ท่ามกลางความยากลำบาก การพลักพรากจากภัยสงครามและความขัดแย้ง คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) ไม่เพียงช่วยบรรเทาทุกข์แก่ผู้ประสบภัยในประเทศต่างๆ การช่วยเหลือของเรายังต่อยอดไปถึงการให้ความสนับสนุนชุมชน ฟื้นฟูความเป็นอยู่ และสนับสนุนชาวบ้านให้มีรายได้ที่ยั่งยืนผ่านโครงการและกิจกรรมมากมาย

กลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อม ‘สีมายา’ เป็นหนึ่งในใครงการที่เราให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2017 ธุรกิจเล็กๆ ที่สร้างรายให้ชุมชนชาวไทยพุทธ-มุสลิม เป็นหนึ่งในความภาคภูมิใจของชาวหน้าถ้ำ จังหวัดยะลา ที่พัฒนามาจากภูมิปัญญาและทรัพยากรที่หาได้ในท้องถิ่น นำเสนห์และเรื่องราวในท้องที่ มาบอกเล่าผ่านงานหัตถกรรมได้อย่างน่าสนใจ

‘สีมายา’ เป็นกลุ่มหัตถกรรมหญิงที่ใช้วัสดุจากธรรมชาติ โดยเฉพาะดินมายาจากหน้าถ้ำ นำความรักของท้องถิ่นมาเป็นพลังขับเคลื่อนธุรกิจที่ทั้งแปลกใหม่และไม่เหมือนใคร ICRC เล็งเห็นศักยภาพของกลุ่มที่สามารถพัฒนาต่อยอดจนกลายเป็นเสาหลักในการสร้างรายได้ที่ยั่งยืนให้กับชุมชนในอนาคต จะขาดก็แค่ความช่วยเหลือและการสนับสนุนเพียงเล็กน้อย

โดยหลังจากที่เราได้มีโอกาสเข้าไปจัด Workshop เพื่อรับฟังแนวคิดและความต้องการของชาวบ้านเมื่อปีที่ผ่านมา ปัจจุบันกลุ่มสีมายา เป็นอีกหนึ่งโครงการที่ ICRC ใหการสนับสนุน โดยเฉพาะเรื่องอุปกรณ์เพื่อใช้ต่อยอดการผลิต และการเพิ่มพูนความรู้ด้านการตลาดเพื่อสื่อสารไปยังกลุ่มลูกค้าทั่วประเทศและทั่วโลก

หากใครอยากเห็นผ้าสีมายาของแท้หรือสนใจอยากสนับสนุนโครงการดีๆ ของชาวหน้าถ้ำ สามารถเข้าไปเยื่อมชมได้ที่นี่เลย

https://www.facebook.com/srimayanatum/

ขั้นตอนการทำผ้ามัดย้อมสีมายา 

มาดูขั้นตอนการย้อมผ้าของกลุ่มสีมายา ขั้นตอนแรกคือการเตรียมผ้าแบบพิเศษสำหรับการย้อมสี ผ้าที่ว่านี้จะต้องเป็นผ้าคุณภาพดี ทอจากเส้นใยธรรมชาติและไม่ผ่านการฟอกสี เมื่อได้ผ้าที่ต้องการ กลุ่มสีมายาจะนำมาพับ บิด และผูกด้วยยาง เพื่อเป็นการสร้างลวดลายมัดย้อมที่เป็นเอกลักษณ์

 

หลังผูกเสร็จเรียบร้อย ผ้าของเราจะถูกนำมาแช่ไว้ใน ‘น้ำดินมายา’ ที่ได้มาจากการสกัดดินพิเศษจากถ้ำในตำบลหน้าถ้ำ จังหวัดยะลา ‘หน้าถ้ำ’ เป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมของจังหวัดยะลา ดินจากถ้ำนี้มีคุณสมบัติพิเศษคือมีสีทีสวยชัด หากสัมผัสแล้วจะลบออกยาก กลุ่มสีมายานำข้อดีนี้มาประยุกต์เป็นสีย้อมที่ทั้งสวยงามและสามารถบอกเรื่องราวของชุมชนได้อย่างน่าประทับใจ

