ในที่สุดเราก็เดินทางมาถึงบทสัมภาษณ์ของน้องๆประเทศเวียดนาม ซึ่งเป็นประเทศสุดท้ายในกลุ่มของเราที่จะได้เดินทางไปเข้าร่วมการแข่งขันศาลจำลองในกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศกาชาดครั้งที่ 15 ที่เขตปกครองพิเศษฮ่องกงซึ่งกำลังจะเกิดขึ้นในระหว่างวันที่ 8-11 มีนาคม 2560 เราไปติดตามกันดูเลยค่ะว่า น้องๆจากประเทศเวียดนามมีความคิดเห็นอย่างไรกับการแข่งขันศาลจำลองฯและกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ หรือ International Humanitarian Law (IHL)
ICRC-น้องๆช่วยแนะนำตัวเองหน่อยค่ะ
เหงียน เธา ลิน- ดิฉันชื่อเหงียน เธา ลินค่ะ กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 3 คณะกฎหมายระหว่างประเทศ สถาบันการทูตแห่งเวียดนาม
ตริน เฟิน คาม- ดิฉันชื่อตริน เฟิน คาม ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 2 ที่สถาบันการทูตแห่งเวียดนาม วิชาเอกกฎหมายระหว่างประเทศค่ะ
ICRC-น้องเข้าร่วมการแข่งขันศาลจำลองในกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศครั้งที่ 2 นี้ได้อย่างไรคะ
เหงียน เธา ลิน-เมื่อปีที่แล้วพี่เลี้ยงของดิฉันชนะการแข่งขันศาลจำลองฯ และได้เป็นตัวแทนของประเทศเวียดนามไปแข่งขันที่เขตปกครองพิเศษฮ่องกง ภาพของพี่เลี้ยงชูถ้วยรางวัลเป็นภาพที่ติดตาและเป็นแรงบันดาลใจสำคัญที่ทำให้ดิฉันเข้าร่วมการแข่งขันในปีนี้ค่ะ
ตริน เฟิน คาม-กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศเป็นส่วนสำคัญของกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมืองและก็มีความสำคัญเช่นเดียวกับประเด็นทางสังคมและการเมืองอื่นๆ แต่เราก็ไม่มีโอกาสที่จะได้เรียนกฎหมายตัวนี้ในโรงเรียนดังนั้นการได้เข้าร่วมการแข่งขันศาลจำลองฯจึงเท่ากับเป็นการเปิดโอกาสให้ดิฉันได้ศึกษาวิจัยและทำความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายตัวนี้ให้มากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งก็เป็นเหตุผลให้ดิฉันตัดสินใจเรียนกฎหมายเพราะต้องการปกป้องผู้บริสุทธิ์โดยไม่คำนึงถึงสถานการณ์และตัวตนของบุคคลนั้นๆ ที่แต่เข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้ได้ก็เพราะทราบข่าวจากอาจารย์และรุ่นพี่ที่คณะค่ะ
ICRC-น้องมีการเตรียมตัวเข้าร่วมการแข่งขันอย่างไรบ้างคะ
เหงียน เธา ลิน- ดิฉันใช้เวลา 5 เดือนในการศึกษากฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศและทำวิจัยเกี่ยวกับคำฟ้องทั้งการเขียนและการพูดต่อหน้าศาล
ตริน เฟิน คาม-ทีมของเราใช้เวลาส่วนใหญ่ในการค้นคว้าเพื่อทำความเข้าใจกับตัวกฎหมายและการนำไปใช้ในการวิเคราะห์ข้อเท็จจริง เรารู้ว่าเราขาดทักษะด้านการเขียนคำร้องและการว่าความต่อหน้าศาลและทั้งสองสิ่งนี้เป็นเรื่องที่ทีมของเราต้องฝึกฝนอย่างหนักสำหรับการแข่งขันที่ฮ่องกง
ICRC-น้องๆคิดว่าสถานการณ์การเรียนการสอนกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศในประเทศเวียดนามเป็นอย่างไรบ้างในปัจจุบัน
เหงียน เธา ลิน-ดิฉันคิดว่าประชาชนทั่วไปหรือแม้แต่นักเรียนและนักศึกษาเวียดนามจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศให้มากขึ้น แม้ว่าประเทศของเราจะไม่ได้อยู่ในสถานการณ์ที่มีการสู้รบก็ตามแต่การเข้าใจกฎหมายตัวนี้ก็เท่ากับเป็นการแสดงความรับผิดชอบในฐานะที่เราเป็นพลเมืองของโลกเพื่อที่เราจะได้อยู่ในโลกที่สุขสงบร่วมกัน
ตริน เฟิน คาม-ดิฉันคิดว่าปัจจุบันคนเวียดนามให้ความสำคัญกับประเด็นสิทธิมนุษยชนเพิ่มมากขึ้นแต่จะไม่มีความรู้หรือความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศมากนัก ดังนั้นดิฉันจึงรู้สึกเหมือนเป็นหน้าที่ของเราที่จะทำหน้าที่เหมือนเป็นคนกลางในการเชื่อมโยงตัวกฎหมายเข้ากับประชาชนและทำให้พวกเขามีความเข้าใจในกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศมากขึ้น
