บล็อค

*SPOILERS* มังกรเป็นอาวุธที่เกินกว่าเหตุหรือไม่? อะไรทำให้ #แม่มังกร เป็นอาชญากรสงครามเบอร์หนึ่งประจำสัปดาห์ #GoT #GoTIHL

*SPOILERS* มังกรเป็นอาวุธที่เกินกว่าเหตุหรือไม่? อะไรทำให้ #แม่มังกร เป็นอาชญากรสงครามเบอร์หนึ่งประจำสัปดาห์ #GoT #GoTIHL

, บทความ / บล็อค

หลังคิงส์แลนดิ้งโดนเผาจนค่าฝุ่นน่าจะแซงหน้าจังหวัดเชียงใหม่ คงไม่มีใครปฎิเสธได้ว่าราชินีแดนี่ กลายเป็นผู้ละเมิดกฎแห่งสงครามที่สร้างความสะเทือนใจให้ใครหลายคนจนยากจะกู้กลับ ในมุมมองกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (International Humanitarian Law – IHL) การใช้มังกรถล่มเมืองถูกอธิบายไว้อย่าไร และแม่มังกรทำผิดกฎสงครามข้อไหนอีก? 1. มังกรเทียบเท่าอาวุธสงคราม – ในช่วงแรกของการต่อสู้ การใช้มังกรของแดนี่ถือว่าไม่ผิดกฎหมายมนุษยธรรม จริงอยู่ว่ามังกรดูจะเป็นอาวุธที่เกินกว่าเหตุ เพราะสร้างความเจ็บปวดทรมารให้ฝ่ายตรงข้ามจากการถูกเผาทั้งเป็น มังกรยังถูกมองเปรียบเทียบกับอาวุธสังหารอัตโนมัติ (killer robots หรือ lethal ...
*SPOILERS* ฆาตกรรม จับตัว โล่มนุษย์ รางวัลละเมิดกฎแห่งสงครามประจำสัปดาห์ตกเป็นของ #ควีนเซอร์ซี่ !!! #GoT #GoTIHL

*SPOILERS* ฆาตกรรม จับตัว โล่มนุษย์ รางวัลละเมิดกฎแห่งสงครามประจำสัปดาห์ตกเป็นของ #ควีนเซอร์ซี่ !!! #GoT #GoTIHL

, บทความ / บล็อค

นอกจากจะสวมมงกุฎราชินีแห่ง 7 อาณาจักร เซอร์ซี แลนนิสเตอร์ ยังเป็นตัวละครที่ทำผิดกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (International Humanitarian Law – IHL) มากที่สุดประจำสัปดาห์ ควีนของเราทำผิดอะไรบ้าง ใคอร์ซี่บอกออกสื่อว่า ต้องการให้ประชาชนปลอดภัย ฟังดูดีแต่มีเจตนาแฝง เพราะเธอพูดเองในภายหลัง อยากใช้ประชาชนเป็นโล่มนุษย์ป้องกันการโจมตีของฝ่ายตรงข้าม การนำพลเรือนมาเป็นโล่กำบังในยามสงคราม ถือว่าละเมิดกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ 2. จับตัวประกันและฆาตกรรม – ...
จริงหรือไม่ที่การควบคุมอาวุธจากเทคโนโลยียุคใหม่ เป็นเรื่องฟุ่มเฟือยเกินไปในยามสันติ: สงครามโลกครั้งที่หนึ่งให้บทเรียนอะไรในประเด็นนี้

จริงหรือไม่ที่การควบคุมอาวุธจากเทคโนโลยียุคใหม่ เป็นเรื่องฟุ่มเฟือยเกินไปในยามสันติ: สงครามโลกครั้งที่หนึ่งให้บทเรียนอะไรในประเด็นนี้

, บทความ / บล็อค

ในช่วงต้นศตวรรษที่ยี่สิบเอ็ด บรรดาวิศวกรผู้เปี่ยมด้วยจิตนาการจากประเทศฝรั่งเศสตลอดจนสหรัฐอเมริกา ต่างมุ่งหวังให้สิ่งประดิษฐ์ของตนเป็นเครื่องมือยับยั้งการก่อสงคราม ยับยังความสูญเสียมหาศาลที่อาจจะตามมาในภายหลัง อย่างไรก็ดี ตลอดช่วงระยะเวลาสี่ปีในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ความมุ่งหวังดังกล่าวกลับไม่เป็นดั่งใจเมื่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถูกนำมาประยุกต์ใช้ในปฏิบัติการณ์ทางทหาร การคิดค้นพัฒนาอาวุธร้ายแรง ตลอดจนความเคลือบแคลงว่ต่อประเทศต่างๆ ว่าจะสามารถยืนหยัดในคุณค่าและหลักการของประเทศตนในยามรบกลายเป็นบทเรียนใหญ่ที่โลกทั้งใบต่างได้รับ จริงหรือไม่ที่สงครามโลกครั้งที่หนึ่งแสดงให้เห็นว่าหลักศีลธรรม รวมถึงหลักการตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศ (อนุสัญญากรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ค.ศ.​1868 หรืออนุสัญญากรุงเฮก ค.ศ. 1899 และ 1907) ที่นำมาใช้เป็นเหตุผลในการต่อต้านการใช้อาวุธที่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ถูกมองข้ามในยามที่ประเทศต้องเผชิญภาวะวิกฤต ค.ศ.1914-1918 กับการนำทฤษฎีความสัมพันธ์มาใช้อธิบายปรากฏการณ์ที่อาวุธชนิดใหม่กลายเป็นที่ยอมรับในสังคม ...
Jean-Pictet Competition เมื่อการแข่งขันให้มากกว่าความรู้ทางกฎหมาย

