เกิดอะไรในยะไข่? มาฟังผู้อำนวยการ ICRC สำนักงานภูมิภาคเมียนมา พูดถึงเหตุการณ์ความไม่สงบที่ทั้งโลกกำลังจับตามอง 13/12/2017, กลุ่มองค์กรกาชาด / บทความ / เรื่องเล่าจากภาคสนาม ใครติดตามข่าวสาร คงพอได้ยินปัญหาความรุนแรงทางภาคเหนือของเมียนมาที่พาให้คนกว่าครึ่งล้านอพยพย้ายถิ่นฐานไปยังบังกลาเทศ เกิดอะไรขึ้นกันแน่? แล้ว ICRC เข้าไปทำอะไร? บทสัมภาษณ์จาก FABRIZIO CARBONI ผู้อำนวยการใหญ่ ICRC สำนักงานเมียนมา จะมาตอบข้อสงสัยให้เราฟัง คำถาม: เหตุไม่สงบที่เกิดขึ้นส่งผลให้มีประชาชนอพยพออกจากพื้นที่ไปยังบังกลาเทศแล้วราวครึ่งล้าน คุณเห็นอะไรบ้างจากเหตุการณ์นี้ Fabrizio Carboni: ภาพที่เราเห็นตอนนี้คือพื้นที่ในบังกลาเทศมีผู้คนอยู่อาศัยจนล้น ในขณะที่คนหมู่บ้านในฝั่งเมียนมาหายไปเรื่อยๆ แน่นอนว่าสำหรับคนที่เลือกจะอยู่ ชีวิตยังดำเนินต่อไป แต่คุณพบเห็นภาพที่ว่าน้อยลงทุกที โดยเฉพาะในพื้นที่เมืองสำคัญอย่าง Maungdaw และ Sittwe จำนวนผู้อพยพเพิ่มขึ้นวันต่อวันตามที่เห็นกันในสื่อออนไลน์ ภาพถ่ายจากเฮลิคอปเตอร์สามารถบอกเล่าความเสียหายได้เป็นอย่างดี แต่เมื่อเราได้มาอยู่ที่นี่ เรามองเห็นหมู่บ้านก่อนและหลังการโจมตี ได้เห็นสิ่งของและผู้คนที่ถูกทิ้งอยู่ข้างหลัง และมันเป็นเรื่องน่าเศร้าใจ เพราะในขณะที่หลายพื้นที่ถูกเผาวอดวายหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ข้างๆ กัน กลับไม่ได้รับผลกระทบอะไรเลย ในบางหมู่บ้านที่ไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ไม่สงบ ชีวิตประจำวันของพวกเขาแทบไม่ต่างจากเดิม ผู้หญิงทำงานที่บ้าน ผู้ชายออกไปหาปลา พวกเขาบอกเราว่าไม่ได้รู้สึกถึงอันตรายอะไร แต่ในบางหมูบ้านที่ได้รับผลกระทบรุนแรง อย่าว่าแต่ออกไปทำงาน แค่เด็กจะไปโรงเรียนหรือคนป่วยจะไปโรงพยาบาลยังทำไม่ได้ ที่แย่ยิ่งกว่าคือหลายครอบครัวไม่มีกระทั่งบ้านให้อยู่อาศัย เพราะทุกอย่างถูกเผาไปหมด ตอนนี้ความช่วยเหลือทุกอย่างเป็นสิ่งจำเป็น ผู้คนมากมายร้องขอผ้าห่มสักผืนสำหรับหน้าหนาวที่กำลังจะมาถึง พวกเขาไม่มีกระทั่งอาหารและจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือทุกอย่างเท่าที่เป็นไปได้ ในช่วงสามเดือนที่ผ่านมาพวกเราพยายามเข้าไปให้ความช่วยเหลือพื้นที่ใหม่ๆ ในบริเวณห่างไกลและเข้าถึงยาก บางหมู่บ้านอยู่ลึกเข้าใปในภูเขา เราพยายามอย่างหนักเพื่อส่งความช่วยเหลือไปให้ถึงในทุุกพื้นที่ คำถาม: แล้ว ICRC ทำงานท่ามกลางเงื่อนไขเหล่านี้ได้อย่างไร? Fabrizio Carboni: เมียนมาเป็นประเทศที่มีเงื่อนไขเฉพาะตัวมาก มันไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่ใครจะสามารถทำความเข้าใจและทำงานกับพื้นที่ที่มีความแตกต่างแบบนี้ เป็นความโชคดีของเราที่ได้มีโอกาสทำงานในพื้นที่นี้มากว่า 30 ปี ต้องยกความดีให้กับกาชาดเมียนมาที่ช่วยเราในหลายๆ เรื่อง ทีมของพวกเราประกอบไปด้วยทีมงานหลายส่วน กาชาดเมียนมาเป็นหน่วยงานท้องถิ่นที่ช่วยให้เราเข้าใจความแตกต่างและเรื่องละเอียดอ่อนในแต่ละพื้นที่ ส่วนอาสาสมัครจากยะไข่ก็ให้ความช่วยเหลือทีมงานด้านการจัดส่งเสบียงอย่างแข็งขัน ICRC เองก็ช่วยแนะนำระบบ ส่งต่อประสบการณ์ที่เคยพบพื้นที่อื่นๆ ถ้าขาดส่วนหนึ่งส่วนใดไป งานที่เราทำอยู่ก็คงไม่อาจประสบความสำเร็จได้อย่างที่เห็น การทำงานกับกาชาดเมียนมาเป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้เราเข้าใจเงื่อนไขการทำงานทั้งในเชิงกายภาพและด้านเศรฐกิจ-สังคมของประเทศเมียนม่า อีกหนึ่งหน้าที่สำคัญของ ICRC คือการใช้โอกาสนี้พูดคุยและเตรียมเจ้าหน้าที่กาชาดให้พร้อมกับเหตุการณ์ที่อาจะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต คำถาม: อะไรคือความจำเป็นสูงสุดในการช่วยเหลือครั้งนี้? Fabrizio Carboni: เราพบว่าความช่วยเหลือที่พวกเขาต้องการมีมากมายยากจะนับ ยกตัวอย่างเช่น น้ำ อาหาร การรักษาพยาบาล ที่อยู่อาศัย และปัจจัยอื่นๆ ซึ่งความช่วยเหลือเหล่านี้ถูกทะยอยนำส่งเข้าไปยังทุกพื้นที่ตลอดสามเดือนที่ผ่านมา ตอนนี้เราพบว่า นอกจากความต้องการทางกายภาพ ความต้องการทางจิตใจเช่น ความรู้สึกปลอดภัยและมีที่พึ่ง ยังเป็นสิ่งที่ยากจะเติมเต็ม ICRC ไม่สามารถให้คำมั่นสัญญาเรื่องความปลอดภัยหรือความเป็นอิสระกับชุมชนได้ สิ่งที่เราพอจะมอบให้ คือการให้พวกเขาเข้ามามีส่วนร่วมเสนอความคิดเห็น และช่วยส่งต่อเรื่องราวและความต้องการของพวกเขาต่อไปในเวทีโลก อันที่จริงปัญหาในยะไข่เป็นเรื่องฝังลึกยากจะแก้ไข เพราะตั้งแต่ก่อนวิกฤต พื้นที่นี้ก็มีปัญหาเรื่องความยากจนมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ ดังนั้นการทำงานของเราในพื้นที่นี้ จึงเน้นแก้ปัญหาระยะยาวมากกว่าปัญหาเฉพาะหน้า คำถาม: คุณทำยังไงถึงสามารถนำส่งความช่วยเหลือได้รวดเร็วขนาดนี้ Fabrizio Carboni: ICRC เริ่มทำงานในยะไข่มาตั้งแต่ปี 2012 ตอนนั้นการอพยพเริ่มมีให้บ้างแล้วใน Sittwe เมืองหลวงของรัฐยะไข่ หลังเหตุการณ์ปะทุขึ้นในวันที่ 25 สิงหาคมที่ผ่านมา เราจึงสามารถรวบรวมคนและความช่วยเหลือเบื้องต้นได้อย่างทันท่วงที