทธิในการมอบที่ลี้ภัย (asylum) แก่ผู้เดือดร้อน แนวคิดนี้ถูกใช้ต่อมาโดยชาวโรมัน ก่อนชาวคริสต์ ชาวฮีบรู และชาวอิสลาม จะนำแนวคิดนี้มาบรรจุในวัฒนธรรมของตน จนเกิดเป็นเรื่องเล่าในศาสนาอย่างการอพยพของโมเสสที่พาชาวฮีบรูออกจากการเป็นทาสของชาวอียิปต์ไปยังแผ่นดินแห่งพันธสัญญา หรือเรื่องราวการเดินทางของนบีมุฮัมมัดและผู้ติดตามจากเมกกะไปยังเมดินะในวัฒนธรรมอิสลาม แนวคิดนี้ถูกนำมาบัญญัติแบบเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกโดย Hugo ...
เมื่อผู้ช่วยชีวิตตกเป็นเป้าหมาย กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศกล่าวถึงความรุนแรงทางการแพทย์ไว้อย่างไร?

เมื่อผู้ช่วยชีวิตตกเป็นเป้าหมาย กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศกล่าวถึงความรุนแรงทางการแพทย์ไว้อย่างไร?

, บทความ / บล็อค

ข่าวการเสียชีวิตของนักปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์ในกาซ่า นำมาซึ่งคำถามใหญ่เกี่ยวกับความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ในพื้นที่ขัดแย้ง หากมองย้อนกลับไป ปัญหาความรุนแรงต่อบุคลากรทางการแพทย์ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะเป็นประเด็นที่ ICRC ให้ความสนใจและพยายามผลักดันมาตลอด แม้ความปลอดภัยของผู้ปฎิบัติงานด้านการแพทย์จะได้รับการคุ้มครองตามหลักกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (international humanitarian law – IHL) แต่ที่ผ่านมาบุคลากรที่ดูแลสุขอนามัยในพื้นที่ขัดแย้งกลับต้องเผชิญกับภาวะท้าทายมากมาย ไม่ว่าจะเป็นความท้าทายทางวิชาชีพ หรืออันตรายต่อชีวิตของตัวผู้ปฎิบัติงาน ในปี พ.ศ. 2551 กระทรวงสาธารณสุขของประเทศอิรักประเมินว่าบุคลากรทางการแพทย์มากกว่า 625 คนถูกสังหารตั้งแต่ปี พ.ศ. ...
ยะไข่: การเดินทางกลับต้องเป็นไปอย่างปลอดภัย สมัครใจ และมีศักดิ์ศรี

ยะไข่: การเดินทางกลับต้องเป็นไปอย่างปลอดภัย สมัครใจ และมีศักดิ์ศรี

, E-Book / บล็อค

สุนทรพจน์โดยนายปีเตอร์ เมาเรอร์ ประธานคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศเรื่องสถานการณ์ในรัฐยะไข่ วันที่ 2 มิถุนายน 2561ณ โรงแรมโรงแรมแชงกรี-ล่า ประเทศ สิงคโปร์ ข้าพเจ้ารู้สึกเป็นเกียรติที่ได้มีโอกาสนำมุมมองด้านมนุษยธรรมมาร่วมอภิปรายกับทุกท่านในที่นี้ ขอบคุณสถาบัน International Institute for Strategic Studies (IISS) ที่อนุญาตให้ ICRC ได้เข้าร่วมการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดกับผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงจากหลายประเทศซึ่งต่างก็มีความกังวลต่อสถานการณ์ในรัฐยะไข่ประเทศเมียนมา – มันเป็นเรื่องสำคัญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ...