ที่หมู่บ้านห่างไกลในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศกัมพูชา หญิงสาวท่านหนึ่งกำลังตักน้ำขึ้นรดบนศรีษะของหญิงชรา พิธีนี้เรียกว่า Srong Peah เป็นการแสดงความนอบน้อมต่อบิดามารดา และขอขมาลาโทษในสิ่งที่อาจเคยล่วงเกิน

 

ดูด้วยตา พิธีที่ว่าไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ แต่หากฟังด้วยใจ เรื่องราวเบื่องหลังภาพนี้มีที่มาชวนน้ำตาไหลที่ต้องย้อนกลับไปไกลกว่า 40 ปี ‘พี่น้องของฉันมีโอกาสทำพิธีนี้ได้ทุกวัน แต่สำหรับฉัน นี่เป็นครั้งแรกในรอบ 40 ปี ที่ฉันมีโอกาสได้แสดงความกตัญญูต่อแม่ และเป็นครั้งแรกอีกเหมือนกัน ที่ได้รู้ว่าท่าน ยังมีชีวิตอยู่’ Boon Auan ในวัย 59 กล่าวกับเราทั้งน้ำตา หลังได้พบหน้าแม่ที่พลัดพรากไปหลายสิบปี Kul Art แม่ของเธอตอนนี้อายุ 77 แล้ว การได้พบลูกสาวในวัยใกล้ฝั่ง เป็นเหมือนความฝันที่หญิงชราแทบไม่เชื่อว่าจะเกิดขึ้นจริง เรื่องราวของ Boon Auan และ Kul Art มีจุดเริ่มต้นไม่ต่างจากชาวเขมรอีกหลายพัน ที่พลัดพรากจากกันเพราะสงครามในกัมพูชาช่วงปี 1970

สงครามกลางเมืองกัมพูชาเริ่มขึ้นในปี 1969 รัฐบาลของเจ้าชายสีหนุถูกรัฐประหาร ประเทศเข้าสู่สงครามระหว่างฝั่งเขมรแดง(สนับสนุนโดยพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม) และฝั่งของนายลอน นอล (สนับสนุนโดยสหรัฐฯ) เมื่อฝ่ายของนางลอน นอล พ่ายแพ้ในปี 1975 สิ่งแรกที่กลุ่มเขมรแดงทำหลังได้รับอำนาจ คือการกวาดต้อนประชาชนมาบังคับให้ทำการเกษตรและใช้แรงงานร่วมกันในพื้นที่ชนบท เพื่อกำจัดประชาชนที่เป็นศตรูทางชนชั้น สร้างยุคสมัยที่ดำมืดและน่าหวาดหวั่นที่สุดในประวัติศาสตร์เขมรร่วมสมัย

* Boon Auan Khamsook เกิดในปี 1957 พ่อของเธอเสียตั้งแต่ยังเล็ก ทำให้ภาระหน้าที่ในการดูแลบ้านและน้องๆ ตกอยู่ในความรับผิดชอบของเธอซึ่งเป็นลูกคนโต ‘เราเป็นครอบครัวใหญ่ และฉันมีน้องๆ หลายคนต้องดูแล’ เธอปลูกทั้งข้าวโพด แตงกวา และข้าว เพื่อให้มีีอาหารเพียงพอเลี้ยงคนทั้งบ้าน แม่ของเธอแต่งงานใหม่ในเวลาต่อมา Boon Auan จึงเปลี่ยนมาช่วยพ่อเลี้ยงขายถ่านตามชายแดนไทย-กัมพูชา ทุกสัปดาห์เธอกับพ่อจะพาเกวียนเทียมวัวบรรทุกถ่านเดินทางผ่านป่าลึกไปในเขตแดนประเทศไทย ทุกครั้ง Boon Auan จะเดินตามหลังเป็นคนสุดท้ายเพื่อดูแลน้องสาวอีก 2 คน ในปี 1974 ตอน Boon Auan อายุ 17 ปี เหตุการณ์ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้นเมื่อเกวียนของเธอตกอยู่ท่ามกลางการปะทะของทหารสองฝั่ง Boon Auan ที่อยู่รั้งท้าย พลัดหลงเข้าไปในเขตแดนประเทศไทย นี่เป็นครั้งสุดท้ายที่เธอได้เห็นครอบครัว ‘ตอนลูกสาวหายไปใจฉันแตกสลาย’ Kul Art กล่าว ‘ฉันอยากตามหาลูกแต่ทำไม่ได้เพราะหมู่บ้านของเราโดนเขมรแดงควบคุม พวกเขาไม่อนุญาตให้ใครออกจากพิ้นที่นอกจากออกไปทำนา ฉันได้แต่ภาวนาให้เธอปลอดภัย’ ‘พวกเขาบุกยึดทรัพย์สินของเราทั้งหมด ทุกคนถูกบังคับให้ไปทำงาน ตอนนั้นพวกเราถูกบอกว่า จากนี้ไปทุกคนจะต้องทำงานและกินอยู่ในที่ที่พวกเขาเตรียมไว้ให้’ Rim Ean น้องสาวของ Boon Auan เล่าให้เราฟังถึงความทรงจำขณะถูุกควบคุมโดยกลุ่มเขมรแดง Ean ในตอนนั้นอายุแค่ 10 ขวบ เธอเชื่อว่าระบบใหม่จะทำให้ทุกคนมีงานทำและมีอาหารอย่างเท่าเทียม แต่แล้วความฝันของเธอก็พังทลายเมื่อพบความจริงในอีกหนึ่งปีให้หลัง ‘หลังจากทำงานมาปีกว่าฉันก็รู้ว่าคำพูดของพวกเขาเป็นเรื่องโกหก งานในแต่ละวันมีมากมาย ในขณะที่อาหารที่ได้รับแจกจ่ายมีน้อยเหลือเกิน พวกเราทำงานทั้งกลางวันและกลางคืนโดยได้รับแจกจ่ายแค่ซุปน้ำข้าว ทุกคนดูผอมเหลือแต่กระดูก หัวเขาของบางคนยังดูใหญ่กว่าหัวของพวกเขาเสียอีก’ นี่อาจฟังดูเลวร้าย แต่ฝันร้ายที่แท้จริงเพิ่งเริ่มต้น ไม่กี่ปีต่อมาเขมรแดงเริ่มมาตรการกำจัดศตรูทางการเมือง คนกว่าสองล้าน รวมทั้งพ่อของพวกเขาถูกจับเข้าค่ายปรับทัศนคติและไม่เคยได้กลับออกมา * ในปี 1978 เขมรแดงแตกคอกับเวียดนาม ครอบครัวของพวกเขาตกอยู่ในวงล้อมสงครามอีกครั้งและต้องใช้ชีวตอย่างหวาดกลัวอยู่ในหลุมหลบภัย ‘เสียงปืนดังอย่างกับฟ้าผ่า พวกเราซ่อนตัวและภาวนาให้สงครามจบลงเสียที’ Rim Ean เล่าให้เราฟัง ในระหว่างนั้น หนึ่งในพี่น้องของเธอที่กำลังตั้งครรภ์ป่วยและเสียชีวิตลง ระหว่างความโกลาหลชาวเขมรจำนวนมากหลั่งไหลเข้ามาในประเทศไทย ค่ายผู้ลี้ภัยมากมายเต็มไปด้วยผู้คนที่หลบหนีมาด้วยความหวาดกลัว และแม้สงครามจะจบลงด้วยความพ่ายของฝ่ายเขมร กองทัพเขมรแดงยังคงก่อนความไม่สงบด้วยการรบแบบกองโจร ในปี 1982 Rim Sa Oeun น้องสาวคนที่สองของ Boon Auan ถูกทหารเวียดนามจับตัวไป เธอโดนตั้งข้อหาว่าแอบส่งเสบียงให้ฝ่ายเขมรแดงและถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลา 2 ปี หลังถูกปล่อยตัว Rim Sa Oeun กลายเป็นหนึ่งในชาวเขมรที่อาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยหมายเลข 2 ในประเทศไทย เธอไม่รู้เลยว่า ครอบครัวที่เหลือของเธอก็กำลังใช้ชีวิตอยู่ในอีกค่ายหนึ่งภายใต้การควบคุมของเขมรแดง ค่ายผู้ลี้ภัยหมายเลข 8 ที่ครอบครัวของเธออาศัย มีจำนวนผู้ลี้ภัยประมาณ 40,000 คน ค่ายนี้ได้รับทั้งการคุ้มกันจากทหารไทย และการดูแลจากสหประชาชาติ การอาศัยในค่ายผู้ลี้ภัยทำให้สมาชิกทุกคนรอดพ้นจากการสู้รบอันดุเดือด และได้กลับมาอยู่พร้อมหน้าอีกครั้งหลังสงครามสงบในปี 1992 * ทางฝั่ง Boon Auan ดูเหมือนการพลัดหลงจากครอบครัวจะเป็นโชคดีในโชคร้าย เพราะหลังจากเข้ามาในเขตประเทศไทยและพบว่าการกลับเข้าประเทศกัมพูชาในตอนนี้เป็นไปไม่ได้ เธอก็เริ่มต้นชีวิตใหม่กับครอบครัวชาวไทยในจังหวัดสุรินทร์ ‘ฉันรู้สึกอ้างว้างเหลือเกินเมื่อต้องเดินต่อไปไม่มีครอบครัวคอยอยู่เคียงข้าง’ Boon Auan ทำงานเป็นแม่บ้านให้คู่สามีภรรยาที่ไม่มีลูกอยู่หลายปี จนกระทั้งเธอพบกับสามี

