เมื่อเดือนมิถุนายน 2555 ทีมบาสเก็ตบอลคนพิการหญิงของกัมพูชาที่ได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ หรือ ไอซีอาร์ซี ได้ถูกจัดตั้งขึ้นที่จังหวัดพระตะบอง ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของกัมพูชา นับแต่นั้นจุดเริ่มต้นเล็กๆนี้ได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในชีวิตครั้งใหญ่ของผู้หญิงหลายคนที่ใช้ชีวิตอยู่กับความพิการ

ลอส นีโมล อายุ 19 ปี ตอนที่เธอเหยียบกับระเบิด เธอต้องเผชิญกับการถูกปฏิเสธจากเพื่อนฝูงและสังคมรอบข้าง แล้วเธอก็ได้หันมาเผชิญกับความจริงที่เกิดขึ้นกับชีวิต เธอบอกว่าครอบครัวเป็นกำลังใจสำคัญที่ทำให้เธอสามารถต่อสู้กับสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างกล้าหาญ

“หลังจากที่ฉันเหยียบกับระเบิด ฉันก็ไม่รู้หรอกว่ามันเกิดอะไรขึ้น” เธอระลึกถึงความหลัง “แต่เมื่อฉันตื่นขึ้นมาในโรงพยาบาล คุณหมอก็บอกว่าฉันได้สูญเสียขาไปข้างหนึ่ง ตอนนั้นฉันรู้สึกสิ้นหวังไม่มีกำลังใจเหลืออีกต่อไปในชีวิต”

นีโมลเป็นหนึ่งในคนพิการจำนวนประมาณ 150,000 คนในประเทศกัมพูชา คนพิการส่วนใหญ่ต้องเผชิญกับความเจ็บปวดจากผลกระทบภายหลังจากความขัดแย้งอย่างรุนแรงที่เกิดขึ้นในประเทศระหว่างปี 2512-2542

ความเข้มแข็งและความสามัคคีกันในการกีฬา

ความเปลี่ยนแปลงในชีวิตของนีโมลเกิดขึ้นเมื่อเธอได้พบกับซก จัน กัปตันทีมบาสเก็ตบอลคนพิการหญิงของกัมพูชาซึ่งฝึกซ้อมอยู่ที่ศูนย์ฟื้นฟูทางกายภาพในจังหวัดพระตะบอง โดยที่ศูนย์แห่งนี้ได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ หรือ ไอซีอาร์ซี ซก จัน ได้ชักชวนให้นีโมลเข้ารับการช่วยเหลือจากทางศูนย์และยังได้ชักชวนให้เธอเข้าร่วมกับทีมบาสเก็ตบอลอีกด้วย

ตั้งแต่นั้นนีโมลก็ไม่เคยหวนกลับไปมองยังจุดเดิมอีกเลย

ที่ศูนย์ฟื้นฟูทางกายภาพ นีโมลได้พบกับเพื่อนคนพิการคนอื่นๆที่เข้มแข็งซึ่งทำให้เธอได้เรียนรู้ถึงการใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าอีกครั้ง ทุกวันนี้เธอเป็นสมาชิกของทีมบาสเก็ตบอลคนพิการหญิงของกัมพูชาและเป็นกระบอกเสียงให้กับสิทธิของคนพิการในประเทศ

กัวลาลัมเปอร์-ซก จัน กัปตันทีมบาสเก็ตบอลคนพิการหญิงกัมพูชารับของที่ระลึกกจาก Yang Berhormat Dato'Sri Rohani Abdul Karim รัฐมนตรีกระทรวงสตรี ครอบครัว และการพัฒนาชุมชนของมาเลเซีย

กัวลาลัมเปอร์-ซก จัน กัปตันทีมบาสเก็ตบอลคนพิการหญิงกัมพูชารับของที่ระลึกกจาก Yang Berhormat Dato’Sri Rohani Abdul Karim รัฐมนตรีกระทรวงสตรี ครอบครัว และการพัฒนาชุมชนของมาเลเซีย

นีโมลกล่าวถึงประสบการณ์ในชีวิตของเธอว่า

“ตอนนี้ฉันสามารถพูดคุยถึงปัญหาของตัวเองกับคนอื่นๆที่ใช้ชีวิตอยู่กับความพิการและบอกตัวเองให้เข้มแข็งได้ ก่อนหน้านี้หลายคนมองว่าฉันเป็นเพียงคนพิการและคงจะไม่สามารถทำอะไรได้ ”

ขณะที่ผู้คนส่วนใหญ่ในกัมพูชายังคงมีทัศนคติในแง่ลบกับคนพิการแต่วันนี้นักกีฬาหญิง 40 คน กลับได้รับประโยชน์จากโครงการฟื้นฟูทางกายภาพที่ได้รับการสนับสนุนจากไอซีอาร์ซีในจังหวัดพระตะบองและกัมปงสปือ

ในเดือนตุลาคม 2558 นักกีฬาหญิง 8 คน ถูกคัดเลือกจากศูนย์ในสองจังหวัดเพื่อให้เป็นตัวแทนเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาบาสเก็ตบอลนัดกระชับมิตรในกรุงกัวลาลัมเปอร์พร้อมกับนักกีฬาจากสหพันธ์กีฬาบาสเก็ตบอลคนพิการของมาเลเซีย

มากกว่าเกมการแข่งขัน

การแข่งขัน-ซึ่งเป็นนัดกระชับมิตรแสดงให้เห็นถึงความสามารถของนักกีฬาไม่ใช่ความพิการของพวกเขา-เป็นการแข่งขันที่จัดขึ้นโดยไอซีอาร์ซีและสำนักงานอาเซียนแห่งชาติของมาเลเซียเนื่องในโอกาสจัดเวทีอภิปรายสำหรับผู้พิการอาเซียนประจำปี 2558 แขกที่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมงานนี้มีตั้งแต่ตัวแทนรัฐบาล หน่วยงาน และ องค์การที่ทำงานเกี่ยวกับผู้พิการ-ซึ่งทั้งหมดล้วนเปล่งเสียงเชียร์ให้กำลังใจนักกีฬาขณะกำลังทำการแข่งขัน

เจเรอมี่ อิงแลนด์ หัวหน้าสำนักงานไอซีอาร์ซีประจำกรุงกัวลาลัมเปอร์ของมาเลเซียเปิดเผยว่า เขารู้สึกซาบซึ้งใจเป็นอย่างยิ่งสำหรับการสนับสนุนที่ได้รับจากสำนักงานอาเซียนแห่งชาติ “เรายินดีกับการร่วมมือในครั้งนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสนับสนุนวิสัยทัศน์ของอาเซียนในประเด็นเกี่ยวกับความแตกต่างของผู้คน และชุมชนศูนย์กลางของผู้คนที่ทุกๆคน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและภาคส่วนต่างๆของสังคมจะมีส่วนและได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมและการเชื่อมโยงกันของชุมชน”

เหนือสิ่งอื่นใดการแข่งขันในครั้งนี้ได้เปิดโอกาสให้ไอซีอาร์ซีได้ตอกย้ำถึงความสำคัญของการนำคนพิการกลับคืนสู่สังคมอีกด้วย

กัวลาลัมเปอร์-นักกีฬาของทีมกัมพูชาและมาเลเซียระหว่างเกมการแข่งขัน

กัวลาลัมเปอร์-นักกีฬาของทีมกัมพูชาและมาเลเซียระหว่างเกมการแข่งขัน

คุณบาร์ท เวอไมเรน หัวหน้าสำนักงานไอซีอาร์ซีประจำกัมพูชากล่าวว่า “วัตถุประสงค์ทั้งหมดไม่ใช่เพียงแค่การฝึกทักษะบาสเก็ตบอลเท่านั้น เราต้องการให้ผู้หญิงเหล่านี้มีความมั่นใจและเชื่อมั่นในตัวเองแม้จะต้องเผชิญกับความพิการก็ตาม พวกเธอต้องเชื่อมั่นในสิ่งที่พวกเธอทำได้ ในสิ่งที่พวกเธอสร้างมันขึ้นมาได้ และ ความมั่นใจเหล่านี้จะช่วยให้พวกเธอกลับไปใช้ชีวิตในสังคมเดิมได้อย่างภาคภูมิใจ”

