บล็อค

ICRC ทำอะไรในสงครามโลกครั้งที่สอง? : เกิดอะไรในระหว่างการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว

ICRC ทำอะไรในสงครามโลกครั้งที่สอง? : เกิดอะไรในระหว่างการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว

, บทความ / บล็อค

วันที่ 27 มกราคม เป็นวันครบรอบการปลดปล่อยเชลยศึกในค่ายกักกันอาชวิทซ์-เบียร์เคเนาโดยฝ่ายสัมพันธมิตร (Auschwitz-Birkenau 1943-1945) ในสายตาคนทั่วไป ค่ายกักกันนาซีเป็นหลักฐานความโหดร้ายของสงครามโลกครั้งที่ 2 และอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ สำหรับผู้ต้องขังและครอบครัว สิ่งนี้เป็นรอยแผลที่เน้นย้ำความเกลียดชังของมนุษย์ต่อสิ่งที่พวกเขาไม่เข้าใจ แต่สำหรับ ICRC เหตุการณ์นี้คือความผิดพลาดยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์การปฎิบัติงานด้านมนุษยธรรมที่ เปลี่ยนแปลงไม่ได้ และ ไม่อาจปฏิเสธได้ เป็นที่ทราบกันดีว่าชาวยิวประสบเคราะห์กรรมอย่างหนักใต้การปกครองของฮิตเลอร์ การริดรอนสิทธิและการเข้ายึดทรัพย์สิน เป็นเรื่องปกติที่พบเจอกันทุกวัน ชาวยิวถูกบังคับให้อาศัยรวมกันใน ghetto ...
มรดกของนักตกปลาในเบียร์ดากค์, ยูเครน

มรดกของนักตกปลาในเบียร์ดากค์, ยูเครน

, บทความ / บล็อค / เรื่องเล่าจากภาคสนาม

แต่ไหนแต่ไรมาใครๆ ก็พากันอิจฉาชาวบ้านที่อาศัยริมชายฝั่งทะเลอะซอฟ เพราะนอกจากจะมีความอุสมสมบูรณ์ จับปลาได้มาก หมู่บ้านชายทะเลยังเป็นที่หมายปองจากนักท่องเที่ยวจากเมืองใหญ่ ยกตัวอย่างเช่นหมู่บ้านเบียร์ดากค์ทางตอนใต้ของประเทศยูเครน ที่นี่ ประชากรทั้งหมู่บ้านประกอบอาชีพชาวประมง ช่วงฤดูใบไม้ผลิและใบไม้ร่วงเป็นช่วงเวลาที่ดีในการออกเรือหาปลา และเมื่อฤดูร้อนมาถึงชาวเมืองจะเปิดบ้านต้อนรับนักท่องเที่ยวเพื่อเป็นรายได้เสริม ชีวิตของชาวประมงในเบียร์ดากค์สวยงามเหมือนฝัน กระทั้งสงครามมาถึง… หมุนเวลามาปัจจุบัน ชายหาดที่เคยเต็มไปด้วยนักท่องเที่ยว ถูกแทนที่ด้วยความว่างเปล่าที่มาพร้อมสัญลักษณ์ประหลาดตา ...
หนทางสู่การกำกับดูแลอาวุธรูปแบบใหม่ – ข้อท้าทายว่าด้วยกลไกที่ใช้กำกับดูแลอาวุธในยุคปัจจุบัน

หนทางสู่การกำกับดูแลอาวุธรูปแบบใหม่ – ข้อท้าทายว่าด้วยกลไกที่ใช้กำกับดูแลอาวุธในยุคปัจจุบัน