 

Malee Khamsook สามีของเธอเป็นทหารที่ทำหน้าที่อยู่ระหว่างเขตชายแดนไทย-กัมพูชา คู่แต่งงานใหม่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านเล็กๆ ใกล้เขตแดนเขมร ที่นั่น เสียงปืนและการต่อสู้ดูจะเป็นเรื่องธรรมดาที่ลอยมาตามสายลม ‘ชั้นร้องไห้ทุกครั้งที่ได้ยินการต่อสู้ กลัวเหลือเกินว่าสงครามจะลามมาถึงเรา’  Boon Auan รู้สึกไม่ปลอกภัยทุกครั้งที่ได้ยินเสียงปืนหรือระเบิด ‘ภรรยาผมมักจะเก็บข้าวของเตรียมพร้อมสำหรับการอพยพเสมอ’ Malee กล่าวเสริม ความเจ็บปวดที่ต้องพลัดพรากจากครอบครัวกลายเป็นความทรงจำที่ตามหลอกหลอนเธอแม้ในความฝัน ‘เธอมักจะฝันถึงน้องๆ และครอบครัวที่สูญหาย แต่ผมช่วยอะไรเธอไม่ได้เลย’ ในขณะที่ฝันร้ายยังดำเนินต่อไป การให้กำเนิดลูกๆ ทั้ง 3 ทำให้ชีวิตของเธอก็เริ่มมีความหวัง ‘บ่อยครั้งที่ฉันยังนึกถึงแม่และหวังว่าพวกเขาจะมีชีวิตอยู่ที่ไหนสักแห่ง’ Boon Auan ไม่ได้พูดออกมา เธอใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการดูแลลูกและสามี และเมื่อข่าวการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์อันโหดร้ายของเขมรแดงเริ่มเป็นที่พูดถึง ความหวังที่จะได้เจอครอบครัวอีกครั้งหนึ่ง ยิ่งเลือนลางยากจะเป็นจริง ไม่กี่ปีมานี้ Boon Auan ป่วยเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในระหว่างที่นอนซมจากพิษไข้ เธอฝันเห็น บ้านหลังเก่า รถเกวียนเทียมวัว และทุ่งนา สถานที่ในความทรงจำจากวัยเด็ก ‘ฉันฝันถึงครอบครัว แม้เวลาจะผ่านมานานขนาดนี้ แต่ใบหน้าของพวกเขาชัดเจนมาก ฉันเริ่มตั้งคำถามกับตัวเอง จะเป็นไปได้มั้ย ถ้าชั้นจะได้เห็นใบหน้าเหล่านี้ในชีวิตจริงอีกสักครั้งก่อนตาย?’