การแข่งขันนัดกระชับมิตรในมาเลเซียครั้งนี้เป็นก้าวแรกไปสู่การแข่งขันนัดระดับนานาชาติอื่นๆสำหรับทีมกัมพูชา สมาชิกทั้ง 8 คน แสดงความตื่นเต้นที่ได้เดินทางมายังมาเลเซียเป็นครั้งแรกและมองไปยังอนาคตข้างหน้าที่การแข่งขันกีฬาอาเซียนพาราลิมปิคเกมส์ครั้งที่ 8 ที่ประเทศสิงคโปร์ในเดือนธันวาคม

กัมพูชา-ผู้เชี่ยวชาญของไอซีอาร์ซีประเมินลักษณะของผู้พิการที่ศูนย์ฟื้นฟูทางกายภาพที่จังหวัดพระตะบอง

กัมพูชา-ผู้เชี่ยวชาญของไอซีอาร์ซีประเมินลักษณะของผู้พิการที่ศูนย์ฟื้นฟูทางกายภาพที่จังหวัดพระตะบอง

ฟิลิป มอร์แกน ผู้จัดการโครงการฟื้นฟูทางกายภาพของไอซีอาร์ซีประจำกัมพูชากล่าวว่า “นักกีฬาทั้งหมดฝึกซ้อมอย่างหนักและเรียนรู้ทักษะใหม่ๆที่พวกเธอต้องการจะไปนำไปใช้ในการแข่งขันระดับภูมิภาคและที่อื่นๆ เราต้องการให้พวกเธอเป็นตัวอย่างและกระบอกเสียงให้กับคนพิการ-จริงๆแล้วก็คือแชมเปี้ยนหน้าใหม่จากกัมพูชานั่นเอง”

ผู้นำในด้านการฟื้นฟูทางกายภาพ

โครงการฟื้นฟูทางกายภาพของไอซีอาร์ซีที่ศูนย์กระจายอยู่ทั่วโลก 163 แห่ง ใน 48 ประเทศ ผู้คนหลายแสนคนได้รับประโยชน์จากบริการของศูนย์ไม่ว่าจะเป็น อุปกรณ์แขนขาเทียม เก้าอี้รถเข็นสำหรับคนพิการ และ ไม้ค้ำยัน รวมถึงการทำกายภาพบำบัด

กัมพูชา-เจ้าหน้าที่ใช้วัสดุที่เรียกว่าโพลีโพรพิลีนในการผลิตแขนขาเทียม

กัมพูชา-เจ้าหน้าที่ใช้วัสดุที่เรียกว่าโพลีโพรพิลีนในการผลิตแขนขาเทียม

ในประเทศกัมพูชา ไอซีอาร์ซีทำงานร่วมกับกระทรวงสวัสดิการสังคม ทหารผ่านศึก และการฟื้นฟูเยาวชนของกัมพูชาอย่างใกล้ชิดในการสนับสนุนศูนย์ฟื้นฟูทางกายภาพในจังหวัดพระตะบองและกัมปงสปือรวมทั้งโรงงานผลิตอุปกรณ์แขนขาเทียมในกรุงพนมเปญ ปัจจุบันโรงงานแห่งนี้ผลิตชิ้นส่วนแขนขาเทียมปีระมาณ 13,000 ชิ้นรวมถึงไม้ค้ำยัน 4,300 คู่ เพื่อส่งไปยังศูนย์ฟื้นฟูทางภายภาพ 11 แห่งทั่วประเทศกัมพูชา

เรื่องราวของทีมบาสเก็ตบอลคนพิการหญิงของกัมพูชาได้ถูกตีพิมพ์ในหน้าเวบไซด์ของ Star2.com มาเลเซีย

http://www.star2.com/people/2015/11/10/these-wheelchair-basketball-team-will-run-rings-around-you/