บทความ

การส่งสัญญาณด้านการคุ้มครองทางกฎหมายในโลกดิจิทัล คือวิถีใหม่ของเครื่องหมายพิเศษอันเด่นชัดหรือไม่

การส่งสัญญาณด้านการคุ้มครองทางกฎหมายในโลกดิจิทัล คือวิถีใหม่ของเครื่องหมายพิเศษอันเด่นชัดหรือไม่

, บทความ / บล็อค

 ปัจจุบัน มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการสู้รบมากขึ้นอย่างชัดเจน แม้ว่าจะมาพร้อมกับความเสี่ยงจำนวนมาก แต่การใช้เทคโนโลยีดังกล่าวก็อาจมาพร้อมกับโอกาสใหม่ ๆ ได้ด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น เทคโนโลยีใหม่ ๆ อาจเป็นสิ่งที่ช่วยส่งสัญญาณทางดิจิทัลว่า โครงสร้างพื้นฐานและทรัพย์สินบางอย่างได้รับการคุ้มครองภายใต้กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศหรือไม่ ซึ่งกว่า 150 ปี ที่ผ่านมา เครื่องหมายกาชาดและเสี้ยววงเดือนแดง และไม่นานมานี้คือ เครื่องหมายคริสตัลแดง ได้ร่วมกันทำหน้าที่ดังกล่าวนี้บนโลกทางกายภาพ แล้วจะเป็นไปได้หรือไม่ หากพิจารณาจากมุมมองด้านความปลอดภัยของโลกไซเบอร์แล้ว ว่าควรมีการทำเครื่องหมายสินทรัพย์ดิจิทัลให้แก่หน่วยงานที่ได้รับการคุ้มครองในช่วงเวลาที่เกิดการขัดกันทางอาวุธ รวมถึงสมควรแนะนำให้มีการคุ้มครองด้วยหรือไม่ ...
นายกรัฐมนตรีเอธิโอเปียประกาศบริหารประเทศจากสนามรบในขณะที่สถานการณ์ด้านมนุษยธรรมเข้าขั้นวิกฤต

นายกรัฐมนตรีเอธิโอเปียประกาศบริหารประเทศจากสนามรบในขณะที่สถานการณ์ด้านมนุษยธรรมเข้าขั้นวิกฤต

, บทความ / บล็อค

นายกรัฐมนตรีเอบีย์ อาเหม็ดประกาศเมื่อวานนี้ (24 พฤศจิกายน 2021) จะเข้าร่วมการรบกับแนวหน้าในขณะที่กองกำลังฝ่ายต่อต้านจากทีเกรย์บุกถึงเมืองเชวา โรบิต เมืองใหญบนเส้นทางหลักห่างจากเมืองหลวงเพียง 200 กิโลเมตร ความขัดแย้งในเอธิโอเปียระหว่างรัฐบาลกลาง และกองกำลังในภูมิภาคทีเกรย์ ทางตอนเหนือของประเทศ ทำให้ประชากรนับแสนคนต้องอพยพออกจากบ้าน ผู้คนหลายพันเดินทางจากเมืองหนึ่งสู่อีกเมืองในสภาพสิ้นเนื้อประดาตัว พวกเขาต้องอาศัยในค่ายลี้ภัยที่แออัด เด็กๆ ไม่ได้เรียนหนังสือ ขาดแคลนทั้งน้ำและอาหาร “เราทำงานแข่งกับเวลาเพื่อส่งมอบความต้องการด้านมนุษยธรรมให้กับประชากรที่ยากลำบาก” นิโคลัส ฟอน อาร์ค ...
เกิดอะไรในอัฟกานิสถาน สถานการณ์ล่าสุดและผลกระทบของภัยพิบัติจากน้ำมือมนุษย์

