ในช่วงต้นศตวรรษที่ยี่สิบเอ็ด บรรดาวิศวกรผู้เปี่ยมด้วยจิตนาการจากประเทศฝรั่งเศสตลอดจนสหรัฐอเมริกา ต่างมุ่งหวังให้สิ่งประดิษฐ์ของตนเป็นเครื่องมือยับยั้งการก่อสงคราม ยับยังความสูญเสียมหาศาลที่อาจจะตามมาในภายหลัง อย่างไรก็ดี ตลอดช่วงระยะเวลาสี่ปีในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ความมุ่งหวังดังกล่าวกลับไม่เป็นดั่งใจเมื่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถูกนำมาประยุกต์ใช้ในปฏิบัติการณ์ทางทหาร การคิดค้นพัฒนาอาวุธร้ายแรง ตลอดจนความเคลือบแคลงว่ต่อประเทศต่างๆ ว่าจะสามารถยืนหยัดในคุณค่าและหลักการของประเทศตนในยามรบกลายเป็นบทเรียนใหญ่ที่โลกทั้งใบต่างได้รับ จริงหรือไม่ที่สงครามโลกครั้งที่หนึ่งแสดงให้เห็นว่าหลักศีลธรรม รวมถึงหลักการตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศ (อนุสัญญากรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ค.ศ.1868 หรืออนุสัญญากรุงเฮก ค.ศ. 1899 และ 1907) ที่นำมาใช้เป็นเหตุผลในการต่อต้านการใช้อาวุธที่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ถูกมองข้ามในยามที่ประเทศต้องเผชิญภาวะวิกฤต ค.ศ.1914-1918 กับการนำทฤษฎีความสัมพันธ์มาใช้อธิบายปรากฏการณ์ที่อาวุธชนิดใหม่กลายเป็นที่ยอมรับในสังคม ...