, บทความ / บล็อค

การลดอาวุธในกรอบพหุภาคีนั้นเกิดขึ้นภายใต้ข้อจำกัดหลายประการ สาเหตุก็เนื่องมาจากต้องดำเนินการอยู่ภายใต้แบบแผนในการจัดการที่ยุ่งยากมากเกินไป ไม่มีความยืดหยุ่น และล่าช้าต่อการดำเนินงาน การเจรจาลดอาวุธภายใต้กรอบอนุสัญญาว่าด้วยการห้ามใช้อาวุธตามแบบบางชนิด (Convention on Certain Conventional Weapons: CCW) เป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า กรอบการประชุมหลายฝ่ายเพื่อดำเนินการลดอาวุธนั้นไม่สามารถตอบสนองต่อรูปแบบการพัฒนาเทคโนโลยีทางอาวุธที่รุดหน้าไปอย่างรวดเร็วได้ ดังจะเห็นได้จากความพยายามในการประเมินอาวุธสมัยใหม่อย่างระบบอาวุธสังหารอัตโนมัติ (lethal autonomous weapon systems: LAWS) หรือหุ่นยนต์สังหาร ถูกนำไปเชื่อมโยงกับข้อถกเถียงในเชิงปรัชญา ทำให้ยากที่จะหาข้อสรุปและแปลความได้ อีกทั้งยังมีขั้นตอนในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ...
ICRC ทำอะไรในสงครามโลกครั้งที่สอง? : ฟรีดริช บอน ผู้ช่วยเหลือชาวยิวหลายพันในฮังการี

ICRC ทำอะไรในสงครามโลกครั้งที่สอง? : ฟรีดริช บอน ผู้ช่วยเหลือชาวยิวหลายพันในฮังการี

, บทความ / บล็อค

หลายคนอาจคุ้นชื่อออสการ์ ชินด์เลอร์ (Oskar Schindler) อดีตสมาชิกพรรคนาซีและเจ้าของโรงงานที่เอ่ยปากขอตัวนักโทษชาวยิวมาทำงานจนสามารถช่วยคนหลายพันจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในโปแลนด์ วีรกรรมของชินด์เลอร์ ถูกยกย่องจากคนทั่วโลกและกลายเป็นแรงบันดาลใจให้ภาพยนต์ในตำนาน ‘Schindler’s List (1993)’ ในระหว่างที่ชิลด์เลอร์กำลังทำหน้าที่ของเขาในโปแลนด์ ทราบหรือไม่ว่าในฮังการี มีชายอีกคนที่พยายามอย่างสุดความสามารถ เพื่อรักษาชีวิตชาวยิวหลายพันในกรุงบูดาเปสต์ ย้อนกลับไปในเดือนกรกฎาคม 1944 ฟรีดริช บอน (Friedrich Born) ผู้แทนของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (International Committee ...
‘สถานะ’ และ ‘การคุ้มครอง’ : องค์กรมนุษยธรรมมองเรื่อง ‘ผู้ลี้ภัย’ ไว้อย่างไร

‘สถานะ’ และ ‘การคุ้มครอง’ : องค์กรมนุษยธรรมมองเรื่อง ‘ผู้ลี้ภัย’ ไว้อย่างไร

, บทความ / บล็อค

การเดินทางจากบ้านมีได้หลายเหตุผล การที่ใครสักคนจะได้รับการต้อนรับหรือดูแลมากแค่ไหน บางครั้งก็ขึ้นอยู่กับเหตุผลของการเดินทาง ที่จะบอกว่าผู้อพยพท่านนี้ควรได้รับสถานะ (status) หรือ การคุ้มครอง (protection) แบบใด แต่ไม่ว่าจะหลบหนีจากสงครามหรือเดินทางหางานสร้างอนาคต ไม่ว่าจะถูกบังคับให้เคลื่อนย้ายหรือเต็มใจออกจากบ้าน สิ่งที่ผู้คนเหล่านี้ต้องเผชิญไม่ต่างกัน คืออุปสรรค์ที่มักเกิดขึ้นระหว่างทาง นายปีเตอร์ เมาเรอร์ ประธานคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) กล่าวถึงประสบการณ์ความยากลำบากที่ผู้คนเหล่านี้ต้องเผชิญไว้ว่า: ‘เมื่อตัดสินใจออกเดินทาง ผู้อพยพและประชากรพลัดถิ่นต้องเผชิญโจทย์ยากตั้งแต่ก้าวแรก บนเส้นทางมีความไม่แน่นอน หลายชีวิตไม่สามารถไปถึงจุดหมายได้อย่างปลอดภัย หรือต่อให้ไปถึง ...
เปิดประตูกว้าง หรือ สร้างกำแพง? เมื่อผู้ลี้ภัยไม่ใช่ ‘ผู้เสียหาย’ แต่กลายเป็น ‘อันตราย’