เกิดอะไรในอัฟกานิสถาน สถานการณ์ล่าสุดและผลกระทบของภัยพิบัติจากน้ำมือมนุษย์

, บทความ / บล็อค

ข้อความต่อไปนี้ เป็นแถลงการณ์ของนายโดมินิก สติลฮาร์ท ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) หลังลงพื้นที่เป็นเวลา 6 วันเพื่อสำรวจความต้องการด้านมนุษยธรรมในประเทศอัฟกานิสถาน “ผมหน้าซีด ภาพที่เห็นจากระยะไกลในวอร์ดผู้ป่วยเด็กของโรงพยาบาลที่ใหญ่ที่สุดประจำเมืองกันดาฮาร์ คือเด็กที่ผอมแห้งกับลมหายใจอันรวยริน ผมมองเข้าไปในดวงตาที่ว่างเปล่าของเด็กๆ ที่หิวโหย และใบหน้าอันปวดร้าวของพ่อแม่ที่สิ้นหวัง สถานการณ์เช่นนี้ช่างน่าโมโหเสียจริง “สิ่งที่น่าเสียใจสุด คือผลกระทบเหล่านี้ล้วนเกิดขึ้นด้วยน้ำมือมนุษย์ มาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจจากนานาชาติ เพื่อตอบโต้การกระทำของผู้มีอำนาจในคาบูล กำลังผลักให้ผู้คนหลายล้านต้องตกที่นั่งลำบาก พวกเขาไม่มีแม้แต่ปัจจัย 4 ...
ร่างผู้เสียชีวิตจากสงครามหมู่เกาะฟอล์กแลนด์สถูกค้นพบเพื่อส่งคืนอาร์เจนติน่าหลังสงครามผ่านมา 38 ปี 

ร่างผู้เสียชีวิตจากสงครามหมู่เกาะฟอล์กแลนด์สถูกค้นพบเพื่อส่งคืนอาร์เจนติน่าหลังสงครามผ่านมา 38 ปี 

, บทความ / บล็อค

หลายคนจดจำสหราชอาณาจักรในฐานะจักรวรรดิที่พระอาทิตย์ไม่ตกดิน เขตแดนของอังกฤษในศตวรรษที่ 19-20 ขยายอำนาจกว้างใหญ่ไพศาลแม้แต่อาณาจักรโรมันโบราณก็ไม่สามารถทาบรัศมีได้ อย่างไรก็ดี ดินแดนทั้งหมดนี้แทบจะล้มหายไปสิ้นในช่วงครึ่งศตวรรษที่ 20 ครั้งสุดท้ายที่สหราชอาณาจักรต่อสู้เพื่อปกป้องดินแดนต่างชาติที่อยู่ในครอบครอง คือการต่อสู้เพื่อปกป้องเกาะเล็กๆ ในมหาสมุทรแอตแลนติกตอนใต้ที่มีประชากรไม่มากไปกว่าหนึ่งหมู่บ้าน เกาะที่ว่าเป็นที่รู้จักในหมู่ชาวอังกฤษภายใต้ชื่อ ‘หมู่เกาะฟอล์กแลนด์ส’ แต่เป็นที่รู้จักในหมู่ชาวอาร์เจนติน่าว่า ‘หมู่เกาะมัลบินัส’ หมู่เกาะฟอล์กแลนด์ส (หรือหมู่เกาะมัลบินัส) เป็นชนวนปัญหาระหว่างสหราชอาณาจักรและอาร์เจนติน่ามาอย่างยาวนาน อังกฤษยึดเอาเกาะนี้เป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิ ในขณะที่อาร์เจนติน่า หลังประกาศอิสรภาพจากสเปน ก็อ้างสิทธิ์ในหมู่เกาะโดยกล่าวว่าหมู่เกาะมัลบินัสเป็นเขตแดนเก่าใต้อาณานิคมของสเปน ความขัดแย้งเรื่องหมู่เกาะฟอล์กแลนด์สมาปะทุในปี 1982 ...
“เรามีเวลามากพอหยิบสิ่งของไม่กี่อย่าง เสื้อผ้าสองสามชุด เอกสารที่จำเป็น และทรัมเป็ตของผม”

“เรามีเวลามากพอหยิบสิ่งของไม่กี่อย่าง เสื้อผ้าสองสามชุด เอกสารที่จำเป็น และทรัมเป็ตของผม”

