December 2024

การสร้างสมดุลโดยสุจริตระหว่างหลักมนุษยธรรมกับความจำเป็นทางทหารในการสู้รบ

การสร้างสมดุลโดยสุจริตระหว่างหลักมนุษยธรรมกับความจำเป็นทางทหารในการสู้รบ

, บทความ

ความทุกข์ทรมานและหายนะอันเกิดจากการขัดกันทางอาวุธในปัจจุบันนั้นรุนแรงมากจนแทบจะเกินคำบรรยาย ทั้งเมืองถูกทำลายราบคาบ โรงพยาบาลเหลือเพียงซากปรักหักพัง พลเรือนต้องดิ้นรนให้มีชีวิตรอดโดยปราศจากอาหาร น้ำ ไฟฟ้า หรือการดูแลทางการแพทย์ที่เพียงพอ ผู้คนได้รับบาดเจ็บ ทุพพลภาพถาวร จิตใจบอบช้ำอย่างแสนสาหัส และถูกสังหาร การขัดกันทางอาวุธยังทำลายระบบนิเวศ และทำให้วิกฤตสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศทั่วโลกทวีความรุนแรงอย่างรวดเร็วมากขึ้น หลักการและกฎเกณฑ์แห่งกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศว่าด้วยการสู้รบมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองพลเรือนและวัตถุพลเรือนจากอันตรายของปฏิบัติการทางทหาร โดยการพยายามรักษาสมดุลระหว่างความจำเป็นในการบรรลุเป้าหมายทางทหารอันชอบด้วยกฎหมายกับการจำกัดการสูญเสียชีวิต ความทุกข์ทรมาน ​การบาดเจ็บ และการทำลายล้างอันจะเกิดขึ้นจากการขัดกันทางอาวุธ แต่หลักการและกฎเกณฑ์นี้กำลังเผชิญปัญหาจากการถูกตีความอย่างกว้างจนเกินไปซึ่งบ่อนทำลายสมดุลอันละเอียดอ่อนและเจตนารมณ์ดั้งเดิมในการรักษาชีวิต เลี่ยงความเสียหายแก่พลเรือน วัตถุพลเรือน ตลอดจนธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ...
การยกระดับประสิทธิภาพในการคุ้มครองประชากรซึ่งตกอยู่ในมือของภาคีคู่พิพาทในการขัดกันทางอาวุธ

การยกระดับประสิทธิภาพในการคุ้มครองประชากรซึ่งตกอยู่ในมือของภาคีคู่พิพาทในการขัดกันทางอาวุธ

, บทความ

การขัดกันทางอาวุธสร้างความทุกข์ทรมานอันไม่อาจเลี่ยงได้ แม้ในสถานการณ์ความขัดแย้งซึ่งกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศได้รับการเคารพอย่างเคร่งครัดก็ยังมีบุคคลถูกคุมขังหรือถูกสังหาร บ่อยครั้งที่ผู้คนต้องพลัดพรากจากครอบครัวหรือสูญหายไปในการสู้รบ การสูญหายของผู้คนหลายพันสร้างความโกรธและทุกข์ทรมานอย่างยาวนานแก่บุคคลอันเป็นที่รัก ส่วนการพรากเด็กจากครอบครัวก็ก่อให้เกิดความเศร้าและความทุกข์ทรมานตามมาเช่นกัน ชุดกฎเกณฑ์ทั้งหลายที่ใช้คุ้มครองบุคคลผู้ได้รับผลกระทบจากการขัดกันทางอาวุธได้รับการพัฒนาขึ้นก็เพื่อป้องกันหรือบรรเทาความเสียหายจากความขัดแย้งให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กฎเกณฑ์เหล่านี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าจำเป็นสำหรับการบรรเทาความทุกข์ทรมานและคุ้มครองบุคคลจากการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสมหรือการถูกทำให้สูญหายในความขัดแย้ง ถึงกระนั้นก็ตาม กฎเกณฑ์เหล่านี้ได้เผชิญกับบททดสอบและข้อท้าทายมาโดยตลอด ข้อท้าทายบางอย่างมีที่มาจากการที่ภาคีคู่พิพาทในความขัดแย้งพยายามจำกัดขอบเขตความคุ้มครองให้พ้องกับการนำเสนอเรื่องราวที่มุ่งกีดกันไม่ให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลบางกลุ่มได้รับความคุ้มครอง ในบางครั้งจึงมีบุคคลที่ถูกคุมขังโดยไม่มีการให้เหตุผลหรือไม่มีกำหนดเวลา ในกรณีเช่นนี้ บุคคลดังกล่าวย่อมตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะถูกปฏิบัติโดยไม่เหมาะสมหรือประสบความยากลำบากทางกายภาพ นอกจากนี้ยังมีข้อท้าทายอื่นอันเกิดขึ้นจากการที่ไม่มีการดำเนินมาตรการที่จำเป็นเพื่อบังคับใช้กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศและป้องกันมิให้มีการละเมิดกฎหมายเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้น กล่าวโดยสรุปได้ว่า ยังขาดความพยายามที่เพียงพอในการพัฒนากฎหมาย ระบบและกระบวนการอันจำเป็นเพื่อให้กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศสามารถใช้คุ้มครองบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่จะต้องตีความพันธกรณีตามกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศโดยสุจริตและให้ความสำคัญกับการปรับใช้และปฏิบัติตามกฎหมายทั้งในเชิงนโยบายและกระบวนการภายใน เพื่อให้ความคุ้มครองภายใต้กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศได้รับการฟื้นฟู ท้ายที่สุด การบังคับใช้กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อคุ้มครองบุคคลจากอันตรายนั้นจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญสองประการ ...
ไอซีอาร์ซีเรียกร้องรัฐเคารพข้อห้ามตามอนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดสังหารบุคคล

ไอซีอาร์ซีเรียกร้องรัฐเคารพข้อห้ามตามอนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดสังหารบุคคล

, News / ไทย

สุนทรพจน์โดย จิลส์ คาร์บอนนิเยร์ รองประธานคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ไอซีอาร์ซี) ในโอกาสการประชุมทบทวนอนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดสังหารบุคคล ครั้งที่ 5 ณ จังหวัดเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2567 ฯพณฯ ฮุน มาเนต นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ฯพณฯ ลี ทุช ประธานการประชุมทบทวนครั้งที่ ...
សុន្ទរកថារបស់អនុប្រធាន ICRC លោក Gilles Carbonnier សន្និសីទត្រួតពិនិត្យឡើងវិញលើកទីប្រាំនៃរដ្ឋភាគី ចំពោះអនុសញ្ញាស្តីពីការហាមឃាត់ការប្រើប្រាស់ ការស្តុកទុក ការផលិត និងការផ្ទេរមីនប្រឆាំងមនុស្ស និងការបំផ្លាញចោល សៀមរាប-អង្គរ ថ្ងៃទី២៥ ខែវិច្ឆិកា ឆ្នាំ២០២៤

សុន្ទរកថារបស់អនុប្រធាន ICRC លោក Gilles Carbonnier សន្និសីទត្រួតពិនិត្យឡើងវិញលើកទីប្រាំនៃរដ្ឋភាគី ចំពោះអនុសញ្ញាស្តីពីការហាមឃាត់ការប្រើប្រាស់ ការស្តុកទុក ការផលិត និងការផ្ទេរមីនប្រឆាំងមនុស្ស និងការបំផ្លាញចោល សៀមរាប-អង្គរ ថ្ងៃទី២៥ ខែវិច្ឆិកា ឆ្នាំ២០២៤

, News / ភាសាខ្មែរ

សម្ដេចមហាបវរធិបតី ហ៊ុន ម៉ាណែត នាយករដ្ឋមន្ត្រីនៃព្រះ​រាជាណាចក្រ​កម្ពុជា ជាទីគោរព ឯក​ឧត្តម​លី ធុជ ប្រធាន​​សន្និសីទ​ត្រួត​ពិនិត្យ​ឡើង​វិញ​លើក​ទី​៥​ ឯក​ឧត្តម លោក​ជំទាវ​ លោក​ លោក​ស្រី​ និង​ក្រុម​ការងារ​ទាំង​អស់​ ជាទីគោរព និងជាទីរាប់អាន ខ្ញុំមានសេចក្តីសោមនស្សរីករាយតំណាងឱ្យ​គណៈកម្មាធិការអន្តរជាតិនៃកាកបាទក្រហម ឡើង​ថ្លែង​សុន្ទរ កថា​នៅ​ក្នុងសន្និសីទត្រួតពិនិត្យឡើង​វិញ​លើកទីប្រាំនៃអនុសញ្ញាហាមប្រាមការ​ប្រើ​ប្រាស់​មីនប្រឆាំងមនុស្ស។ ប្រទេស​កម្ពុជា​ គឺ​ជា​ផ្នែក​មួយ​នៃ​បណ្ដុំ​​ចលនា​សកល​សម្រាប់​ពិភពលោកមួយ​ដែល​​គ្មាន​មីន​ ហើយ​ខ្ញុំ​សូម​ថ្លែង​អំណរ​គុណ​ដល់​ម្ចាស់​ផ្ទះកិច្ច​ប្រជុំ ដែល​បាន​ស្វាគមន៍​ពួក​យើង​មក​កាន់​តំបន់​បេតិកភណ្ឌ​ពិភពលោក​ដ៏​ពិសេស​នេះ​នៅ​ខេត្ត​សៀម​រាប។ ខ្ញុំ​សូម​ចាប់​ផ្ដើម​ ...