Jean-Pictet Competition เมื่อการแข่งขันให้มากกว่าความรู้ทางกฎหมาย

, บทความ / บล็อค

“Taking the law out of the books” คือประโยคสั้นๆ อธิบายการแข่งขันด้านกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศของ ICRC ที่เรียกกันในชื่อภาษาอังกฤษว่า Jean-Pictet Competition งานที่ว่าจัดขึ้นทุกปีเพื่อเป็นเวทีสำหรับนักเรียนกฎหมายรุ่นใหม่ ให้ได้ลองใช้ความรู้ด้านกฎหมาย ในการว่าความร่วมกับผู้เข้าแข่งขันในระดับนานาชาติ สิริกมล สุรทิณฑ์ (แป้ง), สาริสา ทีฆตระกูล (แอ๊นท์) และ ...
มองในมุมกฎหมาย ใครคืออาชญากรสงครามตัวร้ายที่สุดจาก Game of Thrones?

มองในมุมกฎหมาย ใครคืออาชญากรสงครามตัวร้ายที่สุดจาก Game of Thrones?

, บทความ / บล็อค

ฟังดูน่าอิจฉา เพื่อนร่วมงานของเราจากกาชาดออสเตรเลีย ใช้เวลาร่วม 6 สัปดาห์ในการดูย้อนหลังซีรีย์ดัง Game of Thrones เพื่อหาคำตอบว่าใครคือวายร้ายตัวใหญ่ที่ละเมิดกฎแห่งสงคราม (International humanitarian war -IHL) มากที่สุดในเรื่อง และหากเหล่าผู้นำจากเวสเทอรอสต้องตบเท้าขึ้นศาลพิจารณาคดีแบบในปัจจุบัน ใครกันจะติดดาวเป็นอาชญากรสงครามอันดับหนึ่ง? หลังผ่านการพิจารณาเหตุการณ์จาก 7 ซีซั่น ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายได้ช่วยกันตัดสินคดี จนมีผลออกมาอย่างที่เห็น แรมซีย์ โบลตัน จอมโฉดแห่งเวสเทอรอส  ...
เด็กชาย ความฝัน และกับระเบิด

เด็กชาย ความฝัน และกับระเบิด

, บทความ / บล็อค

ลา ซาน มีความฝันไม่ต่างจากเด็กอีกหลายพันในเมียนมา เขาอยากเรียนให้สูง หารายได้เพื่อดูแลครอบครัว และตั้งใจไว้ว่าหลังสอบรอบนี้ จะจัดทริปเล็กๆ ไปเยี่ยมญาติในประเทศจีน   เพื่อหาเงินมาเป็นค่าเดินทาง ลา ซานเริ่มอาชีพเสริม เข้าป่าเพื่อมองหาหน่อไม้มาขายในหมู่บ้าน   ‘วันนั้นผมเดินกลับบ้านเหมือนทุกครั้ง แต่สิ่งที่เกิดขึ้น เปลี่ยนชีวิตผมไปตลอดกาล’   ลา ซาน ย้อนให้ฟังถึงเหตุการณ์ในเดือนกุมภาพันธ์ 2017 เมื่อเขาเหยียบกับระเบิดระหว่างทาง ...
เป็นตัวเองให้แกร่งกว่าเดิม: 3 เรื่องเล่าอุ่นหัวใจเนื่องในวันสตรีสากล

เป็นตัวเองให้แกร่งกว่าเดิม: 3 เรื่องเล่าอุ่นหัวใจเนื่องในวันสตรีสากล

, บทความ / บล็อค

“เราเริ่มจากการเป็นแม่บ้าน ทำงานสองครั้งต่อสัปดาห์ ตอนนั้นภาษาอังกฤษไม่ได้เลย แค่กล่าวคำทักทายยังฟังไม่เข้าใจ แต่เราคิดว่าภาษาอังกฤษเป็นเรื่องจำเป็น เพราะเราทำงานในองค์กรที่มีคนหลายเชื้อชาติ หลายภาษา บางทีออฟฟิศไม่มีคนอยู่ แต่มีสายโทรเข้ามา เราก็ต้องรับโทรศัพท์ และถ้าคนที่ติดต่อมาเขาเดือดร้อนอยู่ แต่เราพูดกับเขาไม่ได้ คงทำให้เขาเสียโอกาส “ตอนเริ่มเรียนภาษาอังกฤษ แค่นิทานสั้นๆ คนในคลาสเขาหัวเราะสนุกกัน แต่เราฟังไม่เข้าใจ เราเลยคิดว่า ต้องพยายามมากกว่าคนอื่น เราฟัง YouTube ดูทีวี ฟังวิทยุเป็นภาษาอังกฤษ ...
สารพันปัญหาว่าด้วยระเบิดปรมาณู: ถาม-ตอบ ข้อข้องใจด้านสุขภาพกับคุณหมอประจำโรงพยาบาลระเบิดปรมาณูแห่งนางาซากิ