, บทความ / บล็อค

Vahagn เด็กหนุ่มวัย 16 เล่าถึงเหตุการณ์ในวันที่เขาต้องจากบ้านโดยไม่มีโอกาสกลับมาอีก ความขัดแย้งที่เพิ่มขึ้นในภูมิภาคนากอร์โน-คาราบัค ของอาเซอร์ไบจาน ผลักให้ครอบครัวของ Vagagn ต้องลี้ภัยออกจากบ้านเกิด พวกเขาหยิบสิ่งของสำคัญเท่าที่ทำได้ ย้ายมาเริ่มชีวิตใหม่ในเยอร์เวน เมืองหลวงของประเทศอาร์มาเนีย การทิ้งทุกอย่างเพื่อก้าวไปข้างหน้าไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ความรักในดนตรีของ Vahagn ช่วยให้เขาก้าวผ่านช่วงเวลาเลวร้ายได้อย่างน่าประทับใจ “ผมหลงรักดนตรีตั้งแต่เด็ก หลังจากได้ยินคุณปู่เป่า shvi (เครื่องดนตรีท้องถิ่นของอาร์มาเนีย ลักษณะคล้ายขลุ่ย) ผมก็รู้สึกประทับใจมากและตัดสินใจว่าจะต้องเป็นนักดนตรีให้ได้” ตอน ...
จากทะเลสาบเป็นทะเลทราย: การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้ประเทศมาลีเผชิญสภาวะวิกฤต

จากทะเลสาบเป็นทะเลทราย: การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้ประเทศมาลีเผชิญสภาวะวิกฤต

, บทความ / บล็อค

เพียงหนึ่งเดือนก่อนถึงการประชุมภาคีสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (COP26) สถานการณ์ในมาลีได้เตือนให้ทั้งโลกได้เห็นถึงประเด็นร้อนที่ส่งผลโดยตรงกับชีวิตประจำวันของประชาชนในพื้นที่ขัดแย้ง ประเทศมาลีได้รับการจัดอันดับจาก ND-GAIN ให้เป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากที่สุดเป็นอันดับ 7 ด้วยปัญหาความขัดแย้งอย่างนาวนานทำให้ UNDP จัดอันดับมาลีเป็นประเทศที่ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ และเป็นประเทศที่มีดัชนีการพัฒนามนุษย์ (Human Development Index) ต่ำที่สุดเป็นอันดับที่ 184 จาก 189 ประเทศ นายแพทริก ยูเซฟ ผู้อำนวยการประจำภูมิภาคแอฟริกา คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ ...
ผู้สื่อข่าวได้รับความคุ้มครองอย่างไรในพื้นที่ขัดแย้ง

ผู้สื่อข่าวได้รับความคุ้มครองอย่างไรในพื้นที่ขัดแย้ง

, บทความ / บล็อค

มีคำกล่าวว่าความจริงคือเหยื่อยรายแรกของสงคราม นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมการรายงานข่าวที่แม่นยำและไม่เลือกข้าง จึงมีความสำคัญ โดยเฉพาะในสถานการณ์ความขัดแย้งที่คนทั้งโลกกำลังให้ความสนใจ บทบาทของผู้รายงานข่าวในฐานะผู้เห็นเหตุการณ์และบันทึกผลกระทบที่น่าหวาดกลัวของความขัดแย้งเป็นสิ่งจำเป็น แต่นั่นก็ทำให้พวกเขาตกเป็นหนึ่งในกลุ่มบุคคลที่ต้องเสี่ยงชีวิตมากที่สุด โดยอาจได้รับบาดเจ็บ ถูกลักพาตัว หรืออาจต้องเสียชีวิตในระหว่างการปฎิบัติหน้าทื่ กฎหมายมนุษยธรรมกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้อย่างไร และอะไรคือบทบาทหน้าที่ของผู้สื่อข่าวในพื้นที่สงคราม? กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศให้ความคุ้มครองผู้สื่อข่าวอย่างไร กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (IHL) เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการระบุสิทธิ หน้าที่ และความคุ้มครองในระหว่างการขัดกันทางอาวุธหรือสงคราม บุคลากรสื่อหรือนักข่าวส่วนใหญ่ไม่ได้มีสถานะพิเศษตามกฎหมายแต่ได้รับการคุ้มครองในฐานะพลเรือนที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องทางการสู้รบ กฎหมาย IHL ให้ความคุ้มครอง แต่ไม่ได้รับรองในเรื่องสิทธิเสรีภาพของสื่อในการรายงานหรือเข้าเข้าถึงพื้นที่สู้รบโดยไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐ ผู้สื่อข่าวสงคราม ...
วันผู้สูญหายสากล ความหวังของคนที่อยู่ข้างหลัง