 

เพื่อให้ความปรารถนาของภรรยาเป็นจริง Malee ขอความช่วยเหลือจากญาติของเขาในกัมพูชาและได้ทราบว่าหน่วยงานกาชาดในเขมรสามารถช่วยเขาตามหาครอบครัวที่พลัดพรากจากสงครามได้ ความช่วยเหลือนี้เริ่มต้นที่กัมพูชามาตั้งแต่ปี 1988 ในจำนวนผู้คนมากมายที่สูญหายระหว่างการสู้รบ กว่า 36,000 ได้กลับคืนสู่ครอบครัวอันเป็นที่รักเพราะการช่วยเหลือคณะกรรมการกาชาดระหว่งประเทศ และแล้วช่วงเวลาที่รอคอยก็มาถึง วันที่ 10 เมษายนที่ผ่านมา Boon Auan ได้รับการติดต่อจากเบอร์นิรนาม ‘ลูกรัก แม่ยังมีชีวิตอยู่’ เพียงประโยคนี้ การรอคอยกว่า 40 ปีก็สิ้นสุดลง ‘นั่นเป็นเสียงของแม่ฉัน ฉันจำเสียของท่านได้ชัดเจน วินาทีนั้นฉันร้องไห้ ฉันมีความสุขมากจนกลั้นน้ำตาเอาไว้ไม่อยู่’ ‘ยายของหนูยังไม่ตาย! ท่านยังมีชีวิตอยู่!’ Boon Auan รีบวิ่งไปบอกลูกๆ ทั้งน้ำตา หลังผ่านสงคราม การสูญเสีย และการพลัดพราก ครอบครัวที่จากกันถึง 43 ปี จะได้พบกันอีกครั้งภายในอีกไม่ถึง 1 สัปดาห์

ทางฝั่งกัมพูชา ข่าวการพบลูกสาวที่สูญหายกลายเป็นที่พูดถึงอย่างรวดเร็ว ‘ฉันเจอลูกสาวแล้ว! เจอเธอแล้ว!’ Kul Art แม่ของเธอบอกข่าวนี้ด้วยความยินดี อาทิตย์ต่อมา Boon Auan และสามี ก็เดินทางมาถึง ‘ฉันเคยวางแผนจะจัดงานศพให้พี่สาวเสียด้วยซ้ำ แต่ตอนนี้ที่ฉันได้เจอพี่อีกครั้ง ฉันแทบรอที่จะกอดเธอไม่ไหว’ Rim Ean กล่าว ‘ฉันวิ่งไปหาเธอทันทีที่พี่ลงจากรถ ดีใจเหลือเกินที่เราได้พบกันอีก’ * หลังการรดน้ำดำหัวในพิธี Srong Peah จบลง Boon Auan เช็ดตัวแม่ของเธอด้วยผ้าพื้นเมืองแบบเขมร ‘ตอนนี้ฉันไม่มีอะไรต้องห่วงอีกแล้ว ฉันรอมา 40 ปี เพื่อช่วงเวลานี้’ เธอกล่าวพร้อมปาดน้ำตาแห่งความสุข ‘ฉันไม่รู้เลยว่าครอบครัวต้องผ่านเรื่องน่าเศร้ามากมายขนาดนี้ ฉันคงทำได้ไม่ดีเท่าพวกเขาแน่’ Boon Auan รู้ดีว่าเธอโชคดีกว่าคนอื่นมาก แต่ไม่ว่าทั้งสองฝ่ายจะผ่านเหตุการณ์เลวร้ายเช่นไรมา การได้อยู่พร้อมหน้าก็เป็นความสุขที่สุดเท่าที่ครอบครัวของเธอจะกล้าขอ

 

‘ดีแล้วพี่ไม่ได้อยู่ที่นี่ตอนมีสงคราม ฉันดีใจมากกว่าที่ได้รู้ว่าพี่มีชีวิตที่ดี มีครอบครัวที่อบอุ่นอยู่ในประเทศไทย’ Rim Ean กล่าวทิ้งท้าย สงครามในกัมพูชาจบลงในปี 1998 Kul Art บรรยายความรู้สึกตอนได้พบหน้าลูกสาวอีกครั้งว่า ‘เหมือนการคลอดลูก มันเจ็บปวด แต่สุขใจ ไม่มีคำไหนจะบรรยายความยินดีของแม่ที่ได้เจอลูกแท้ๆ ของตัวเอง’

 

แปลจากบทความภาษาอังกฤษโดย: Nic Dunlop