สารพันปัญหาว่าด้วยระเบิดปรมาณู: ถาม-ตอบ ข้อข้องใจด้านสุขภาพกับคุณหมอประจำโรงพยาบาลระเบิดปรมาณูแห่งนางาซากิ

, บทความ / บล็อค / เรื่องเล่าจากภาคสนาม

ระเบิดปรมาณูมีผลข้างเคียงด้านสุขภาพจริงหรือไม่? ไขข้อข้องใจกับด็อกเตอร์มาซาโอะ โทโมนากะ ผู้อำนวยการกิตติมศักดิ์โรงพยาบาลระเบิดปรมาณูแห่งนางาซากิ สภากาชาดญี่ปุ่น ถาม: ผู้รอดชีวิตจากระเบิดปรมาณูต้องเจอผลกระทบทางสุขภาพอย่างไรบ้าง? ตอบ: ผลกระบทหลักของสารกัมมันตรังสีคือโรคลูคีเมีย (มะเร็งเม็ดเลือดขาว), มะเร็ง และโรคหัวใจ บางคนอาจมีอาการหลายอย่างทับซ้อนกัน สำหรับคนที่โดนระเบิดโดยตรง บางคนตาบอดเพราะจ้องมองการระเบิด ...
‘ตอนพบกันครั้งสุดท้าย เธอแค่มีไข้’ – บันทึกใจสลายในพื้นที่แพร่ระบาดของเชื้ออีโบล่า

‘ตอนพบกันครั้งสุดท้าย เธอแค่มีไข้’ – บันทึกใจสลายในพื้นที่แพร่ระบาดของเชื้ออีโบล่า

, บทความ / บล็อค

เสียงร้องของซาวาดีทำฉันใจสลาย ในทุกๆ ลมหายใจเหมือนเธอกำลังต่อสู้ด้วยพลังเฮือกสุดท้ายเพื่อยื้อชีวิตไว้ได้นานที่สุด ร่างมนุษย์ในชุดพลาสติกสีเหลืองขาวเพิ่งมาถึง พวกเขามาพร้อมถุงพลาสติกอีกใบ สำหรับใส่ร่างที่กำลังหมดลมของซาวาดี – แม่ของลูกๆ พี่สาวผู้เป็นที่รัก และคุณป้าของหลานๆ อีกมากมาย ฉันอยู่ในศูนย์รักษาอีโบล่าในคองโก ทุกอย่างสะอาด ผ่านการล้างด้วยคลอรีน เหมือนว่าทุกอย่างจากข้างนอกจะถูกชำระล้างก่อนก้าวเข้ามา ทุกอย่าง ยกเว้นความเจ็บปวด หนึ่งในร่างชุดเหลืองขาวเปิดถุงบรรจุศพเพื่อมองหน้าบุคคลอันเป็นที่รักอีกครั้ง ตอนนั้นเองที่ความอดทนพังทลาย เสียงร้องไห้กระหึ่มดัง น้ำตาไหลนองหน้าเหมือนเขื่อนที่ถูกทลาย พวกเราออกจากห้องเพื่อให้เวลาครอบครัวของซาวาดีบอกลาเธออีกครั้ง เพื่อนร่วมงานหันมาพูดกับฉัน ...
ร่องรอยดิจิตอลขององค์กรมนุษยธรรมทำให้ผู้คนตกอยู่ในความเสี่ยงได้อย่างไร?

ร่องรอยดิจิตอลขององค์กรมนุษยธรรมทำให้ผู้คนตกอยู่ในความเสี่ยงได้อย่างไร?

, บทความ / บล็อค

ข้อความโทรศัพท์ ข้อมูลการโทรติดต่อ ข้อความบนสื่อสังคมออนไลน์ หรือรายการโอนเงิน แม้ว่าข้อมูลเหล่านี้จะได้รับการเข้ารหัสไว้ ก็ยังสามารถบ่งบอกสิ่งต่าง ๆ เกี่ยวกับตัวคุณได้มากมาย หากในยามสันติข้อมูลดังกล่าวยังมีความเสี่ยง แล้วในยามสงครามความเสี่ยงของข้อมูลเหล่านี้จะเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด สมมติฐานดังกล่าวจึงเป็นที่มาของรายงานเรื่องปัญหาของข้อมูลเมทาดาทา (metadata) ในการให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรม: “ห้ามก่อภยันตราย” ในยุคดิจิตอล (The humanitarian metadata problem: ‘Doing no harm’ in ...