วันผู้สูญหายสากล ความหวังของคนที่อยู่ข้างหลัง

, บทความ / บล็อค

“ฉันตื่นขึ้นกลางดึกใต้ต้นมะม่วง ได้แต่ร้องไห้ซ้ำแล้วซ้ำอีก” “เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นพ้นขอบฟ้า ฉันจึงกลับเข้าบ้านอีกครั้ง” “ฉันใช้ชีวิตซ้ำๆ เช่นนี้เป็นวลา 2 ปี” “หลายคนสงสัย ฉันไปนอนทำไมใต้ต้นมะม่วง” “ทุกๆ คืน ฉันได้แต่ภาวนา ‘พระเจ้า ถ้าลูกชายของลูกยังมีชีวิตอยู่ ขอให้ลูกมะม่วงตกลงมา ลูกจะได้รู้ว่าตัวเองยังมีชีวิตอยู่เพื่ออะไร’” คลีเมนติน่า มูซ่า คุณแม่จากอเมริกาใต้ เล่าให้เราฟังถึงความหวังเล็กๆ ที่จะได้พบลูกชายหลังสูญหายไร้การติดต่อเป็นเวลากว่าสามสิบปี ทุกวันนี้ ...
ต่อให้ติด – ช่องว่างกรอบกฎหมายของการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและการขัดกันทางอาวุธ

ต่อให้ติด – ช่องว่างกรอบกฎหมายของการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและการขัดกันทางอาวุธ

, บทความ / บล็อค

บทความโดย เอกอัครราชทูต มาเรีย เลห์โท กระทรวงการต่างประเทศฟินแลนด์ ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการขัดกันทางอาวุธไม่ได้เป็นผลกระทบที่เกิดจากการกระทำของฝ่ายปรปักษ์เท่านั้น แต่ยังเกิดจากซากอาวุธสงครามที่เป็นพิษหรืออันตราย การขูดรีดเอาทรัพยากรทางธรรมชาติในพื้นที่ขัดแย้งมาใช้มากเกินไป กลยุทธ์การเอาชีวิตรอดที่ไม่ยั่งยืนที่ประชากรที่ได้รับผลกระทบต้องนำมาปฏิบัติใช้ หรือเกิดจากการล่มสลายของสถาบันต่าง ๆ ซึ่งคณะกรรมาธิการกฎหมายระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ (ILC) นอกจากจะจัดทำแนวทางปฏิบัติของ ICRC ที่เพิ่งเผยแพร่ไปเมื่อไม่นานมานี้ ยังได้ดำเนินงานเกี่ยวกับการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในบริบทที่มีการขัดกันทางอาวุธ อันเป็นการช่วยพัฒนาปรับปรุงแนวทางของกฎหมายระหว่างประเทศในการรับมือกับความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมในบริบทของสถานการณ์ความขัดแย้ง ในบทความนี้และในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของชุดบทความเรื่อง สงคราม กฎหมาย และสิ่งแวดล้อมของเรา ที่เผยแพร่ร่วมกับเว็บไซต์ ...
สุขสันต์วันเกิดอนุสัญญาเจนีวาปี 1949 อายุครบ 72 ปี

สุขสันต์วันเกิดอนุสัญญาเจนีวาปี 1949 อายุครบ 72 ปี

, บทความ / บล็อค

อนุสัญญาเจนีวาเป็นเหมือนคำมั่นสัญญาระหว่างประเทศที่มีสาระสำคัญเรื่องกฎเกณฑ์และการจำกัดขอบเขตความรุนแรงของสงคราม อนุสัญญาที่ว่าปกป้องคุ้มครองผู้ที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสู้รบ (เช่น พลเรือน, บุคลากรทางการแพทย์ และ กลุ่มผู้ทำงานเพื่อการช่วยเหลือต่าง ๆ) รวมถึงผู้ที่ไม่สามารถร่วมการสู้รบได้อีกต่อไป (เช่น ทหารผู้บาดเจ็บ เจ็บป่วย ทหารเรืออัปปาง และ เชลยสงคราม) . อนุสัญญาเจนีวามีจุดเริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 1864 ภายหลังมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและเพิ่มกฎเกณฑ์ใหม่ๆ เพื่อให้ครอบคลุมถึงสภาพความเป็นจริงของสงคราม โดยการปรับปรุงแก้ไขครั้งล่าสุดเกิดขึ้นในปี 1949 หลังสงครามโลกครั้งที่ ...