Buddhism

สงครามและศาสนา – ว่าด้วยกฎหมายมนุษยธรรมกับหลักธรรมในพระพุทธศาสนา

สงครามและศาสนา – ว่าด้วยกฎหมายมนุษยธรรมกับหลักธรรมในพระพุทธศาสนา

, บทความ / บล็อค

“แม้ในสนามรบเขาจักพิชิตนักรบนับพัน แต่เขาจักเป็นผู้พิชิตสูงส่งหากเขาพิชิตใจตนได้” -พระธรรมบท ข้อ 103 แม้ศาสนาพุทธจะไม่สนับสนุนการมีอยู่ของสงคราม (ไม่มีสงครามใดที่เป็นธรรม) ถึงอย่างนั้นพุทธศาสนาก็ยอมรับความเป็นจริงของการสู้รบและความทุกข์ทรมานที่สงครามก่อให้เกิด พระพุทธเจ้าทรงใช้ชีวิตในยุคที่เต็มไปด้วยสงคราม หลักธรรมหลายอย่างที่ทรงได้แสดงไว้ สะท้อนให้เห็นถึงจิตใจเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ และมุมมองต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องใกล้เคียงกับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (International humanitarian law – IHL) อันเป็นกฎหมายที่ถูกใช้ในยามสงครามซึ่งถูกเขียนขึ้นหลังสมัยพุทธกาลเป็นเวลากว่าพันปี กฎหมายกับศาสนา ความเหมือนที่แตกต่าง แม้ว่าศาสนาและกฎหมายจะไม่ได้มีข้อกำหนดและบทลงโทษที่ตรงกันทุกประการ หนึ่งในข้อแตกต่างระหว่างกฎหมายกับศาสนา ...
ศาสนาพุทธกับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ การประชุมครั้งแรกของโลกที่ศรีลังกา

ศาสนาพุทธกับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ การประชุมครั้งแรกของโลกที่ศรีลังกา

, บทความ / บล็อค

เมื่อวันที่ 4-6 กันยายนที่ผ่านมา ICRC ร่วมด้วยคณะนักวิชาการพุทธศาสนาและผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย จัดการประชุมว่าด้วยพุทธศาสนาและกฎหมายมนุษยธรรมในเหตุขัดกันทางอาวุธที่ถ้ำดัมบุลลา ประเทศศรีลังกา โดยมีผู้เข้าร่วมกว่า 120 ท่าน จากวงการวิชาการ วงการกฎหมาย คณะสงฆ์ และบุคลากรในพระพุทธศาสนา มาร่วมกันหารือถึงความเป็นไปได้ในการใช้หลักคำสอนในพระพุทธศาสนามาลดทอนความรุนแรงและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในยามสงคราม งานในครั้งนี้จัดขึ้นที่วัดถ้ำดัมบูลลา (Dambulla Cave Temple) มรดกโลกแหล่งสำคัญในศรีลังกาที่มีอายุกว่า 2,200 ปี และมีความสำคัญทั้งกับพุทธศาสนิกชนนิกายเถรวาท ...