นายอันโตนิโอ กูแตร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ และนายปีเตอร์ เมาเรอ ประธาน ICRC ออกแถลงการร่วมกันว่าด้วยการใช้อาวุธระเบิดในพื้นที่อยู่อาศัย
เมือง Idlib ของซีเรีย และ เมือง Tripoli ของลิเบีย กำลังเผชิญการทิ้งระเบิด การกราดยิง และการโจมตีอย่างรุนแรงที่กำลังจะเปลี่ยนภาพเมืองที่เคยสดใส ให้กลายเป็นซากปรักหักพังแบบเดียวกับ Mosul, Aleppo, Raqqa, Taiz, Donetsk, Fallujah and Sana’a
แม้ว่าชื่อเมืองเหล่านี้จะไม่มีปรากฎบ่อยครั้งบนหน้าหนังสือพิมพ์ แต่เบื้องหลังตัวอักษร มีประชากรกว่า 50 ล้าน ที่กำลังทุกข์ทรมารจากความสูญเสียซึ่งเป็นผลกระทบโดยตรงจากสงคราม เมื่อพิจารณาความจำเป็นเร่งด่วนนี้ ICRC และ UN จึงจับมือกันเพื่อเรียกร้องให้นานาชาติ รวมไปถึงกลุ่มติดอาวุธที่ทำการสู้รบในประเทศต่างๆ หลีกเลี่ยงการใช้อาวุธระเบิดอนุภาพทำลายสูงในพื้นที่เมืองหรือชุมชน
ในโลกปัจจุบันที่การขยายตัวของความเป็นเมืองเป็นปรากฎการที่เกิดขึ้นแทบทุกพื้นที่ ปฎิบัติการโจมตี ก็เปลี่ยนเป้าหมายจากสนามรบ เป็นชุมชนอยู่อาศัยกันมากขึ้น เมื่อใดก็ตามที่เมืองถูกโจมตีด้วยระเบิด การระดมยิง หรือเป็นเป้าทิ้งระเบิดจากเครื่องบิน จรวจนำวิถี ไปจนถึงการใช้วัตุระเบิดรูปแบบต่างๆ ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนมากที่สุดกว่า 90% ล้วนเป็นพลเรือนที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสู้รบ
ภาพบาดตาจาก อิรัก, ซีเรีย, ยูเครน และอัฟกานิสถาน เป็นประจักษ์พยานของความสูญเสียที่ยากจะกู้กลับและไม่อาจถูกมองข้าม – แต่กลับถูกละเลยโดยไม่น่าให้อภัย
คู่สงครามควรทราบว่า พวกเขาไม่สามารถทำการสู้รบในเมืองได้ในแบบเดียวกับในสนามรบ การตั้งเป้าหมายไปที่เมือง ค่ายผู้ลี้ภัย หรือย่านพักอาศัย ทำให้เกิดความเสียหายอย่างไม่เลือกหน้า
ความขัดแย้งทางอาวุธในพื้นที่เมืองคร่าชีวิตผู้คนนับไม่ถ้วนและสร้างบาดแผลทั้งที่มองเห็นได้และมองเห็นไม่ได้ หลายคนต้องทุพพลภาพหรือได้รับผลกระทบทางจิตใจ ระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานอย่าง น้ำ ไฟฟ้า สุขาภิบาล และบริการด้านการแพทย์ถูกทำลายหรือทำให้เสียหายอย่างหนัก ประชาชนร่วม 2 แสน ในเมือง Aden ของซีเรีย ต้องใช้ชีวิตโดยปราศจากน้ำสะอาดหลังการต่อสู้จบลง
และเมื่อระบบน้ำและไฟฟ้าถูกทำลาย การให้บริการทางสุขภาพก็แทบจะเป็นไปไม่ได้อีกต่อไป ในความเป็นจริงแล้ว เมื่อการทิ้งระเบิดเกิดขึ้นในเมือง รถพยาบาลและผู้ให้บริการทางการแพทย์ มักได้รับความเสียหายเป็นฝ่ายแรก เพราะล้วนแต่ปฎิบัติหน้าที่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยง ผลกระทบจากการโจมตีต่อถนนหนทาง ทำลายโอกาสเข้าช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ และหลายครั้ง โรงพยาบาลก็ตกเป็นเป้าหมายของการโจมตีเสียเอง
สำหรับผู้รอดชีวิต การใช้ชีวิตในเมืองที่ถูกทำลายกลายเป็นเรื่องเหลือทน หลายยคนถูกบังคับให้อพยพหลบหนี ในดูร้อนของปีนี้ มีผู้ลี้ภัยเกือบ 1 แสนคน เดินทางออกจาก Tripoli ในเวลาเพียงสองเดือน ผู้พลัดถิ่นเหล่านี้ โดยเฉพาะเด็กและผู้หญิงเป็นกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงทั้งต่อชีวิตและสุขภาพ ในประเทศอิรัก มีกลุ่มคนพลัดถิ่นจากทั่วประเทศกว่า 1.5 ล้านคน ที่ในจำนวนนี้ส่วนใหญ่ยังไม่สามารถกลับบ้านได้ และสำหรับคนที่กลับไป การเริ่มสร้างชีวิตใหม่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย พวกเขากลับบ้านเพื่อเผชิญหน้ากับความจริงที่โหดร้าย อาคารถูกทำลายกลายเป็นฝุ่นผง ระบบเครือข่ายการบริการที่สำคัญได้พังทลายลง พร้อมๆ กับเศษซากของสงครามที่ทิ้งร่องรอยไว้ทุกหนแห่ง
