MIGRATION

กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศกับข้อกำหนดว่าด้วยการคุ้มครองความเป็นเอกภาพของครอบครัวและผู้ย้ายถิ่นฐานที่หายสาบสูญหรือเสียชีวิต

กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศกับข้อกำหนดว่าด้วยการคุ้มครองความเป็นเอกภาพของครอบครัวและผู้ย้ายถิ่นฐานที่หายสาบสูญหรือเสียชีวิต

, บทความ

ในสถานการณ์การขัดกันทางอาวุธ การทำให้ผู้ย้ายถิ่นฐานต้องพลัดพรากจากครอบครัวหรือถูกจับกุมคุมขัง จนทำให้ผู้ย้ายถิ่นฐานเหล่านั้นต้องหายสาบสูญหรือเสียชีวิตถือเป็นการละเมิดกฏหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (International Humanitarian Law – IHL) อุปสรรคสำคัญที่พบในการคุ้มครองผู้ย้ายถิ่นฐานคือ ผู้ย้ายถิ่นฐานส่วนใหญ่มักพำนักแยกกันอยู่ในหลายประเทศ ทำให้เกิดปัญหาด้านการสื่อสารระหว่างสมาชิกในครอบครัว เนื่องจากใช้ภาษาที่แตกต่างกัน นอกจากนี้อุปสรรคสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ การส่งข้อมูลข้ามแดนระหว่างหน่วยงานของแต่ละประเทศที่อาจทำให้เกิดปัญหาในแง่ของการรวบรวมข้อมูล ที่จะถูกนำมาใช้ในการยืนยันตัวตนของผู้ย้ายถิ่นฐานที่เสียชีวิตแล้ว กรณีดังกล่าวอาจมีความซับซ้อนมากขึ้นหากผู้ย้ายถิ่นฐานไม่ต้องการติดต่อกับครอบครัว เพราะกลัวจะถูกส่งตัวกลับประเทศ (deportation) หรือกลัวว่าจะทำให้ครอบครัวในประเทศต้นทางต้องเผชิญกับการแก้แค้น(reprisal) ดังนั้นหากปราศจากการถ่ายทอดข้อมูลให้ครอบครัวรับรู้ รวมถึงการยืนยันตัวตนของผู้ตั้งถิ่นฐานด้วยการตรวจสอบร่างของผู้เสียชีวิต จึงทำให้ผู้ย้ายถิ่นฐานหลายคนมีสถานะเป็นผู้หายสาบสูญทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงอาจจะเสียชีวิตไปแล้วก็ตาม ...
‘สถานะ’ และ ‘การคุ้มครอง’ : องค์กรมนุษยธรรมมองเรื่อง ‘ผู้ลี้ภัย’ ไว้อย่างไร

‘สถานะ’ และ ‘การคุ้มครอง’ : องค์กรมนุษยธรรมมองเรื่อง ‘ผู้ลี้ภัย’ ไว้อย่างไร

, บทความ / บล็อค

การเดินทางจากบ้านมีได้หลายเหตุผล การที่ใครสักคนจะได้รับการต้อนรับหรือดูแลมากแค่ไหน บางครั้งก็ขึ้นอยู่กับเหตุผลของการเดินทาง ที่จะบอกว่าผู้อพยพท่านนี้ควรได้รับสถานะ (status) หรือ การคุ้มครอง (protection) แบบใด แต่ไม่ว่าจะหลบหนีจากสงครามหรือเดินทางหางานสร้างอนาคต ไม่ว่าจะถูกบังคับให้เคลื่อนย้ายหรือเต็มใจออกจากบ้าน สิ่งที่ผู้คนเหล่านี้ต้องเผชิญไม่ต่างกัน คืออุปสรรค์ที่มักเกิดขึ้นระหว่างทาง นายปีเตอร์ เมาเรอร์ ประธานคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) กล่าวถึงประสบการณ์ความยากลำบากที่ผู้คนเหล่านี้ต้องเผชิญไว้ว่า: ‘เมื่อตัดสินใจออกเดินทาง ผู้อพยพและประชากรพลัดถิ่นต้องเผชิญโจทย์ยากตั้งแต่ก้าวแรก บนเส้นทางมีความไม่แน่นอน หลายชีวิตไม่สามารถไปถึงจุดหมายได้อย่างปลอดภัย หรือต่อให้ไปถึง ...
เปิดประตูกว้าง หรือ สร้างกำแพง? เมื่อผู้ลี้ภัยไม่ใช่ ‘ผู้เสียหาย’ แต่กลายเป็น ‘อันตราย’

เปิดประตูกว้าง หรือ สร้างกำแพง? เมื่อผู้ลี้ภัยไม่ใช่ ‘ผู้เสียหาย’ แต่กลายเป็น ‘อันตราย’

, บทความ / บล็อค

ในโลกทุกวันนี้ปัญหาเรื่องผู้ลี้ภัยกลายเป็นเรื่องใหญ่ในระดับนานาชาติ ไม่ใช่แค่การลี้ภัยจากสงครามหรือความขัดแย้ง แต่ยังรวมไปถึงกลุ่มแรงงานต่างชาติที่เดินทางออกจากบ้านเกิดเพราะปัญหาด้านเศรฐกิจ หลายคนอพยพจากภูมิลำเนาเพราะขาดโอกาสทางการศึกษา ไม่มีงานทำ หรือไม่สามารถเข้าถึงบริการทางสุขภาพขั้นพื้นฐาน ความคิดเรื่อง ‘เอลโดราโด (El Dorados)’ มีอยู่ทุกสมัย และไม่ใช่ความผิดที่หลายคนฝันถึงชีวิตที่ดีกว่าในมหานครใหญ่อย่าง นิวยอร์ก หรือ ลอนดอน ในช่วงทศวรรษที่ 1990s มีคลื่นผู้อพยพจากอิตาลี โปแลนด์ และ ไอร์แลนด์ ถาโถมเข้าสู่สหรัฐฯ เพื่อขานรับความฝันเรื่อง ...