ความรุนแรงทางเพศมักเป็นผลกระทบจากสถานการณ์ฉุกเฉินต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ความรุนแรง ภัยธรรมชาติ หรือแม้แต่ภาวะโรคระบาดอย่างโควิด-19 ในภาวะเหล่านี้ นอกจากผู้ได้รับผลกระทบจะต้องเผชิญกับความยากลำบากทางมนุษยธรรมไม่ว่าจะเป็นเรื่องน้ำ อาหาร ยารักษาโรค ความปลอดภัยหรือแม้แต่ปัญหาเรื่องเศรฐกิจและรายได้ อีกหนึ่งประเด็นที่มักเกิดขึ้นตามมาคือปัญหาด้านครอบครัวและสังคมอย่างการใช้กำลัง การถูกทอดทิ้ง การเอารัดเอาเปรียบทางเพศ การเลือกปฎิบัติ และการทารุณกรรม
ข่าวร้อนจากทั่วโลกเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าภาวะโรคระบาดไม่เพียงเพิ่มความเสี่ยง แต่ยังเป็นต้นเหตุให้การคุกคามทางเพศ และความรุนแรงทางเพศเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ จากประเทศจีนไปจนถึงสหราชอาณาจักรรวมไปถึงประเทศอื่นๆ ระหว่างทาง มีรายงานว่าสายด่วนเพื่อให้ความช่วยเหลือเรื่องความรุนแรงในบ้านต้องรับเคสกันหนักขึ้นถึง 60-700%
ในแอฟริกาใต้ ประธานาธิบดีถึงขั้นกล่าวว่า “ตั้งแต่ประเทศเราเข้าสู่ช่วง lockdown ระดับ 3 เมื่อวันที่ 1 มิถุนายนที่ผ่านมา คดีการสังหารผู้หญิง (femicide) ก็เพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ” ในแคนาดา เครือข่ายความปลอดภัยในบ้านและบ้านพักสำหรับให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบ 550 หลัง ต้องรองรับผู้คนจำนวนมากในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมงหลังการประกาศ lockdown
ในวันที่ 19 มิถุนายนของทุกปี เป็นวันขจัดความรุนแรงทางเพศในความขัดแย้งสากล (International Day Elimination of Sexual Violence in Conflict Day) มันเป็นเรื่องสำคัญที่เราควรมองให้ลึกถึงความเกี่ยวข้องและผลกระทบด้านความรุนแรงทางเพศที่เพิ่มขึ้นในพื้นที่ขัดแย้ง อันเนื่องมาจากภาวะการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับปัญหาวิกฤตทางสุขภาพที่ทั้งโลกกำลังเผชิญ
เมื่อการขาดข้อมูลสะท้อนให้รู้ถึงปริมาณ
แม้ว่าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ระบาดของโรคร้ายและการเพิ่มขึ้นของกรณีความรุนแรงทางการแพทย์จะเป็นเรื่องหายาก แต่ความ ‘ขาด’ ข้อมูลดังกล่าวไม่ได้แปลว่าสองสิ่งนี้ไม่มีความเกี่ยวพันธ์กันเสมอไป เป็นไปได้ว่าผู้เสียหายและผู้รอดชีวิต อาจะไม่ได้มองหาความช่วยเหลือหรือไม่สามารถเข้าถึงความช่วยเหลือได้ ซึ่งเป็นเรื่องน่าเป็นห่วง
เรา ในฐานะผู้ให้ความช่วยเหลือต้องทำให้แน่ใจว่าการเก็บข้อมูลไม่เป็นการเพิ่มความเสียงของตัวบุคคล แต่ในทางตรงกันข้าม ข้อมูลเหล่านั้นจะต้องถูกใช้เพื่อสะท้อนภาพใหญ่ของปัญหาและเสนอวิธีแก้ไขโดยไม่ทำให้ตัวตนของผู้เป็นเหยื่อถูกเปิดเผย
ในสถานการณ์ด้านมนุษยธรรม แม้ความเสี่ยงเรื่องความรุนแรงทางเพศจะเพิ่มขึ้น แต่ความช่วยเหลือในเรื่องดังกล่าวกลับไม่สามารถเข้าถึงได้โดยง่าย โดยเฉพาะในพื้นที่ความขัดแย้งที่ต้องแบ่งทรัพยากรบุคคลและทุนทรัพย์เพื่อกำกับดูแลการแพร่ระบาดของโควิด-19 ตัวอย่างที่น่าสนใจคือบรรดาผู้ตกเป็นเหยื่ออาจรู้สึกไม่สบายใจที่จะเดินทางไปคลินิกหรือโรงพยาบาลเพราะกลัวว่าตัวเองจะตกอยู่ในความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 ความลังเลที่เกิดขึ้นอาจทำให้ผู้เสียหายมาเข้าแจ้งเรื่องช้ากว่า 72 ชั่วโมงหลังเกิดเหตุ
นอกจากความยากลำบากทางการแพทย์ การจัดการข้อมูลก็ยังเป็นอีกประเด็นที่เป็นปัญหา เมื่อทรัพยากรบุคคลไม่เพียงพอทำให้การรับแจ้งเคสหรือการบันทึกทางสถิติขาดความแม่นยำตามไปด้วย เมื่อเรามองดูตัวเลขเคสที่ได้รับการบันทึก พึงตระหนักไว้เสมอว่าตัวเลขเหล่านั้นอาจไม่ได้สะท้อนความจริงเสมอไป เรื่องนี้ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานในปัจจุบัน แต่จะกระทบการวางแผนเพื่อตั้งรับผลกระทบจากสถานการณ์เหล่านี้ที่อาจทวีความรุนแรงขึ้นในอนาคต
แม้ในขณะนี้ เราจะไม่มีตัวแลขยืนยันการเพิ่มขึ้นของเคสความรุนแรงทางเพศในพื้นที่ขัดแย้ง แต่เราอาจประมาณได้ว่าจำนวนเคสเหล่านี้น่าจะมีไม่น้อยไปกว่าช่วงก่อนโควิด-19 เพื่อเตรียมการวางแผนป้องกันสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เป็นที่รู้กันว่าความรุนแรงทางเพศมักเพิ่มขึ้นในสถานการณ์ฉุกเฉินซึ่งภาวะโรคระบาดเอง ก็เป็นหนึ่งในนั้น การให้ความช่วยเหลือผู้ตกเป็นเหยื่อและการเพิ่มมาตรการเพื่อป้องกันจะต้องดำเนินไปพร้อมๆ กันอย่างต่อเนื่อง พวกเราติดค้างผู้หญิง ผู้ชาย เด็กชาย และเด็กหญิงทุกคนที่รอดชีวตหรือกำลังตกอยู่ในความเสี่ยงของสถานการณ์ความรุนแรงทางเพศ
Reference: แปลและเรียบเรียงจากบทความ: COVID-19, conflict and sexual violence: reversing the burden of proof