กับระเบิดสังหารบุคคล

ปฏิบัติการทุ่นระเบิด: อิทธิพลที่มีต่อกฎหมายและนโยบายด้านการจัดการกับเศษซากอาวุธสงครามประเภทสารพิษ

ปฏิบัติการทุ่นระเบิด: อิทธิพลที่มีต่อกฎหมายและนโยบายด้านการจัดการกับเศษซากอาวุธสงครามประเภทสารพิษ

ปฏิบัติการทุ่นระเบิด (Mine action)มีความสอดคล้องกับการเคลื่อนไหวป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการขัดกันทางอาวุธที่ตระหนักถึงความจำเป็นของการจัดการกับภัยอันตรายที่เกิดขึ้นแล้ว เนื่องจากมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดผลกระทบของทุ่นระเบิดและเศษซากอาวุธสงครามประเภทระเบิด และถือเป็นต้นแบบของการช่วยเหลือผู้ประสบภัยและฟื้นฟูสภาพแวดล้อมที่มีเศษซากอาวุธสงครามประเภทสารพิษตกค้างอยู่ บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของชุดบทความเรื่อง สงคราม กฎหมาย และสิ่งแวดล้อม ภายใต้ความร่วมมือกับ Conflict and Environment Observatory  โดยมี บอนนี ดอกเคอตี จากคลินิกสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศของ Harvard Law School และ Human ...
อนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิด ข้อบัญญัติที่ 5 และการประชุมทบทวน ค.ศ. 2019: ความจำเป็นที่จะต้องเร่งดำเนินการ

อนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิด ข้อบัญญัติที่ 5 และการประชุมทบทวน ค.ศ. 2019: ความจำเป็นที่จะต้องเร่งดำเนินการ

, บทความ / บล็อค

อนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดสังหารบุคคล (Anti-Personnel Mine Ban Convention: APMBC) เริ่มมีผลบังคับใช้มาเป็นระยะเวลา 20 ปี อนุสัญญาฉบับนี้เกิดขึ้นจากความพยายามและการรณรงค์จากภาคประชาสังคมในระดับรากหญ้าและความร่วมมือของกลุ่มประเทศที่ให้ความสำคัญกับประเด็นนี้ เป็นระยะเวลากว่าทศวรรษ ความร่วมมือนี้เป็นผลลัพธ์ของความมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแปลงความทุกข์ทรมานที่ทุ่นระเบิดสังหารบุคคลสร้างขึ้น ตั้งแต่ประเทศอัฟกานิสถานไปจนถึงประเทศแองโกลา ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2019 รัฐภาคีจำนวนกว่า 164 ประเทศจะเข้าร่วมการประชุมทบทวนครั้งที่ 4 ณ กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ ...
“ถ้าลูกชายผมกลับมามองเห็นได้ ผมจะดีใจที่สุดเลย”

“ถ้าลูกชายผมกลับมามองเห็นได้ ผมจะดีใจที่สุดเลย”

, บทความ / บล็อค

ลึกเข้าไปในฝั่งตรงข้ามประเทศเพื่อนบ้านเด็กชาวกะเหรี่ยงสองคนพบของเล่นประหลาด ด้วยความนึกสนุกตามประสา พวกเขาหยิบวัตถุชิ้นใหม่ขึ้นมา นำไปกระแทกเข้ากับตอไม้เข้าอย่างแรง เสียงระเบิดดังขึ้นในทันที เด็กชายวัย 9 ขวบเสียชีวิต เด็กชายวัย 7 ขวบ บาดเจ็บสาหัส ซอกูเต ยังมีลมหายใจ พ่อของเขาใช้เวลา 6 ชั่วโมงพาลูกชายตัวน้อยข้ามมายังโรงพยาบาลฝั่งไทย เด็กชายหายใจรวยรินแทบไม่รู้สึกตัว ร่างกายที่โชกไปด้วยเลือดทำให้คุณพ่อแทบใจสลาย “ตอนที่เจอลูก คิดว่าคงไม่รอดแล้ว แต่คุณหมอบอกว่าลูกยังมีชีวิต น่าจะส่งมาให้ทางโรงพยาบาลที่ไทยต่อ ...
ทำไมเราจึงต้องต่อสู้เพื่ออนุสัญญาห้ามการใช้กับระเบิดสังหารบุคคล

ทำไมเราจึงต้องต่อสู้เพื่ออนุสัญญาห้ามการใช้กับระเบิดสังหารบุคคล

, บทความ / บล็อค

เรื่องโดย เฮเลน เดอร์แฮม ผู้อำนวยการแผนกนโยบายและกฎหมายระหว่างประเทศ ไอซีอาร์ซี เป็นเวลาเกือบ 20 ปีแล้ว ที่อนุสัญญาออตตาวาได้ถูกเขียนขึ้น เพื่อห้ามการใช้กับระเบิดสังหารบุคคล ปัจจุบันอนุสัญญาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศฉบับนี้และวัตถุประสงค์ที่มันถูกเขียนขึ้นแทบจะไม่ได้รับความสนใจแม้แต่น้อย แต่มันไม่สมควรเป็นเช่นนั้นเหตุผลก็เพราะว่า กว่าที่อนุสัญญาออตตาวาจะเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาได้ มันต้องเผชิญกับอุปสรรคนานัปการ และนั่นควรจะเป็นเครื่องเตือนความทรงจำ ให้เราเร่งเติมเต็มช่องว่างในการบังคับใช้อนุสัญญาฉบับนี้ให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น ย้อนกลับไปในช่วงทศวรรษที่ 1990 ตอนที่ฉันยังเป็นทนายความด้านกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศรุ่นเล็กของกลุ่มองค์กรกาชาด ฉันได้รับการทาบทามให้ขึ้นพูดในหัวข้อกับระเบิดสังหารบุคคล คนที่ขึ้นพูดคนอื่นๆส่วนใหญ่จะเป็นหมอที่มาอธิบายถึงอาการหรือผลกระทบจากการเหยียบกับระเบิดสังหารบุคคลเหล่านี้ นอกนั้นก็จะเป็นพวกวิศวกรที่อธิบายว่ามัจจุราชชนิดนี้ทำงานอย่างไร ฉันรู้สึกประหลาดใจกับท่าทีไม่เห็นด้วยจากผู้ฟังตอนที่ฉันพูดถึงความเป็นไปได้ ...