Tag Thai

[วิดีโอ] การนำเสนอผลงานบางส่วนที่ได้รับการคัดเลือกจากการประชุมฯ พุทธศาสนากับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ พ.ศ. 2565 ณ จ.เชียงใหม่

[วิดีโอ] การนำเสนอผลงานบางส่วนที่ได้รับการคัดเลือกจากการประชุมฯ พุทธศาสนากับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ พ.ศ. 2565 ณ จ.เชียงใหม่

การนำเสนอผลงานบางส่วนที่ได้รับการคัดเลือกจากการประชุมวิชาการระดับนานาชาติในหัวข้อ “การบรรเทาความทุกข์ทรมานในภาวะสงคราม: ความสอดคล้องกันระหว่างพุทธศาสนากับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ” ณ จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 9 – 10 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ซึ่งจัดร่วมกับคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยพุทธศาสนาแห่งรัฐฉาน ประเทศพม่า และคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) “หลักความเสียหายข้างเคียงในกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศและหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา: การศึกษาเปรียบเทียบ” พระคุณเจ้ามหินดา ...
การบรรเทาความทุกข์ทรมานในภาวะสงคราม: ความสอดคล้องกันระหว่างพุทธศาสนากับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ

การบรรเทาความทุกข์ทรมานในภาวะสงคราม: ความสอดคล้องกันระหว่างพุทธศาสนากับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ

หลักธรรมคำสอนของศาสนาพุทธมุ่งส่งเสริมให้ผู้คนมีความเห็นอกเห็นใจกันและไม่ใช้ความรุนแรงเป็นสำคัญ ดังนั้น ประเด็นเรื่องการที่พุทธศาสนาจะมีส่วนช่วยกำกับดูแลกรณีเกิดสงครามได้อย่างไรบ้างจึงไม่ค่อยได้รับการพิจารณาถึงมากนัก แต่การที่พุทธศาสนามุ่งบรรเทาความทุกข์ทรมานของผู้คนก็ถือว่ามีความสำคัญจำเป็นอย่างยิ่งต่อห้วงยามที่เกิดการสู้รบ และพุทธศาสนาเองยังมีหลักธรรมคำสอนและทรัพยากรอีกมากมาย โดยเฉพาะเรื่องของความตื่นรู้ในทิศทางของเทคโนโลยี ที่จะเป็นแนวทางให้แก่พลรบและช่วยบรรเทาความทุกข์ที่เกิดขึ้นจากผลของการกระทำของพลรบได้ด้วย แม้นในสงครามจักพิชิตนักรบนับพันคนและนับพันหน แต่การพิชิตอันยิ่งใหญ่มีเพียงหนึ่งเดียวคือ การพิชิตใจตน พระธรรมบท ข้อ 103 (แปลโดย ปีเตอร์ ฮาร์วีย์) คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) ริเริ่มบุกเบิกจัดทำโครงการวิจัยในหัวข้อดังกล่าวข้างต้น และผลของงานวิจัยในครั้งนี้ได้ก่อกำเนิดเป็นบทความวิชาการที่เปี่ยมด้วยเนื้อหาข้อมูลเชิงลึก เรื่อง “การบรรเทาความทุกข์ทรมานในภาวะสงคราม: ความสอดคล้องกันระหว่างพุทธศาสนากับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ” ...
พุทธศาสนาและกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ : การบรรยายโดย แอนดรูว์ บาร์เทิล-สมิธ

พุทธศาสนาและกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ : การบรรยายโดย แอนดรูว์ บาร์เทิล-สมิธ

พุทธศาสนาเป็นศาสนาที่หลายคนรู้จักและเข้าใจว่าเป็นศาสนาแห่งอหิงสา (ความไม่เบียดเบียนและการเว้นจากการทำร้าย) และบ่อยครั้งมีการนำพุทธศาสนามาใช้ในบริบทของความขัดแย้ง ไม่ว่าจะเป็นเพื่อการป้องกัน การเจรจา รวมถึงแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง แต่ที่ผ่านมา มีการวิจัยค่อนข้างน้อยเกี่ยวกับทัศนคติของพุทธศาสนาที่มีต่อสถานการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นโดยไม่อาจป้องกันได้หรือยังเกิดขึ้นอยู่ ดังนั้น ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) จึงพยายามเชื่อมประสานและสัมพันธ์กับวงการพุทธศาสนาทั้งในภูมิภาคเอเชียและภูมิภาคอื่น เพื่อบุกเบิกริเริ่มศึกษาวิจัยเกี่ยวกับทัศนคติของพุทธศาสนาและหลักธรรมคำสอนที่มีต่อการทำสงคราม รวมถึงความสอดคล้องเชื่อมโยงกันของพุทธศาสนากับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (International Humanitarian Law – IHL) ในการบรรเทาอันตรายและความทุกข์ทรมานจากความขัดแย้งที่เกิดขึ้น แอนดรูว์ บาร์เทิล-สมิธ ...
กฎหมายมนุษยธรรมอิสลาม: การนำเสนอโดย ดร. ซีอาเลาะห์ ราห์มานี

