Hiroshima

An unnecessary evil : การต่อสู้ทางวาทกรรมเรื่องความหมายของอาวุธนิวเคลียร์

An unnecessary evil : การต่อสู้ทางวาทกรรมเรื่องความหมายของอาวุธนิวเคลียร์

, บทความ / บล็อค

 ‘Necessary Evil’ คือเครื่องบินโบอิ้ง B-29-45-MO Superfortress ที่ได้รับมอบหมายให้ถ่ายภาพผลกระทบจากการทิ้งระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมาเมื่อปี 1945 คำให้การของบรรดาเหยื่อและผู้รอดชีวิตจากอาวุธนิวเคลียร์กระตุ้นให้เราจินตนาการถึงสิ่งที่เรามิอาจจินตนาการได้ คิดถึงสิ่งที่ไม่อาจคาดคิดได้ และเป็นปากเป็นเสียงให้กับความทุกข์ทรมานที่เกิดจากการระเบิดปรมาณูที่ไม่อาจบอกกล่าวออกมาได้เอง และเนื่องในโอกาสครบรอบ 75 ปี นับตั้งแต่การทิ้งระเบิดที่ฮิโรชิมาและนางาซากิ แมกนุส โลโวล์ด (Magnus Løvold) ที่ปรึกษาด้านนโยบายอาวุธประจำฝ่ายกฎหมายของ ICRC จึงออกมาเรียกร้องให้เราทุกคนร่วมกันให้เกียรติและระลึกถึงผู้รอดชีวิตที่สัมผัสกับอาวุธนิวเคลียร์เพื่อตระหนักถึงความเป็นจริงอันแสนโหดร้ายของระเบิดนิวเคลียร์ โดยมิต้องเสริมเพิ่มและลดทอนอะไรมากกว่าการห้ามและจำกัดเครื่องมือแห่งสงครามที่น่ากลัวและไม่ยุติธรรมนี้ ผมจำครั้งแรกที่ไปเยือนเมืองฮิโรชิม่าได้ ...
75 ปี หลังเหตุการณ์ระเบิดฮิโรชิมาและนางาซากิ ภัยจากนิวเคลียร์ยังคงอยู่ กลุ่มองค์กรกาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศเรียกร้องให้ทุกประเทศร่วมกันยุตินิวเคลียร์

75 ปี หลังเหตุการณ์ระเบิดฮิโรชิมาและนางาซากิ ภัยจากนิวเคลียร์ยังคงอยู่ กลุ่มองค์กรกาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศเรียกร้องให้ทุกประเทศร่วมกันยุตินิวเคลียร์

, News / บทความ / ไทย

75 ปีก่อน ในช่วงเช้าของวันที่ 6 สิงหาคม 2488 เครื่องบิน B-29 ได้ปล่อยอาวุธอันน่ากลัวที่คิดค้นขึ้นใหม่ใส่พื้นที่ของเมืองฮิโรชิมา ระเบิดนิวเคลียร์ลูกดังกล่าวทำลายเมืองจนราบเป็นหน้ากลอง คร่าชีวิตผู้คน 70,000 คนในพริบตา และอีกกว่าหมื่นชีวิตบาดเจ็บสาหัส และในวันที่ 9 สิงหาคม ระเบิดนิวเคลียร์ลูกที่ 2 ได้ทำลายตัวเมืองนางาซากิ เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตทันที 39,000 คน ...
สารพันปัญหาว่าด้วยระเบิดปรมาณู: ถาม-ตอบ ข้อข้องใจด้านสุขภาพกับคุณหมอประจำโรงพยาบาลระเบิดปรมาณูแห่งนางาซากิ

สารพันปัญหาว่าด้วยระเบิดปรมาณู: ถาม-ตอบ ข้อข้องใจด้านสุขภาพกับคุณหมอประจำโรงพยาบาลระเบิดปรมาณูแห่งนางาซากิ

, บทความ / บล็อค / เรื่องเล่าจากภาคสนาม

ระเบิดปรมาณูมีผลข้างเคียงด้านสุขภาพจริงหรือไม่? ไขข้อข้องใจกับด็อกเตอร์มาซาโอะ โทโมนากะ ผู้อำนวยการกิตติมศักดิ์โรงพยาบาลระเบิดปรมาณูแห่งนางาซากิ สภากาชาดญี่ปุ่น ถาม: ผู้รอดชีวิตจากระเบิดปรมาณูต้องเจอผลกระทบทางสุขภาพอย่างไรบ้าง? ตอบ: ผลกระบทหลักของสารกัมมันตรังสีคือโรคลูคีเมีย (มะเร็งเม็ดเลือดขาว), มะเร็ง และโรคหัวใจ บางคนอาจมีอาการหลายอย่างทับซ้อนกัน สำหรับคนที่โดนระเบิดโดยตรง บางคนตาบอดเพราะจ้องมองการระเบิด ...
หนึ่งปีให้หลังกับอนุสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์: ภาพสะท้อนจากเมืองฮิโรชิมะ

หนึ่งปีให้หลังกับอนุสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์: ภาพสะท้อนจากเมืองฮิโรชิมะ

, บทความ / บล็อค

ภาพความทรงจำครั้งเมื่อฉันไปเยือนพิพิธภัณฑ์อนุสรณ์สันติภาพฮิโรชิมะในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมายังคงแจ่มชัด แม้ว่าในวันนั้นสภาพอากาศจะร้อนเหนอะหนะแต่ก็มีผู้คนเดินทางมายังพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เพื่อใช้เวลานึกคิดอย่างสงบนิ่ง ข้าพเจ้าสามารถสัมผัสได้ถึงความปรารถนาให้เกิดสันติภาพผ่านการกระทำของผู้คนที่ค่อยบรรจงวางดอกไม้และนกกระเรียนที่พับไว้อย่างประณีต ณ ฐานของอนุสรณ์ ญี่ปุ่นเป็นเพียงประเทศเดียวที่เคยประสบเคราะห์ภัยจากการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ โดยมีผู้รอดชีวิตจากระเบิดนิวเคลียร์หรือที่เรียกว่า ฮิบาคุชา (Hibakusha) จำนวนหลายพันคน ทิ้งไว้ซึ่งร่องรอยบาดแผลทางกายและจิตใจ บทเรียนที่โหดร้ายในเหตุการณ์ครั้งนี้จึงทำให้ประวัติและชื่อเมืองฮิโรชิมะกลายเป็นที่รู้จักทั่วโลก ดร. มาร์เซล ยูโนด จากคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (International Committee of the Red Cross: ICRC) ...