เราเริ่มตั้งศูนย์ให้ความช่วยเหลือตามพื้นที่สำคัญที่ได้รับผลกระทบอย่างหนัก ก่อนกระจายไปตามท้องที่ต่างๆ ความช่วยเหลือระลอกแรกถูกส่งไปจากย่างกุ้งทางเรือ เจ้าหน้าที่ของเราในย่างกุ้ง เมืองคะฉิ่นในรัฐฉาน และที่อื่นๆ เริ่มเข้าไปให้ความช่วยเหลือในยะไข่เพื่อวางแผนและสนับสนุนปฎิบัติการระยะยาว อย่างไรก็ดี ความช่วยเหลือที่เราเตรียมไว้ ก็ไม่ได้ไปถึงปลายทางอย่างที่เราคาดหวัง เราเจอข้อจำกัดมากมายจากดินที่ยุบตัวในหน้าฝน ทำให้การเดินทางทางบกเป็นไปอย่างยากลำบาก เราต้องเผื่อเวลาอีกสองสามวันเพื่อนจัดการซ่อมถนนเสียก่อน แต่ทางที่รถผ่านได้ส่วนใหญ่มีแค่ระหว่างเมืองสำคัญ การเข้าถึงหมู่บ้านอื่นๆ ต้องอาศัยทางเรือและการเดินเท้า ทีมของพวกเราส่วนหนึ่งเดินเท้าเข้าไปในแต่ละท้องที่เพื่อรับฟังเรื่องราวและความต้องการของพวกเขา ก่อนร่วมกันคิดหาหนทางที่เป็นไปได้ที่สุด ในการจัดส่งความช่วยเหลือเข้าไปในพื้นที่ที่ต้องการ คำถาม: เท่าที่ทำงานมามีเหตุการณ์ไหนที่สามารถอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นในยะไข่ได้ดีที่สุด Fabrizio Carboni: ผมรู้สึกหดหู่เมื่อได้เห็นจักรยานเด็กถูกจอดทิ้งไว้ท่ามกลางซากปรักหักพังของหมู่บ้าน จักรยานหมายถึงอิสรภาพในการเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่งซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้คนในบริเวณนี้ไม่สามารถทำได้ จักรยานยังหมายถึงความสนุกสนาน ลองจินตนาการเด็กๆ ทั่วโลกปั่นจักรยานไปตามที่ต่างๆ มันช่างไม่ยุติธรรมเลยที่ความสุขแบบนี้ถูกพรากไปจากชาวยะไข่ คำถาม: อะไรคือสิ่งสำคัญที่สุดที่ชาวโลกควรเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ในยะไข่? Fabrizio Carboni: สถานการณ์ในยะไข่เป็นเรื่องซับซ้อน มีความขัดแย้ง ความไม่เข้าใจมากมายซ้อนทับอยู่ในประวัติศาสตร์ ความยุ่งยากในรัฐยะไข่เป็นมากกว่าเรื่องราวทางการเมืองหรือกระบวนการทางสังคม การย้ายถิ่นฐานอย่างรวดเร็วอาจสร้างความสับสนให้กระบวนการช่วยเหลือ จนถึงตอนนี้เราพยายามอย่างถึงที่สุดที่จะวางมาตรการช่วยเหลือและบรรเทาความเสียหายในระยะยาว พวกเราเข้าใจดีว่า การจะฟื้นฟูให้พื้นที่นี้กลับมาปกติสุขเหมือนก่อนต้องใช้เวลา และคงไม่ใช่เวลาเพียงสั้นๆ สิ่งที่บีบคั้นความรู้สึกของพวกเรามากที่สุดคือสิ่งที่อาจเกิดขึ้นเมื่อมนุษย์ถูกกดดันจากความกลัวจนถึงขีดสุด นี่อาจนำมาซึ่งการตัดสินใจที่บีบคั้นหัวใจในแบบที่เราไม่อยากนึกถึง จนถึงตอนนี้ ผมรู้ดีว่ามีผู้คนจากทั่วทุกมุมโลกรู้สึกสลดใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นในยะไข่ ภาพถ่ายและเรื่องราวมากมายถูกถ่ายทอดผ่านสื่อต่างๆ อาจทำให้รู้สึกว่าการช่วยเหลือคงเป็นไปได้ยากเหลือเกิน แต่อยากให้รู้ไว้ว่าผู้คนในพื้นที่ไม่เคยยอมแพ้ ทุกครั้งที่รถขนเสบียงมาถึงชาวบ้านจะรีบเข้ามาช่วย แม้แต่คนที่ลำบากที่สุดก็ยังช่วยเหลือคนอื่น นอกจาก ICRC ยังมีหน่วยงานอีกมากมายที่คอยให้ความช่วยเหลือประชาชนในยะไข่ และแม้ความช่วยเหลือจะเข้าไปถึงช้าบ้าง เร็วบ้าง แต่ทุกๆ หมู่บ้านที่ ICRC เข้าไป เพื่อนร่วมงานของเรามักจะได้ยินเรื่องราวน่าประทับใจของชาวบ้านที่ไม่ทิ้งกันแม้ในยามยากลำบาก คำถาม: ถ้ารัฐบาล หน่วยงานรัฐ หรือผู้บริจาคในประเทศอื่นฟังอยู่ คุณมีอะไรอยากบอกพวกเขาบ้าง Fabrizio Carboni: สิ่งที่เราต้องการในเมียนมาคือคำมั่นสัญญาและการสนับสนุนระยะยาวจากรัฐบาลและผู้บริจากเพื่อสนับสนุนงานด้านมนุษยธรรมในท้องที่ ทั้งการช่วยเหลือฉุกเฉินและการช่วยเหลือเพื่อฟื้นฟูคุณภาพชีวิตของคนในระยะยาว สิ่งเหล่านี้ต้องอาศัยทั้งความเข้าใจ ความสัมพันธ์ และความต่อเนื่องของการทำงาน ICRC และองค์กรณ์ด้านมนุษยธรรมอื่นๆ มีพันธะกิจและความตั้งใจในการช่วยเหลือและสนับสนุนการปฎิบัติตามกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ สิ่งเหล่านี้จะเป็นไปได้ถ้าผู้บริจากและภาครัฐให้ความสำคัญกับพันธะกิจนี้เช่นเดียวกัน สุดท้ายนี้เรารู้ดีว่าการสนับสนุนด้านมนุษยธรรมเพียงอย่างเดียวไม่ใช่การแก้ปัญหา ทางออกของวิกฤตการในเมียนมาจำเป็นต้องอาศัยการเจรจาทางการเมือง ดังนั้นการร่วมมือระหว่างรัฐเพื่อถกเถียงและพลักดันการแก้ปัญหาน่าจะเป็นหนทางที่ดีที่สุดในการป้องกันความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต บทความภาษาอังกฤษจาก Niki Clark แบ่งปันบทความนี้ You should also read these articles กาชาดสากล สนับสนุนโรงพยาบาลสนามรองรับผู้ป่วยโควิด-19 ของสภากาชาดไทย 29/12/2021, กลุ่มองค์กรกาชาด / บทความ / เรื่องเล่าจากภาคสนาม ข่าวประชาสัมพันธ์ 29 ธันวาคม 2021 กาชาดสากล สนับสนุนโรงพยาบาลสนามรองรับผู้ป่วยโควิด-19 ของสภากาชาดไทย กรุงเทพฯ – คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (International Committee of the Red Cross – ICRC) ... เชื้อชาติ ความเที่ยงธรรม และมรดกยุคอาณานิคมใหม่: การระบุซึ่งหนทางสู่การดำเนินงานด้านมนุษยธรรมอย่างมีจริยธรรม (Part 2) 06/08/2020, กลุ่มองค์กรกาชาด / บทความ / เรื่องเล่าจากภาคสนาม มรดกยุคอาณานิคมใหม่ – เราฟังเสียงของใคร? ไม่ต้องสงสัยเลยว่า องค์กรด้านมนุษยธรรมนั้นได้ช่วยเหลือชีวิตคนนับล้านด้วยการปฏิบัติหน้าที่แนวหน้าในพื้นที่สุดอันตรายในโลก อย่างไรก็ตาม การดำเนินการด้านมนุษยธรรมบางประการนั้นยังคงฝังรากอยู่ในมรดกยุคอาณานิคมใหม่ ซึ่งหน่วงรั้งความพยายามในการส่งเสริมให้เกิดความก้าวหน้าที่แท้จริง ทั้งนี้ ในการสร้างสถาบันที่มีความเที่ยงธรรมและต่อต้าน/ขจัดการเหยียดเชื้อชาติ ภาคหน่วยงานด้านมนุษยธรรมจะต้องยอมรับบทบาทของมรดกยุคอาณานิคมใหม่ที่ยังคงมีบทบาทอย่างต่อเนื่องในกิจกรรมการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการคุ้มครอง รวมทั้งภายในองค์กรด้านมนุษยธรรมเองด้วย ซึ่งจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงด้านความเที่ยงธรรมในเชิงระบบมากที่สุด ดังนั้น มรดกยุคอาณานิคมใหม่จึงหมายถึง กฎหมาย นโยบาย ...
กาชาดสากล สนับสนุนโรงพยาบาลสนามรองรับผู้ป่วยโควิด-19 ของสภากาชาดไทย 29/12/2021, กลุ่มองค์กรกาชาด / บทความ / เรื่องเล่าจากภาคสนาม ข่าวประชาสัมพันธ์ 29 ธันวาคม 2021 กาชาดสากล สนับสนุนโรงพยาบาลสนามรองรับผู้ป่วยโควิด-19 ของสภากาชาดไทย กรุงเทพฯ – คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (International Committee of the Red Cross – ICRC) ...
เชื้อชาติ ความเที่ยงธรรม และมรดกยุคอาณานิคมใหม่: การระบุซึ่งหนทางสู่การดำเนินงานด้านมนุษยธรรมอย่างมีจริยธรรม (Part 2) 06/08/2020, กลุ่มองค์กรกาชาด / บทความ / เรื่องเล่าจากภาคสนาม มรดกยุคอาณานิคมใหม่ – เราฟังเสียงของใคร? ไม่ต้องสงสัยเลยว่า องค์กรด้านมนุษยธรรมนั้นได้ช่วยเหลือชีวิตคนนับล้านด้วยการปฏิบัติหน้าที่แนวหน้าในพื้นที่สุดอันตรายในโลก อย่างไรก็ตาม การดำเนินการด้านมนุษยธรรมบางประการนั้นยังคงฝังรากอยู่ในมรดกยุคอาณานิคมใหม่ ซึ่งหน่วงรั้งความพยายามในการส่งเสริมให้เกิดความก้าวหน้าที่แท้จริง ทั้งนี้ ในการสร้างสถาบันที่มีความเที่ยงธรรมและต่อต้าน/ขจัดการเหยียดเชื้อชาติ ภาคหน่วยงานด้านมนุษยธรรมจะต้องยอมรับบทบาทของมรดกยุคอาณานิคมใหม่ที่ยังคงมีบทบาทอย่างต่อเนื่องในกิจกรรมการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการคุ้มครอง รวมทั้งภายในองค์กรด้านมนุษยธรรมเองด้วย ซึ่งจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงด้านความเที่ยงธรรมในเชิงระบบมากที่สุด ดังนั้น มรดกยุคอาณานิคมใหม่จึงหมายถึง กฎหมาย นโยบาย ...