เครื่องหมายกาชาด เสี้ยววงเดือนแดง และ คริสตัลแดง เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้กันทั่วโลก โดยมีวัตถุประสงค์หลักสองประการคือ เพื่อบ่งชี้ และ เพื่อคุ้มครอง เจ้าหน้าที่บรรเทาทุกข์ บุคลากรทางการแพทย์ อาคารสถานที่ และยานพาหนะ ทั้งในสถานการณ์ขัดแย้งและในภาวะสันติ ตามเจตนารมย์ของนายอังรี ดูนังต์ นักธุรกิจชาวสวิส ผู้ก่อตั้งคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ หรือ ไอซีอาร์ซี เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2406 เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบ ภายหลังจากที่เขาพบกับภาพอันเลวร้ายจากเหตุการณ์สู้รบที่เมืองซอลเฟอริโน ประเทศอิตาลี

 

เครื่องหมายทั้งสามแบบแสดงออกถึงความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และสงวนไว้ซึ่งความเป็นกลาง ไม่เลือกปฏิบัติ ทั้งทางการเมือง เชื้อชาติและศาสนา  สัญลักษณ์ทั้งสามได้รับการรับรองโดยกฏหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ ธรรมนูญกาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศรวมถึง กฏหมายของประเทศไทย

เพื่อรับรองว่าทุกฝ่ายจะให้ความเคารพและคุ้มครองสัญลักษณ์แห่งมนุษยธรรมดังกล่าว รัฐภาคีแต่ละรัฐ มีบททาทตามอนุสัญญาเจนีวา พ.ศ. 2492 ในการประกาศใช้กฏหมายระหว่างประเทศ เพื่อควบคุมการใช้สัญลักษณ์ในทางที่ผิด หรือโดยไม่ได้รับอนุญาต เนื่องจากการใช้เครื่องหมายกาชาดในทางที่ผิดไม่ว่าจะในรูปแบบใดก็ตามอาจบั่นทอนคุณค่าของสัญลักษณ์ในการให้ความคุ้มครองและลดประสิทธิภาพในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ซึ่งมีการนำมาปฏิบัติใช้มากว่า 150 ปี

การใช้เครื่องหมายกาชาดในทางที่ผิด

misuse1

misuse2

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  • การลอกเลียนสัญลักษณ์ (IMITATION)

การใช้เครื่องหมายซึ่งมีรูปร่าง และ/หรือ สีที่อาจสร้างความสับสนกับสัญลักษณ์ใด สัญลักษณ์หนึ่งของสภากาชาด และสภาเสี้ยววงเดือนแดง

  • การใช้สัญลักษณ์ในทางไม่เหมาะสม (IMPROPER USE)

การใช้เครื่องหมายในลักษณะใดก็ตามที่ไม่เป็นไปตามกฏเกณฑ์ของกฏหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ การใช้สัญลักษณ์โดยบุคคลหรือหน่วยงานที่ไม่ได้รับอนุญาต (บริษัทห้างร้านต่าง ๆ เภสัชกร แพทย์ เอกชน องค์กรอิสระ ประชาชนทั่วไป ฯลฯ) หรือ เพื่อจุดมุ่งหมายที่ไม่สอดคล้องกับหลักการพื้นฐานของกลุ่มองค์กรกาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ

misuse3

  • การใช้สัญลักษณ์เพื่อเป็นกลลวงคู่ต่อสู้ (PERFIDY)
  • การใช้สัญลักษณ์ในยามสู้รบเพื่อให้ความคุ้มครองพลรบและยุทโธปกรณ์ โดยมีเจตนาเพื่อลวงให้ฝ่ายตรงข้ามเข้าใจผิด หากการใช้สัญลักษณ์กาชาดในทางทุจริตก่อให้เกิดการเสียชีวิตหรือทำให้มีผู้ได้รับการบาดเจ็บสาหัส การกระทำนั้นถือเป็นอาชญากรรมสงคราม

อย่างไรก็ตาม การออกข้อบังคับหรือมาตรการทางกฏหมายไม่ใช่วัตถุประสงค์เดียวในการป้องกันและปราบปรามการใช้สัญลักษณ์ในทางที่ผิด ไอซีอาร์ซี สหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่งประเทศได้สนับสนุนสภากาชาดไทย ในการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้ข้อมูลแก่ภาคธุรกิจ และภาคสังคม ตลอดทั้งหน่วยงานด้านสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ตระหนักถึงการใช้สัญลักษณ์แห่งมนุษยธรรมนี้อย่างถูกต้อง

นอกจากนี้ผ่ายบริการให้คำปรึกษาด้านกฏหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศของไอซีอาร์ซี ยังได้จัดทำกฏหมายต้นแบบที่มีความครอบคลุมทั้งในด้านการใช้เครื่องหมายกาชาดและการให้ความคุ้มครอง มีการเชิญชวนให้รัฐ  ต่าง ๆ นำกฏหมายต้นแบบไปใช้เป็นพื้นฐานหรือแนวทางในการร่างกฏหมายในประเทศของตนต่อไป