กฎหมายมนุษยธรรมอิสลาม: การนำเสนอโดย ดร. ซีอาเลาะห์ ราห์มานี

คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) ได้ศึกษาความสอดคล้องเชื่อมโยงกันของกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (IHL) ที่มีร่วมกับศาสนาต่าง ๆ มาเป็นเวลาหลายปีแล้ว โดยมุ่งหมายสำคัญของการศึกษาคือเพื่อเรียนรู้และกระตุ้นส่งเสริมให้เกิดการพูดคุยอภิปรายระหว่างกันเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ที่มีความสำคัญ เช่น ศาสนาอิสลามนั้นเป็นศาสนาหนึ่งที่มีชุดกฎหมายมนุษยธรรมเป็นของตัวเองและนำชุดกฎหมายนี้มาใช้ในการบรรเทาความทุกข์ทรมานในสถานการณ์การขัดกันทางอาวุธ ในการบรรยายอันเป็นส่วนหนึ่งของโครงการหลักสูตร “ความขัดแย้ง ความรุนแรง และงานด้านมนุษยธรรม” ซึ่ง สถาบันพระปกเกล้า จัดขึ้นร่วมกับ ICRC และมูลนิธิสถาบันการจัดการวิถีพุทธเพื่อสุขและสันติ (มูลนิธิ สกพ.) ...
ศาสนาและกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (IHL): การนำเสนอเกี่ยวกับการทำงานของ ICRC ร่วมกับแวดวงศาสนา

ศาสนาและกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (IHL): การนำเสนอเกี่ยวกับการทำงานของ ICRC ร่วมกับแวดวงศาสนา

คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศร่วมกับ สถาบันพระปกเกล้า และ มูลนิธิสถาบันการจัดการวิถีพุทธเพื่อสุขและสันติ (มูลนิธิ สกพ.) จัดโครงการหลักสูตร สำหรับผู้เข้ารับการอบรมซึ่งประกอบด้วยบุคคลในระดับผู้นำจากภาคธุรกิจ ตำรวจ ทหาร องค์กรศาสนา และหน่วยงานวิชาการ โดยจัดอบรมผ่านระบบออนไลน์เมื่อช่วงเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ในการจัดอบรมครั้งนี้ มีการบรรยายเนื้อหาความรู้เกี่ยวกับการทำงานด้านมนุษยธรรมในสถานการณ์การขัดกันทางอาวุธ รวมทั้งฐานทางกฎหมายของการทำงานด้านมนุษยธรรมที่ระบุไว้ในกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (IHL) เพื่อให้ผู้เข้ารับอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความท้าทายต่าง ๆ ของการทำงานเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในสถานการณ์การสู้รบ นอกจากนี้ การจัดอบรมยังได้กล่าวถึงความสำคัญของการสร้างเครือข่ายและการประสานความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานด้านมนุษยธรรมกับหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานทางศาสนา ...
การสัมมนาออนไลน์ เรื่อง “ความรุนแรงทางเพศในสถานการณ์ความขัดแย้งและหลักพุทธศาสนา”

การสัมมนาออนไลน์ เรื่อง “ความรุนแรงทางเพศในสถานการณ์ความขัดแย้งและหลักพุทธศาสนา”

เครือข่ายเถรวาทศึกษาข้ามชาติ ร่วมกับมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งรัฐฉาน มหาวิทยาลัยคิงส์คอลเลจลอนดอน สมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาเถรวาทนานาชาติ สมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาเถรวาทนานาชาติ และ ICRC จัดสัมมนาออนไลน์ เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ผ่านมา โดยงานสัมมนาครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของซีรีส์การสัมมนาออนไลน์ เรื่อง การเชื่อมประสานระหว่างพุทธศาสนากับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (IHL) เนื่องด้วยแก่นแท้ของพุทธศาสนา คือการรับรู้ถึงความทุกข์และเผยแพร่หนทางสู่การบรรเทาทุกข์ด้วยการทำความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นจริงของชีวิตและเปลี่ยนความประพฤติกรรมของเรา ทำให้พุทธศาสนามีการนำหนทางดังกล่าวมาใช้ในการไปสู่ซึ่งความหลุดพ้นและกับบรรดาปัญหาความเดือดร้อนในสังคม ไปจนถึงการรับมือกับสัจธรรมของสงครามตลอดห้วงประวัติศาสตร์อันยาวนานของพุทธศาสนา สิ่งนี้นั่นเองที่ชี้ให้เห็นว่า จุดมุ่งหมายของพุทธศาสนาและ ...