อีกหนึ่งสวนผสมธรรมชาติที่นำมาใช้สำหรับการย้อมสีคือสีเทาที่ได้มาจากฝักของต้นราชพฤกษ์ ราชพฤกษ์เป็นต้นไม้ท้องถิ่นที่มีอยู่มากบริเวณหน้าถ้ำ เมื่อนำฝักราชพฤกษ์มาเคี่ยวในน้ำร้อน จะได้สีเทาสวยที่มาด้วยกรรมวิธีพื้นบ้าน

ใบของต้นหูกวางเป็นพันธุ์ไม้ย้อมสีธรรมชาติที่เมื่อนำมาต้มและเจือจางด้วยน้ำจะสามารถให้สีเหลืองสวยแปลกตา อีกหนึ่งตัวอย่างการนำความรู้ท้องถิ่น มาต่อยอดเป็นสินค้าที่ทั้งดีต่อใจ และไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม

เมื่อได้สีที่ต้องการ สาวๆ กลุ่มสีมายา ก็จะมาเริ่มขั้นตอนการตัดเย็บเพื่อแปรรูปผ้าย้อมที่ได้ให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์แบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกระเป๋า เสื้อ ผ้าพันคอและผ้าคลุมไหล ซึ่งถ้าเป็นสองแบบหลัง สาวๆ ชาวหน้าถ้ำ จะมีการกรุยชายด้านท้ายขอบของผ้า เพื่อสร้างความสวยงามให้กับสินค้า เป็นผืนผ้าที่ทำด้วยความตั้งใจตั้งแต่ขั้นตอนแรกยันขั้นตอนสุดท้าย

ผ้าย้อมสีมายาที่ได้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานหลายหลาก ในภาพ เราจะเห็นผู้หญิงจากกลุ่มสีมายา กำลังเย็บผ้าให้กลายเป็นกระเป๋าใบเก๋ เครื่องมือบางส่วนที่ใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ มาจากการสนับสนุนของ ICRC ยกตัวอย่างเช่นจักรเย็บผ้าเครื่องนี้เป็นต้น

สินค้าที่ได้จะถูกนำห่อด้วยบรรจุภัณฑ์ที่ได้รับการสนับสนุนจาก ICRC สายรัดที่สวยงามนี้ทำมาจากกระดาษคราฟท์ที่สามารถนำกลับมาหมุนเวียนใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตกระดาษได้อีก นอกจากจะมีความสวยงามทนทาน ยังเป็นการช่วยให้ลดปัญหามลพิษด้านสภาวะแวดล้อมสมกับคอนเสปต์ของโครงการ บนสายรัดยังจัดพิมพ์ข้อมูลเบื้องต้น เช่น ชื่อของกลุ่มสีมายา เนื้อหาเรื่องราวของทางกลุ่มทั้งในภาษาไทยและอังกฤษ รวมไปถึงช่องทางติดต่อทางโซเชียลมีเดีย

กลุ่มสีมายา ยังมีแผนที่จะขยายตลาด โดยเริ่มสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อตอบโจทย์การใช้งานของคนหลากหลาย ยกตัวอย่างเช่นกระเป๋าโยคะที่ทำมาจากผ้าย้อมสีดิน กระเป๋าสุดเก๋นี้มาพร้อมป้ายน่ารักๆ จาก ICRC ที่บรรจุรายละเอียดการติดต่อ และลิงค์สำหรับหน้า Facebook ของทางกลุ่มไว้อย่างครบครัน

โปรดักส์พร้อม คนพร้อม ที่เหลือก็แค่ประชาสัมพันธ์ ICRC ยังมีส่วนช่วยในการถ่ายถาพสินค้า จัดวางดีไซน์ โดยภาพถ่ายที่ได้จะถูกนำไปใช้เพื่อโปรโมทการขาย สร้างตลาดที่ยั่งยืนให้กลุ่มสีมายาต่อไปในอนาคต

ตัวอย่างผลิตภัํณฑ์ที่ทั้งหลากหลายและสร้างสรรค์จากกลุ่มสีมายา