refugees

คำว่า ‘ผู้ลี้ภัย’ มาจากไหน? ประวัติศาสตร์การลี้ภัยที่ย้อนไปไกลกว่าที่คิด

คำว่า ‘ผู้ลี้ภัย’ มาจากไหน? ประวัติศาสตร์การลี้ภัยที่ย้อนไปไกลกว่าที่คิด

, บทความ / บล็อค

ประวัติศาสตร์โลกเต็มไปด้วยเรื่องราวของการพลัดถิ่น จะด้วยเหตุผลทางการเมือง สงคราม หรือศาสนา ปฎิเสธไม่ได้ว่าโลกที่เราเห็นและเป็นอยู่ทุกวันนี้ เกิดขึ้นจากการแต่งแต้มสีสันของผู้คนจากหลายวัฒนธรรมที่พบปะสังสรรค์ผ่านการย้ายถิ่นฐานมายาวนานหลายศตวรรษ   แนวความคิดเรื่องผู้ลี้ภัยเริ่มตั้งแต่เมื่อไหร่? ความคิดที่ว่า มนุษย์เราควรให้ความช่วยเหลือแก่เหยื่อหรือผู้ที่กำลังอยู่ในอันตรายสามารถสืบย้อนกลับไปได้ไกลตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ  ในสมัยนั้น มีการพูดเรื่องสิทธิในการมอบที่ลี้ภัย (asylum) แก่ผู้เดือดร้อน แนวคิดนี้ถูกใช้ต่อมาโดยชาวโรมัน ก่อนชาวคริสต์ ชาวฮีบรู และชาวอิสลาม จะนำแนวคิดนี้มาบรรจุในวัฒนธรรมของตน จนเกิดเป็นเรื่องเล่าในศาสนาอย่างการอพยพของโมเสสที่พาชาวฮีบรูออกจากการเป็นทาสของชาวอียิปต์ไปยังแผ่นดินแห่งพันธสัญญา หรือเรื่องราวการเดินทางของนบีมุฮัมมัดและผู้ติดตามจากเมกกะไปยังเมดินะในวัฒนธรรมอิสลาม แนวคิดนี้ถูกนำมาบัญญัติแบบเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกโดย Hugo ...
ประธานไอซีอาร์ซีออกแถลงการณ์ถึงโศกนาฏกรรมในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

ประธานไอซีอาร์ซีออกแถลงการณ์ถึงโศกนาฏกรรมในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

, บทความ / บล็อค

สืบเนื่องจากเหตุการณ์โศกนาฏกรรมในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งเรือที่ผู้อพยพและผู้ลี้ภัยจำนวนกว่าหลายร้อยคนโดยสารมาได้พลิกคว่ำ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ซึ่งจากการประเมินอาจมีจำนวนมากถึงแปดร้อยราย ยังผลให้เหตุการณ์ในครั้งนี้เป็นโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในการนี้ คุณปีเตอร์ เมาเรอร์ ประธานไอซีอาร์ซีได้ออกแถลงการณ์ต่อเหตุการณ์ดังกล่าว ผมรู้สึกตระหนกและเศร้าเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อการสูญเสียของหลายร้อยชีวิตในเหตุการณ์อันน่าสลดใจยิ่งที่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน การเสียชีวิตของผู้คนเหล่านี้ไม่ว่าจะเป็น ชาย หญิง และ เด็ก ๆ นั้นเป็นเครื่องเตือนใจที่น่าเศร้าต่อผลกระทบของสงครามที่กำลังทวีความรุนแรงทั้งใน ลิเบีย ซีเรีย และ ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคตะวันออกกลาง ...