การปรับใช้กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ในการสงคราม 10/01/2025, บทความ ทุกวันนี้ พลเรือนทั่วโลกต่างพึ่งพาเทคโนโลยีดิจิทัลในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน รวมไปถึงปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์ และโครงสร้างพื้นฐานบนอวกาศ ในขณะเดียวกัน ภาคีคู่พิพาทในการขัดกันทางอาวุธก็ใช้เทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์ในทางทหารด้วย หลายปีก่อนหน้านี้ การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการสงคราม รวมถึงการนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในการตัดสินใจทางทหาร ดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่ห่างไกลจากความเป็นจริงอยู่มาก แต่ในปัจจุบันสถานการณ์ไม่เป็นเช่นนั้นอีกต่อไปแล้ว คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศมีความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มการพึ่งพาระบบอาวุธที่มีความอิสระในระดับต่าง ๆ และระบบที่อาศัยปัญญาประดิษฐ์ในการตัดสินใจกำหนดเป้าหมายและวิธีการโจมตี อีกทั้งยังปรากฏแนวโน้มอันน่าเป็นห่วงในการขัดกันทางอาวุธปัจจุบัน ที่รัฐและฝ่ายที่ไม่ใช่รัฐใช้ปฏิบัติการไซเบอร์เพื่อขัดขวางโครงสร้างพื้นฐานที่กำกับดูแลเทคโนโลยีดิจิทัล บริการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน และระบบเศรษฐกิจ รวมถึงการนำเครื่องมือสื่อสารแบบดิจิทัลมาใช้เพิ่มการเข้าถึง ความรวดเร็ว ...
การสร้างสมดุลโดยสุจริตระหว่างหลักมนุษยธรรมกับความจำเป็นทางทหารในการสู้รบ 18/12/2024, บทความ ความทุกข์ทรมานและหายนะอันเกิดจากการขัดกันทางอาวุธในปัจจุบันนั้นรุนแรงมากจนแทบจะเกินคำบรรยาย ทั้งเมืองถูกทำลายราบคาบ โรงพยาบาลเหลือเพียงซากปรักหักพัง พลเรือนต้องดิ้นรนให้มีชีวิตรอดโดยปราศจากอาหาร น้ำ ไฟฟ้า หรือการดูแลทางการแพทย์ที่เพียงพอ ผู้คนได้รับบาดเจ็บ ทุพพลภาพถาวร จิตใจบอบช้ำอย่างแสนสาหัส และถูกสังหาร การขัดกันทางอาวุธยังทำลายระบบนิเวศ และทำให้วิกฤตสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศทั่วโลกทวีความรุนแรงอย่างรวดเร็วมากขึ้น หลักการและกฎเกณฑ์แห่งกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศว่าด้วยการสู้รบมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองพลเรือนและวัตถุพลเรือนจากอันตรายของปฏิบัติการทางทหาร โดยการพยายามรักษาสมดุลระหว่างความจำเป็นในการบรรลุเป้าหมายทางทหารอันชอบด้วยกฎหมายกับการจำกัดการสูญเสียชีวิต ความทุกข์ทรมาน การบาดเจ็บ และการทำลายล้างอันจะเกิดขึ้นจากการขัดกันทางอาวุธ แต่หลักการและกฎเกณฑ์นี้กำลังเผชิญปัญหาจากการถูกตีความอย่างกว้างจนเกินไปซึ่งบ่อนทำลายสมดุลอันละเอียดอ่อนและเจตนารมณ์ดั้งเดิมในการรักษาชีวิต เลี่ยงความเสียหายแก่พลเรือน วัตถุพลเรือน ตลอดจนธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ...
การยกระดับประสิทธิภาพในการคุ้มครองประชากรซึ่งตกอยู่ในมือของภาคีคู่พิพาทในการขัดกันทางอาวุธ 09/12/2024, บทความ การขัดกันทางอาวุธสร้างความทุกข์ทรมานอันไม่อาจเลี่ยงได้ แม้ในสถานการณ์ความขัดแย้งซึ่งกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศได้รับการเคารพอย่างเคร่งครัดก็ยังมีบุคคลถูกคุมขังหรือถูกสังหาร บ่อยครั้งที่ผู้คนต้องพลัดพรากจากครอบครัวหรือสูญหายไปในการสู้รบ การสูญหายของผู้คนหลายพันสร้างความโกรธและทุกข์ทรมานอย่างยาวนานแก่บุคคลอันเป็นที่รัก ส่วนการพรากเด็กจากครอบครัวก็ก่อให้เกิดความเศร้าและความทุกข์ทรมานตามมาเช่นกัน ชุดกฎเกณฑ์ทั้งหลายที่ใช้คุ้มครองบุคคลผู้ได้รับผลกระทบจากการขัดกันทางอาวุธได้รับการพัฒนาขึ้นก็เพื่อป้องกันหรือบรรเทาความเสียหายจากความขัดแย้งให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กฎเกณฑ์เหล่านี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าจำเป็นสำหรับการบรรเทาความทุกข์ทรมานและคุ้มครองบุคคลจากการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสมหรือการถูกทำให้สูญหายในความขัดแย้ง ถึงกระนั้นก็ตาม กฎเกณฑ์เหล่านี้ได้เผชิญกับบททดสอบและข้อท้าทายมาโดยตลอด ข้อท้าทายบางอย่างมีที่มาจากการที่ภาคีคู่พิพาทในความขัดแย้งพยายามจำกัดขอบเขตความคุ้มครองให้พ้องกับการนำเสนอเรื่องราวที่มุ่งกีดกันไม่ให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลบางกลุ่มได้รับความคุ้มครอง ในบางครั้งจึงมีบุคคลที่ถูกคุมขังโดยไม่มีการให้เหตุผลหรือไม่มีกำหนดเวลา ในกรณีเช่นนี้ บุคคลดังกล่าวย่อมตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะถูกปฏิบัติโดยไม่เหมาะสมหรือประสบความยากลำบากทางกายภาพ นอกจากนี้ยังมีข้อท้าทายอื่นอันเกิดขึ้นจากการที่ไม่มีการดำเนินมาตรการที่จำเป็นเพื่อบังคับใช้กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศและป้องกันมิให้มีการละเมิดกฎหมายเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้น กล่าวโดยสรุปได้ว่า ยังขาดความพยายามที่เพียงพอในการพัฒนากฎหมาย ระบบและกระบวนการอันจำเป็นเพื่อให้กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศสามารถใช้คุ้มครองบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่จะต้องตีความพันธกรณีตามกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศโดยสุจริตและให้ความสำคัญกับการปรับใช้และปฏิบัติตามกฎหมายทั้งในเชิงนโยบายและกระบวนการภายใน เพื่อให้ความคุ้มครองภายใต้กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศได้รับการฟื้นฟู ท้ายที่สุด การบังคับใช้กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อคุ้มครองบุคคลจากอันตรายนั้นจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญสองประการ ...
ไขข้อสงสัยประเด็นกฎหมาย ‘พื้นที่สีเทา’ ‘การแข่งขัน’ ‘สงครามผสมผสาน’ หรือ ‘สงครามตัวแทน’ 20/11/2024, บทความ สถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์โลกในปัจจุบันถูกกำหนดโดยปัจจัยด้านความตึงเครียดระหว่างรัฐ ความไม่มั่นคงภายในประเทศ การแสดงอำนาจผ่านมาตรการบีบบังคับและมาตรการแอบแฝง รวมไปถึงสถานการณ์การขัดกันทางอาวุธที่เพิ่มขึ้น ในบางครั้ง มีการอธิบายสภาพการณ์อันซับซ้อนนี้ในเชิงการเมืองและการทหารว่าเป็น ‘การแข่งขัน’ ระหว่างรัฐ ในขณะที่มาตรการต่อต้านถูกนำเสนอว่าเป็น ‘สงครามผสมผสาน’ ส่วนการที่รัฐให้การสนับสนุนทั้งในทางการเมือง การเงินหรือทรัพยากรแก่ภาคีคู่พิพาทในสถานการณ์การขัดกันทางอาวุธนั้น ถูกนิยามว่าเป็น ‘สงครามตัวแทน’ คำว่า ‘การแข่งขัน (competition)’ มักใช้อธิบายสภาพความเป็นคู่แข่งระหว่างรัฐต่าง ๆ ในทางการเมือง เศรษฐกิจและการทหาร คำว่า ‘ภัยคุกคามผสมผสาน ...
การห้ามใช้อาวุธนิวเคลียร์ ปกป้องมนุษยชาติจากความทุกข์ทรมานเกินพรรณนา 30/10/2024, บทความ ตั้งแต่ ค.ศ. 1945 เป็นต้นมา กลุ่มองค์กรกาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (International Red Cross and Red Crescent Movement) ได้ออกมาแสดงความกังวลอย่างต่อเนื่องถึงผลกระทบด้านมนุษยธรรมที่เกิดจากพลังทำลายล้างของอาวุธนิวเคลียร์ และเรียกร้องให้รัฐต่าง ๆ ห้ามการใช้อาวุธเหล่านี้ โดยไอซีอาร์ซีได้เริ่มเรียกร้องให้มีการยกเลิกอาวุธนิวเคลียร์โดยสิ้นเชิงภายหลังเหตุการณ์ทิ้งระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรชิมะ ในเหตุการณ์นั้น เจ้าหน้าที่ไอซีอาร์ซีได้เห็นความพินาศจากการใช้อาวุธนิวเคลียร์ขณะปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับสภากาชาดญี่ปุ่นในการให้ความช่วยเหลือพลเรือนจำนวนหลายหมื่นคนที่บาดเจ็บและล้มตาย ประสบการณ์ในครั้งนั้นเป็นแรงผลักดันที่สำคัญต่อการทำงานของไอซีอาร์ซีและสมาชิกในกลุ่มองค์กรกาชาดฯ ทั้งหมด ตลอดหลายทศวรรษถัดมา กลุ่มองค์กรกาชาดฯ ...
75 ปี อนุสัญญาเจนีวา ข้อตกลงที่เราทุกคนเห็นพ้องต้องกัน 16/07/2024, บทความ ในปี 2024 ครบรอบ 75 ปี อนุสัญญาเจนีวาฉบับปี 1949 ถือเป็นโอกาสสำคัญให้มองย้อนหลังเพื่อทบทวนบทบาทพื้นฐานของอนุสัญญาเจนีวาในการปกป้องผู้คนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การขัดกันทางอาวุธ อนุสัญญาเจนีวาถือเป็นรากฐานของกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศที่ได้กล่าวถึงข้อกำหนดและขอบเขตในการทำสงคราม โดยเน้นย้ำว่า ไม่ว่าจะในสถานการณ์ใด ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และความเห็นอกเห็นใจย่อมต้องอยู่ในหลักปฏิบัติ ข้อกำหนดเหล่านี้ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ และแม้ว่าในปัจจุบันเราอาจอนุสัญญาเจนีวาถูกละเมิดอยู่บ้างในสถานการณ์ต่างๆ แต่ทุกครั้งที่กฎหมายเหล่านี้ได้รับการเคารพ ชีวิตของผู้คนย่อมได้รับการปกป้อง จุดเริ่มต้นและเป้าหมายของอนุสัญญาเจนีวา อนุสัญญาเจนีวาฉบับปี 1949 ประกอบไปด้วยอนุสัญญา 4 ฉบับ คือ ...
ความชอบธรรมในการประกาศสงครามและการทำสงครามที่เป็นธรรม jus ad bellum และ jus in bello คืออะไร? 10/05/2024, บทความ Jus ad bellum หรือ กฎหมายว่าด้วยการใช้กำลังทหาร หมายถึง เงื่อนไขที่รัฐอาจตัดสินใจก่อสงครามหรือใช้กองกำลังติดอาวุธ โดยข้อห้ามในการใช้กำลังในหมู่รัฐและข้อยกเว้น (การป้องกันตนเองและการอนุญาตให้ใช้กำลังโดยสหประชาชาติ) ซึ่งบรรจุอยู่ในกฎบัตรสหประชาชาติ ค.ศ. 1945 เป็นองค์ประกอบหลักของกฎหมายว่าด้วยการใช้กำลังทหาร . Jus in bello หรือ กฎหมายมนุษยธรรม หมายถึง กฎหมายที่กำกับการใช้กำลังทหารของฝ่ายต่างๆ ในการขัดกันทางอาวุธ กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศก็มีความหมายเช่นเดียวกับ ...
