กาชาดฝรั่งเศสและอิตาลีได้จัดตั้งหน่วยงานให้บริการ “ติดตามสืบหาญาติ” หรือ “Restoring Family Links” บริเวณชายแดนด้วยการสนับสนุนจากคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ เพื่อช่วยเหลือให้ผู้อพยพได้ติดต่อกับครอบครัวของพวกเขาอีกครั้ง

ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมามีผู้อพยพจำนวนมากจากซีเรีย เอริเธรีย ปาเลสไตน์ ไนจีเรีย และ อีกหลายประเทศได้ทะลักเข้าสู่ประเทศอิตาลีและหลายประเทศในแถบยุโรปใต้ ในปี 2557 เจ้าหน้าที่อิตาลีได้ขึ้นทะเบียนผู้อพยพถึง 171,011 คน ขณะที่ในช่วงห้าเดือนแรกของปี 2558 นี้ เจ้าหน้าที่สามารถขึ้นทะเบียนผู้อพยพได้แล้วถึง 52,761 คน

ผู้อพยพบริเวณจุดให้ความช่วยเหลือของกาชาดอิตาลีกำลังพูดคุยกับครอบครัว ขณะที่ผู้อพยพคนอื่นๆเข้าแถวเพื่อรอใช้บริการในลำดับถัดไป © กาชาดฝรั่งเศส

ผู้อพยพบริเวณจุดให้ความช่วยเหลือของกาชาดอิตาลีกำลังพูดคุยกับครอบครัว ขณะที่ผู้อพยพคนอื่นๆเข้าแถวเพื่อรอใช้บริการในลำดับถัดไป © กาชาดฝรั่งเศส

ผู้อพยพส่วนใหญ่หลบหนีจากความรุนแรงและความขัดแย้งในประเทศบ้านเกิดของตัวเองและยอมเสี่ยงโชคเดินทางข้ามทะเลเมดิเตอร์เรเนียน หลายคนต้องสูญเสียญาติพี่น้อง ต้องเผชิญกับความบอบช้ำทางจิตใจที่ต้องเห็นพวกเขาเสียชีวิตไปต่อหน้าต่อตาหรือไม่ก็ถูกทิ้งให้ลอยเคว้งคว้างอยู่กลางทะเล

ด้วยสภาพทางภูมิศาสตร์ของประเทศอิตาลีที่ติดกับเทือกเขาแอลป์ทางตอนเหนือ ตะวันตก และ ตะวันออก นั่นหมายความว่าผู้อพยพมีเส้นทางเพียงไม่กี่สายที่จะเดินทางต่อไปยังหลายประเทศในภาคพื้นยุโรป ผลที่เกิดตามมาก็คือ ผู้อพยพหลายร้อยคนต้องตกอยู่ในพื้นที่ทับซ้อนที่ไม่อยู่ใต้อาณัติของใครบริเวณชายแดนฝรั่งเศสและอิตาลีเพื่อที่จะรอเดินทางต่อไปยังฝรั่งเศส

ผู้อพยพรอคอยอยู่บริเวณที่พักชั่วคราว © กาชาดฝรั่งเศส

ผู้อพยพรอคอยอยู่บริเวณที่พักชั่วคราว © กาชาดฝรั่งเศส

ที่ผ่านมากาชาดฝรั่งเศสและอิตาลีได้จัดหาอาหาร ที่พักชั่วคราว และให้การดูแลทางการแพทย์แก่ผู้อพยพ นอกจากนี้ก็ยังได้ให้บริการติดตามสืบหาญาติโดยได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศหรือไอซีอาร์ซีอีกด้วย

นับเป็นครั้งแรกที่มีการให้บริการในลักษณะนี้สำหรับผู้อพยพ โดยกาชาดของทั้งสองประเทศได้เปิดให้บริการติดตามสืบหาญาติบริเวณชายแดนตั้งแต่เดือนมิถุนายนและกรกฏาคม 2015 ที่เมืองเวนติมิเกลีย ของอิตาลี