เปิดประตูกว้าง หรือ สร้างกำแพง? เมื่อผู้ลี้ภัยไม่ใช่ ‘ผู้เสียหาย’ แต่กลายเป็น ‘อันตราย’

, บทความ / บล็อค

ในโลกทุกวันนี้ปัญหาเรื่องผู้ลี้ภัยกลายเป็นเรื่องใหญ่ในระดับนานาชาติ ไม่ใช่แค่การลี้ภัยจากสงครามหรือความขัดแย้ง แต่ยังรวมไปถึงกลุ่มแรงงานต่างชาติที่เดินทางออกจากบ้านเกิดเพราะปัญหาด้านเศรฐกิจ หลายคนอพยพจากภูมิลำเนาเพราะขาดโอกาสทางการศึกษา ไม่มีงานทำ หรือไม่สามารถเข้าถึงบริการทางสุขภาพขั้นพื้นฐาน ความคิดเรื่อง ‘เอลโดราโด (El Dorados)’ มีอยู่ทุกสมัย และไม่ใช่ความผิดที่หลายคนฝันถึงชีวิตที่ดีกว่าในมหานครใหญ่อย่าง นิวยอร์ก หรือ ลอนดอน ในช่วงทศวรรษที่ 1990s มีคลื่นผู้อพยพจากอิตาลี โปแลนด์ และ ไอร์แลนด์ ถาโถมเข้าสู่สหรัฐฯ เพื่อขานรับความฝันเรื่อง ...
คำว่า ‘ผู้ลี้ภัย’ มาจากไหน? ประวัติศาสตร์การลี้ภัยที่ย้อนไปไกลกว่าที่คิด

คำว่า ‘ผู้ลี้ภัย’ มาจากไหน? ประวัติศาสตร์การลี้ภัยที่ย้อนไปไกลกว่าที่คิด

, บทความ / บล็อค

ประวัติศาสตร์โลกเต็มไปด้วยเรื่องราวของการพลัดถิ่น จะด้วยเหตุผลทางการเมือง สงคราม หรือศาสนา ปฎิเสธไม่ได้ว่าโลกที่เราเห็นและเป็นอยู่ทุกวันนี้ เกิดขึ้นจากการแต่งแต้มสีสันของผู้คนจากหลายวัฒนธรรมที่พบปะสังสรรค์ผ่านการย้ายถิ่นฐานมายาวนานหลายศตวรรษ   แนวความคิดเรื่องผู้ลี้ภัยเริ่มตั้งแต่เมื่อไหร่? ความคิดที่ว่า มนุษย์เราควรให้ความช่วยเหลือแก่เหยื่อหรือผู้ที่กำลังอยู่ในอันตรายสามารถสืบย้อนกลับไปได้ไกลตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ  ในสมัยนั้น มีการพูดเรื่องสิทธิในการมอบที่ลี้ภัย (asylum) แก่ผู้เดือดร้อน แนวคิดนี้ถูกใช้ต่อมาโดยชาวโรมัน ก่อนชาวคริสต์ ชาวฮีบรู และชาวอิสลาม จะนำแนวคิดนี้มาบรรจุในวัฒนธรรมของตน จนเกิดเป็นเรื่องเล่าในศาสนาอย่างการอพยพของโมเสสที่พาชาวฮีบรูออกจากการเป็นทาสของชาวอียิปต์ไปยังแผ่นดินแห่งพันธสัญญา หรือเรื่องราวการเดินทางของนบีมุฮัมมัดและผู้ติดตามจากเมกกะไปยังเมดินะในวัฒนธรรมอิสลาม แนวคิดนี้ถูกนำมาบัญญัติแบบเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกโดย Hugo ...
เมื่อผู้ช่วยชีวิตตกเป็นเป้าหมาย กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศกล่าวถึงความรุนแรงทางการแพทย์ไว้อย่างไร?

เมื่อผู้ช่วยชีวิตตกเป็นเป้าหมาย กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศกล่าวถึงความรุนแรงทางการแพทย์ไว้อย่างไร?

, บทความ / บล็อค

ข่าวการเสียชีวิตของนักปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์ในกาซ่า นำมาซึ่งคำถามใหญ่เกี่ยวกับความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ในพื้นที่ขัดแย้ง หากมองย้อนกลับไป ปัญหาความรุนแรงต่อบุคลากรทางการแพทย์ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะเป็นประเด็นที่ ICRC ให้ความสนใจและพยายามผลักดันมาตลอด แม้ความปลอดภัยของผู้ปฎิบัติงานด้านการแพทย์จะได้รับการคุ้มครองตามหลักกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (international humanitarian law – IHL) แต่ที่ผ่านมาบุคลากรที่ดูแลสุขอนามัยในพื้นที่ขัดแย้งกลับต้องเผชิญกับภาวะท้าทายมากมาย ไม่ว่าจะเป็นความท้าทายทางวิชาชีพ หรืออันตรายต่อชีวิตของตัวผู้ปฎิบัติงาน ในปี พ.ศ. 2551 กระทรวงสาธารณสุขของประเทศอิรักประเมินว่าบุคลากรทางการแพทย์มากกว่า 625 คนถูกสังหารตั้งแต่ปี พ.ศ. ...
ยะไข่: การเดินทางกลับต้องเป็นไปอย่างปลอดภัย สมัครใจ และมีศักดิ์ศรี

ยะไข่: การเดินทางกลับต้องเป็นไปอย่างปลอดภัย สมัครใจ และมีศักดิ์ศรี

, E-Book / บล็อค

สุนทรพจน์โดยนายปีเตอร์ เมาเรอร์ ประธานคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศเรื่องสถานการณ์ในรัฐยะไข่ วันที่ 2 มิถุนายน 2561ณ โรงแรมโรงแรมแชงกรี-ล่า ประเทศ สิงคโปร์ ข้าพเจ้ารู้สึกเป็นเกียรติที่ได้มีโอกาสนำมุมมองด้านมนุษยธรรมมาร่วมอภิปรายกับทุกท่านในที่นี้ ขอบคุณสถาบัน International Institute for Strategic Studies (IISS) ที่อนุญาตให้ ICRC ได้เข้าร่วมการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดกับผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงจากหลายประเทศซึ่งต่างก็มีความกังวลต่อสถานการณ์ในรัฐยะไข่ประเทศเมียนมา – มันเป็นเรื่องสำคัญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ...
Ushindi อดีตทหารเด็กบทเส้นทางแห่งการเยียวยา

Ushindi อดีตทหารเด็กบทเส้นทางแห่งการเยียวยา

, บทความ / บล็อค / เรื่องเล่าจากภาคสนาม

ทุกวันนี้ยังมีเด็กอีกมากในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (the Democratic Republic of the Congo (DRC)) ถูกบังคับให้เป็นทหารและต้องจับอาวุธมาเข่นฆ่ากันเอง ตามรายงานของ UNICEF มีเด็กอีกกว่า 3,000 คน โดยเฉพาะทางภาคตะวันออกและภาคกลางของประเทศ ...