สงครามทิ้งความเสียหายระยะยาวที่ต้องอาศัยเวลาหลายปี หรือหลายสิบปีเพื่อกู้คืน ตัวอย่างที่เห็นได้ดี คือช่วงปีแรกหลังสงคราม 4 ปีที่เยเมน ดัชนีการพัฒนามนุษย์ (Human Development Index) ของประเทศ ลดลงไปเท่ากับตัวเลขเมื่อ 20 ปีก่อน การทำงานหนักหลายสิบปีเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศ ถูกทำลายลงเพียงเพราะสงคราม
ในโอกาสที่สนธิสัญญาเจนีวา 1949 มีอายุครบ 70 ปี ในปี 2019 และในฐานะที่อนุสัญญาฉบับนี้เป็นใจความสำคัญของกฎหมายมนุษยธรรมที่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ กฎหมายมนุษยธรรมห้ามการโจมตีที่พุ่งเป้าหมายไปที่พลเรือน ทรัพย์สินของพลเรือน หรือการใช้พลเรือนเป็นโล่กำบัง รวมทั้งการจำกัดอาวุธและยุทธวิธีทางทหาร เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายที่ไม่จำเป็น การเคารพข้อบังคับเหล่านี้ยิ่งทวีความสำคัญ เมื่อการต่อสู้เกิดขึ้นในพื้นที่เมือง
รัฐสามารถเข้ามามีส่วนช่วยเพื่อลดความเสียหายในด้านนี้ ด้วยการประเมินและปรับอาวุ-ยุทธวิธี รวมถึงการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ทหารให้มีความตระหนักรู้ในประเด็นที่ว่า รัฐยังมีหน้าที่โน้มน้าวและทำความเข้าใจกับผู้เกี่ยวข้องตลอดจนคู่สงคราม เพื่อให้ความปลอดภัยของพลเรือยได้รับการพิจารณาร่วมกับการวางแผนกลยุทธ์ทางการทหาร
พวกเราสนับสนุนและริเริ่มโครงการจำนวนมากเพื่อส่งเสริมความคุ้มครองต่อพลเรือนในพื้นที่ขัดแย้ง ลำดับแรก เราสนับสนุนความพยายามของรัฐในออกการแถลงการณ์ทางการเมือง รวมถึงกำหนดข้อจำกัด ความตกลงร่วมกัน และมาตรฐานที่เหมาะสมเพื่อสร้างนโยบายที่สอดคล้องกับหลักกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศว่าด้วยการใช้อาวุธระเบิดในเมือง
เราขอเรียกร้องให้รัฐและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ สนับสนุนการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการบาดเจ็บล้มตายของพลเรือน สร้างกลไกในการลดและตรวจสอบอันตรายของอาวุธระเบิดเพื่อสร้างความตระหนักรู้และป้องกันความเสียหายไม่ให้เกิดขึ้นอีกในอนาคต
เราสนับสนุนให้รัฐระบุและแบ่งปันแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อบรรเทาความเสี่ยงของพลเรือนระหว่างเกิดความขัดแย้งในพื้นที่เมือง ร่วมไปถึงการจำกัดการใช้อาวุธระเบิดกำลังทำลายล้างสูงในพื้นที่อยู่อาศัย
เราขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องในความขัดแย้ง หลีกเลี่ยงปฎิบัติการทางทหารในพื้นที่อยู่อาศัย และอนุญาตให้มีการอพยพพลเรือนออกจากพื้นที่ที่ถูกปิดล้อม
สุดท้ายนี้ เราขอให้รัฐต่างๆ นำนโยบายและแนวทางปฎิบัติมาปรับใช้เพื่อเพิ่มขีดความาสามรถในการคุ้มครองพลเรือน หากการต่อสู้ในเมืองเป็นเรื่องหลีกเลี่ยงไม่ได้ ฝ่ายตำรวจหรือกลุ่มติดอาวุธ ก็ไม่ควรใช้อาวุธระเบิดที่สร้างความเสียหายในวงกว้าง ความเสียหายจากสงครามเป็นผลกระทบในระยะยาว และควรได้รับการพิจรณาไตร่ตรองอย่างดีเพื่อลดโศกนาฏกรรมเช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นกับเมืองต่างๆ ในอดีต
แปลและเรียบเรียงจากบทความ Explosive weapons in cities: Civilian devastation and suering must stop