สำนักงานของหน่วยบริการติดตามสืบหาญาติถูกจัดตั้งขึ้นสองแห่ง แห่งแรกตั้งอยู่บริเวณสถานีรถไฟ (ดูแลโดยกาชาดอิตาลี) และ อีกแห่งหนึ่งบริเวณชายแดน (ดูแลโดยกาชาดฝรั่งเศส) ที่นี่ผู้อพยพได้รับอนุญาติให้ใช้โทรศัพท์มือถือและอินเตอร์เน็ตโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ทำให้ผู้อพยพสามารถติดต่อญาติพี่น้องได้ทางจดหมายอิเล็คทรอนิคส์หรือเฟซบุ๊ครวมถึงบริการโซเชียลมีเดียอื่นๆ ยิ่งไปกว่านั้นที่นี่ยังเปิดโอกาสให้ผู้อพยพได้ส่งจดหมายกาชาดกลับบ้านและลงทะเบียนติดตามหาญาติพี่น้องที่หายสาบสูญอีกด้วย

ผู้อพยพบริเวณจุดให้ความช่วยเหลือของกาชาดอิตาลีกำลังพูดคุยกับครอบครัว ขณะที่ผู้อพยพคนอื่นๆเข้าแถวเพื่อรอใช้บริการในลำดับถัดไป © กาชาดฝรั่งเศส

ผู้อพยพบริเวณจุดให้ความช่วยเหลือของกาชาดอิตาลีกำลังพูดคุยกับครอบครัว ขณะที่ผู้อพยพคนอื่นๆเข้าแถวเพื่อรอใช้บริการในลำดับถัดไป © กาชาดฝรั่งเศส

ผู้อพยพจำนวนไม่น้อยที่ไม่ทราบข่าวของครอบครัวพวกเขาเป็นเวลานานหลายเดือน ที่ผ่านมามีผู้อพยพใช้บริการโทรศัพท์ไปแล้วมากกว่า 300 ครั้ง

ผู้อพยพสองคนโทรกลับหาครอบครัวของพวกเขาผ่านทางโทรศัพท์ที่กาชาดฝรั่งเศสจัดเตรียมไว้ให้ © กาชาดฝรั่งเศส

ผู้อพยพสองคนโทรกลับหาครอบครัวของพวกเขาผ่านทางโทรศัพท์ที่กาชาดฝรั่งเศสจัดเตรียมไว้ให้ © กาชาดฝรั่งเศส

ผู้อพยพหญิงตั้งอกตั้งใจฟังเสียงจากครอบครัวทางปลายสายท่ามกลางเสียงอึกทึกบริเวณจุดช่วยเหลือของกาชาดฝรั่งเศส © กาชาดฝรั่งเศส

ผู้อพยพหญิงตั้งอกตั้งใจฟังเสียงจากครอบครัวทางปลายสายท่ามกลางเสียงอึกทึกบริเวณจุดช่วยเหลือของกาชาดฝรั่งเศส © กาชาดฝรั่งเศส

ระหว่างปฏิบัติการร่วมครั้งนี้ มีเด็ก 3 คน จากเอริเธรียและเอธิโอเปียที่ถูกขึ้นทะเบียนเป็นผู้เยาว์ที่เดินทางโดยไม่มีผู้ปกครองร่วมทางมาด้วย

ขณะที่วิกฤตผู้อพยพยังคงดำเนินต่อไป แผนปฏิบัติการร่วมสำหรับภารกิจในอนาคตก็ดำเนินไปพร้อมๆกัน กาชาดอิตาลีวางแผนที่จะให้บริการติดตามสืบหาญาติร่วมกับกาชาดออสเตรียและกาชาดสวิตเซอร์แลนด์ และในระหว่างนี้กาชาดอิตาลีได้ให้การช่วยเหลือผู้อพยพ 300-400 คนต่อวัน และจัดให้มีบริการติดตามสืบหาญาติสัปดาห์ละครั้งโดยแต่ละครั้งจะมีผู้อพยพใช้บริการโทรศัพท์ประมาณ 40-50 ครั้ง

ขอขอบคุณกาชาดฝรั่งเศสและอิตาลีสำหรับข้อมูลในรายงานนี้

หากคุณไม่สามารถติดต่อกับญาติพี่น้องได้ บริการติดตามสืบหาญาติของกลุ่มองค์กรกาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการช่วยสืบค้น