Tag religious dialogue

การบรรเทาความทุกข์ทรมานในภาวะสงคราม: ความสอดคล้องกันระหว่างพุทธศาสนากับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ

การบรรเทาความทุกข์ทรมานในภาวะสงคราม: ความสอดคล้องกันระหว่างพุทธศาสนากับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ

หลักธรรมคำสอนของศาสนาพุทธมุ่งส่งเสริมให้ผู้คนมีความเห็นอกเห็นใจกันและไม่ใช้ความรุนแรงเป็นสำคัญ ดังนั้น ประเด็นเรื่องการที่พุทธศาสนาจะมีส่วนช่วยกำกับดูแลกรณีเกิดสงครามได้อย่างไรบ้างจึงไม่ค่อยได้รับการพิจารณาถึงมากนัก แต่การที่พุทธศาสนามุ่งบรรเทาความทุกข์ทรมานของผู้คนก็ถือว่ามีความสำคัญจำเป็นอย่างยิ่งต่อห้วงยามที่เกิดการสู้รบ และพุทธศาสนาเองยังมีหลักธรรมคำสอนและทรัพยากรอีกมากมาย โดยเฉพาะเรื่องของความตื่นรู้ในทิศทางของเทคโนโลยี ที่จะเป็นแนวทางให้แก่พลรบและช่วยบรรเทาความทุกข์ที่เกิดขึ้นจากผลของการกระทำของพลรบได้ด้วย แม้นในสงครามจักพิชิตนักรบนับพันคนและนับพันหน แต่การพิชิตอันยิ่งใหญ่มีเพียงหนึ่งเดียวคือ การพิชิตใจตน พระธรรมบท ข้อ 103 (แปลโดย ปีเตอร์ ฮาร์วีย์) คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) ริเริ่มบุกเบิกจัดทำโครงการวิจัยในหัวข้อดังกล่าวข้างต้น และผลของงานวิจัยในครั้งนี้ได้ก่อกำเนิดเป็นบทความวิชาการที่เปี่ยมด้วยเนื้อหาข้อมูลเชิงลึก เรื่อง “การบรรเทาความทุกข์ทรมานในภาวะสงคราม: ความสอดคล้องกันระหว่างพุทธศาสนากับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ” ...
ගැටුම් මධ්‍යයේ දුක් පීඩා අඩු කිරීම: බුදුදහම සහ ජාත්‍යන්තර මානුෂීය නීතිය (IHL) හමුවන තැන

ගැටුම් මධ්‍යයේ දුක් පීඩා අඩු කිරීම: බුදුදහම සහ ජාත්‍යන්තර මානුෂීය නීතිය (IHL) හමුවන තැන

බෞද්ධ ඉගැන්වීම් දයානුකම්පාව සහ අවිහිංසාව දිරිමත් කරන බැවින්, යුද්ධයේ හැසිරීම නියාමනය කිරීමට බුදුදහම දායක විය හැකි ආකාරය පිළිබඳව සාපේක්ෂව අඩු අවධානයක් යොමු වී ...
พุทธศาสนาและกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ : การบรรยายโดย แอนดรูว์ บาร์เทิล-สมิธ

พุทธศาสนาและกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ : การบรรยายโดย แอนดรูว์ บาร์เทิล-สมิธ

พุทธศาสนาเป็นศาสนาที่หลายคนรู้จักและเข้าใจว่าเป็นศาสนาแห่งอหิงสา (ความไม่เบียดเบียนและการเว้นจากการทำร้าย) และบ่อยครั้งมีการนำพุทธศาสนามาใช้ในบริบทของความขัดแย้ง ไม่ว่าจะเป็นเพื่อการป้องกัน การเจรจา รวมถึงแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง แต่ที่ผ่านมา มีการวิจัยค่อนข้างน้อยเกี่ยวกับทัศนคติของพุทธศาสนาที่มีต่อสถานการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นโดยไม่อาจป้องกันได้หรือยังเกิดขึ้นอยู่ ดังนั้น ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) จึงพยายามเชื่อมประสานและสัมพันธ์กับวงการพุทธศาสนาทั้งในภูมิภาคเอเชียและภูมิภาคอื่น เพื่อบุกเบิกริเริ่มศึกษาวิจัยเกี่ยวกับทัศนคติของพุทธศาสนาและหลักธรรมคำสอนที่มีต่อการทำสงคราม รวมถึงความสอดคล้องเชื่อมโยงกันของพุทธศาสนากับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (International Humanitarian Law – IHL) ในการบรรเทาอันตรายและความทุกข์ทรมานจากความขัดแย้งที่เกิดขึ้น แอนดรูว์ บาร์เทิล-สมิธ ...
กฎหมายมนุษยธรรมอิสลาม: การนำเสนอโดย ดร. ซีอาเลาะห์ ราห์มานี

กฎหมายมนุษยธรรมอิสลาม: การนำเสนอโดย ดร. ซีอาเลาะห์ ราห์มานี

คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) ได้ศึกษาความสอดคล้องเชื่อมโยงกันของกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (IHL) ที่มีร่วมกับศาสนาต่าง ๆ มาเป็นเวลาหลายปีแล้ว โดยมุ่งหมายสำคัญของการศึกษาคือเพื่อเรียนรู้และกระตุ้นส่งเสริมให้เกิดการพูดคุยอภิปรายระหว่างกันเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ที่มีความสำคัญ เช่น ศาสนาอิสลามนั้นเป็นศาสนาหนึ่งที่มีชุดกฎหมายมนุษยธรรมเป็นของตัวเองและนำชุดกฎหมายนี้มาใช้ในการบรรเทาความทุกข์ทรมานในสถานการณ์การขัดกันทางอาวุธ ในการบรรยายอันเป็นส่วนหนึ่งของโครงการหลักสูตร “ความขัดแย้ง ความรุนแรง และงานด้านมนุษยธรรม” ซึ่ง สถาบันพระปกเกล้า จัดขึ้นร่วมกับ ICRC และมูลนิธิสถาบันการจัดการวิถีพุทธเพื่อสุขและสันติ (มูลนิธิ สกพ.) ...