‘น้ำ’ กับ ‘งานมนุษยธรรม’ คุยกับวิศวกรของ ICRC เนื่องในวันน้ำโลก 20/03/2024, บทความ วันที่ 22 มีนาคม เป็นวันน้ำโลก (World Water Day) ซึ่งเป็นวันที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อทุกชีวิต นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่ามนุษย์สามารถมีชีวิตอยู่ได้ราว 3 สัปดาห์หากขาดอาหาร แต่สามารถมีลมหายใจได้เพียง 3 วัน หากปราศจากน้ำดื่ม อย่างไรก็ดี ทุกวันนี้ด้วยภาวะสงคราม ความขัดแย้ง ความไม่สงบต่างๆ การเข้าถึงน้ำสะอาดยังคงเป็นปัญหาใหญ่ และเป็นเรื่องจำเป็นถึงชีวิตสำหรับหลายพื้นที่ในปัจจุบัน ธันวิชช์ มหัทธนาสิงห์ ...
ในครอบครัวผู้สูญหาย เมื่อสตรีต้องกลายเป็นช้างเท้าหน้า เสียงจากศรีลังกาเนื่องในวันสตรีสากล 11/03/2024, บทความ ‘กว่าหมื่นคน’ คือจำนวนเคสคร่าวๆ ของครอบครัวผู้สูญหายในประเทศศรีลังกาที่ยังคงรอคอยข่าวคราวจากบุคคลอันเป็นที่รัก แม้ความขัดแย้งภายในประเทศจะจบลงเป็นเวลากว่า 10 ปี แล้วก็ตาม “บางบ้านผู้ชายออกไปร่วมรบและไม่ได้รับข่าวคราวอีกเลย มันเป็นความสูญเสียที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ทิ้งช่องว่างและสร้างผลกระทบให้คนที่อยู่ข้างหลังเป็นเวลาหลายสิบปี” บุณฑริก จำปาไทย เจ้าหน้าที่ฝ่ายคุ้มครองของเราที่ได้เข้าไปสัมผัสประสบการณ์ตรงในงานสานสัมพันธ์ครอบครัวของประเทศศรีลังกากล่าว “หากพี่ชายยังอยู่เขาคงจะอายุเท่านั้น หากสามียังอยู่บ้านเราคงจะเป็นแบบนี้” เป็นประโยคที่บุณฑริกได้ยินอยู่บ่อยครั้ง การสูญหายของผู้ชายที่เป็นความหวัง และเป็นช้างเท้าหน้า นำพาไปสู่ผลกระทบทั้งทางเศรษฐกิจและจิตใจ เพราะทำให้ผู้หญิงจำนวนมากต้องลุกขึ้นสู้เพื่อหาทางรอดให้ตัวเองและครอบครัว “เราเคยเจอแต่ผู้หญิงที่สู้ ไม่เคยเจอคนที่ไม่สู้ หลายครั้งที่ลงพื้นที่แล้วเจอภรรยาหรือคุณแม่ของบุคคลสูญหายมีแรงใจลุกขึ้นทำงานหลายๆ ...
รัสเซีย-ยูเครน ความขัดแย้งระหว่างประเทศนำไปสู่การสูญหายของบุคคล 23,000 ชีวิต 23/02/2024, บทความ คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศพยายามตามหาผู้สูญหาย 23,000 ชีวิต ซึ่งยังไม่ทราบชะตากรรม บางรายอาจถูกจับกุม ถูกสังหาร หรือขาดการติดต่อกับครอบครัวเพราะหลบหนีจากความขัดแย้ง ความเจ็บปวดจากการพลัดพราก ยิ่งเพิ่มเติมความทุกข์ให้กับครอบครัวของผู้สูญหายที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์อันยากลำบาก หลังการขัดกันทางอาวุธยกระดับขึ้นเมื่อสองปีก่อน ความต้องการด้านมนุษยธรรมมีแต่จะเพิ่มสูงขึ้น นั่นรวมไปถึงผู้คนหลายล้านที่ต้องพลัดถิ่น ทั้งภายในประเทศ และระหว่างประเทศ “การไม่ทราบชะตากรรมของบุคคลอันเป็นที่รักเป็นเรื่องสาหัสมาก นี่คือความจริงอันน่าสลดใจของหลายหมื่นครอบครัวที่ต้องอยู่กับความเจ็บปวดเรื่อยมา ครอบครัวมีสิทธิ์รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับญาติของตน และหากเป็นไปได้ พวกเขาจะต้องสามารถแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างกันได้” ซาน วูจาซานิน หัวหน้าสำนักงานกลางเพื่อสืบหาญาติ (Central ...