ในช่วงเวลาแห่งความไร้เสถียรภาพและเต็มไปด้วยความขัดแย้ง รัฐต้องร่วมมือกันธำรงรักษาและส่งเสริมกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ 25/07/2024, News นครเจนีวา (ไอซีอาร์ซี) – ในช่วงเวลาที่สถานการณ์โลกทวีความตึงเครียด และการขัดกันทางอาวุธเพิ่มจำนวนและระดับความรุนแรง รัฐต่าง ๆ ต้องเผชิญกับข้อกังวลด้านความมั่นคงอย่างใหญ่หลวง ส่งผลให้กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศมีบทบาทสำคัญมากขึ้นกว่าที่เคยเป็นมา คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ไอซีอาร์ซี) จึงมีความกังวลเป็นอย่างยิ่งว่า สนธิสัญญาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศอาจถูกมองเป็นเครื่องมือที่รัฐรับรองไว้ในยามสันติและมั่นคง แต่กลับมองข้ามไปเมื่อต้องเผชิญหน้ากับภัยคุกคามความมั่นคงที่รุนแรงหรือสถานการณ์การขัดกันทางอาวุธที่ลุกลาม ซึ่งมุมมองนี้ขัดแย้งกับแนวคิดเรื่องกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศอย่างสิ้นเชิง แต่เราได้เห็นแนวโน้มของการใช้มุมมองเช่นนี้ จากกรณีที่รัฐสภาสาธารณรัฐลิทัวเนียลงคะแนนเสียงถอนตัวจากภาคีอนุสัญญาว่าด้วยระเบิดพวง ซึ่งได้สร้างบรรทัดฐานครั้งสำคัญ อันเป็นสิ่งที่น่ากังวลและส่งผลอันกว้างไกลไปกว่าตัวอนุสัญญาฉบับนี้เสียอีก การรักษาและส่งเสริมกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศถือเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของทุกรัฐ ด้วยเหตุนี้ แม้ว่าสถานการณ์ด้านความมั่นคงและการขัดกันทางอาวุธทั่วโลกจะแปรเปลี่ยนอยู่เสมอ ก็ไม่มีรัฐใดถอนตัวจากสนธิสัญญาพหุภาคีทั้ง ...
75 ปี อนุสัญญาเจนีวา ข้อตกลงที่เราทุกคนเห็นพ้องต้องกัน 16/07/2024, บทความ ในปี 2024 ครบรอบ 75 ปี อนุสัญญาเจนีวาฉบับปี 1949 ถือเป็นโอกาสสำคัญให้มองย้อนหลังเพื่อทบทวนบทบาทพื้นฐานของอนุสัญญาเจนีวาในการปกป้องผู้คนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การขัดกันทางอาวุธ อนุสัญญาเจนีวาถือเป็นรากฐานของกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศที่ได้กล่าวถึงข้อกำหนดและขอบเขตในการทำสงคราม โดยเน้นย้ำว่า ไม่ว่าจะในสถานการณ์ใด ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และความเห็นอกเห็นใจย่อมต้องอยู่ในหลักปฏิบัติ ข้อกำหนดเหล่านี้ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ และแม้ว่าในปัจจุบันเราอาจอนุสัญญาเจนีวาถูกละเมิดอยู่บ้างในสถานการณ์ต่างๆ แต่ทุกครั้งที่กฎหมายเหล่านี้ได้รับการเคารพ ชีวิตของผู้คนย่อมได้รับการปกป้อง จุดเริ่มต้นและเป้าหมายของอนุสัญญาเจนีวา อนุสัญญาเจนีวาฉบับปี 1949 ประกอบไปด้วยอนุสัญญา 4 ฉบับ คือ ...