ICRC-คิดอย่างไรกับการแข่งขันที่เขตปกครองพิเศษฮ่องกงที่กำลังจะมาถึงคะ
ตริน เฟิน คาม-ดิฉันไม่ได้คิดถึงชัยชนะสักเท่าไหร่เพราะสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับดิฉันก็คือความรู้เกี่ยวกับกฎหมายซึ่งดิฉันจะพยายามให้ถึงที่สุด
Read English version HERE
ICRC-Could you please introduce yourself?
NGUYEN THAO LINH-My name is Nguyen Thao Linh, 3rd year student from Faculty of International Law, Diplomatic Academy of Vietnam.
TRIN PHUONG CAM- My name is Trinh Phuong Cam, 2nd year student at Diplomatic Academy of Vietnam. My major is International Law.
ICRC- What was your motivation to join International Humanitarian Law Moot Court competition?
NGUYEN THAO LINH-Contestants from Diplomatic Academy of Vietnam last year, also my coaches, won the 2015 IHL moot court competition and were the representatives of Vietnam for the regional round hosted in Hong Kong. The picture of them holding the trophy inspired me a lot and encouraged me to join this competition.
TRIN PHUONG CAM- IHL is an important part of Public International Law as well as of one’s own social and political awareness. However, we do not have a chance to study IHL at school. Participating in the moot competition give me the opportunity to learn more and understand IHL better. It is also the reason I decided to become a law student having wish to protect the innocents regardless of what identity or situation they are in. Actually, I knew about IHL moot court competition through my teachers and seniors.
ICRC- How do you prepare yourself for the competition?
NGUYEN THAO LINH-I spent 5 months studying IHL and doing research for both written and oral submissions.
TRIN PHUONG CAM- We spent most of the time researching to deeply understand the law and to get an idea of how we apply those to the facts. We also realized the lack of skills in both writing and speaking memorials. This is what we will definitely work on more and more for the regional round.
ICRC- What do you think about learning and teaching International Humanitarian Law (IHL) in Vietnam?
NGUYEN THAO LINH-I do think that people and students here in Vietnam need to be aware of IHL. Even though we are not currently at war, understanding IHL reflects good will of a global citizen in achieving an internationally unified community.
TRIN PHUONG CAM-I personally find that more and more people in Vietnam concern about humanitarian issues but not really understand or discuss IHL among themselves. Therefore, I feel like this is our job to strengthen the link between public concerns and the law, and to help encourage them to engage more with IHL.
ICRC- How do you and your team prepare for the 15th ICRC Moot Court competition in Hong Kong?
TRIN PHUONG CAM- I never thought of winning this competition because the biggest win that I always hope for is the knowledge of the law, which I will never stop my endeavor to achieve.