Archive 

พุทธศาสนาและกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ : การบรรยายโดย แอนดรูว์ บาร์เทิล-สมิธ

พุทธศาสนาและกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ : การบรรยายโดย แอนดรูว์ บาร์เทิล-สมิธ

พุทธศาสนาเป็นศาสนาที่หลายคนรู้จักและเข้าใจว่าเป็นศาสนาแห่งอหิงสา (ความไม่เบียดเบียนและการเว้นจากการทำร้าย) และบ่อยครั้งมีการนำพุทธศาสนามาใช้ในบริบทของความขัดแย้ง ไม่ว่าจะเป็นเพื่อการป้องกัน การเจรจา รวมถึงแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง แต่ที่ผ่านมา มีการวิจัยค่อนข้างน้อยเกี่ยวกับทัศนคติของพุทธศาสนาที่มีต่อสถานการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นโดยไม่อาจป้องกันได้หรือยังเกิดขึ้นอยู่ ดังนั้น ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) จึงพยายามเชื่อมประสานและสัมพันธ์กับวงการพุทธศาสนาทั้งในภูมิภาคเอเชียและภูมิภาคอื่น เพื่อบุกเบิกริเริ่มศึกษาวิจัยเกี่ยวกับทัศนคติของพุทธศาสนาและหลักธรรมคำสอนที่มีต่อการทำสงคราม รวมถึงความสอดคล้องเชื่อมโยงกันของพุทธศาสนากับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (International Humanitarian Law – IHL) ในการบรรเทาอันตรายและความทุกข์ทรมานจากความขัดแย้งที่เกิดขึ้น แอนดรูว์ บาร์เทิล-สมิธ ...
กฎหมายมนุษยธรรมอิสลาม: การนำเสนอโดย ดร. ซีอาเลาะห์ ราห์มานี

กฎหมายมนุษยธรรมอิสลาม: การนำเสนอโดย ดร. ซีอาเลาะห์ ราห์มานี

คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) ได้ศึกษาความสอดคล้องเชื่อมโยงกันของกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (IHL) ที่มีร่วมกับศาสนาต่าง ๆ มาเป็นเวลาหลายปีแล้ว โดยมุ่งหมายสำคัญของการศึกษาคือเพื่อเรียนรู้และกระตุ้นส่งเสริมให้เกิดการพูดคุยอภิปรายระหว่างกันเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ที่มีความสำคัญ เช่น ศาสนาอิสลามนั้นเป็นศาสนาหนึ่งที่มีชุดกฎหมายมนุษยธรรมเป็นของตัวเองและนำชุดกฎหมายนี้มาใช้ในการบรรเทาความทุกข์ทรมานในสถานการณ์การขัดกันทางอาวุธ ในการบรรยายอันเป็นส่วนหนึ่งของโครงการหลักสูตร “ความขัดแย้ง ความรุนแรง และงานด้านมนุษยธรรม” ซึ่ง สถาบันพระปกเกล้า จัดขึ้นร่วมกับ ICRC และมูลนิธิสถาบันการจัดการวิถีพุทธเพื่อสุขและสันติ (มูลนิธิ สกพ.) ...
ศาสนาและกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (IHL): การนำเสนอเกี่ยวกับการทำงานของ ICRC ร่วมกับแวดวงศาสนา

ศาสนาและกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (IHL): การนำเสนอเกี่ยวกับการทำงานของ ICRC ร่วมกับแวดวงศาสนา

คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศร่วมกับ สถาบันพระปกเกล้า และ มูลนิธิสถาบันการจัดการวิถีพุทธเพื่อสุขและสันติ (มูลนิธิ สกพ.) จัดโครงการหลักสูตร สำหรับผู้เข้ารับการอบรมซึ่งประกอบด้วยบุคคลในระดับผู้นำจากภาคธุรกิจ ตำรวจ ทหาร องค์กรศาสนา และหน่วยงานวิชาการ โดยจัดอบรมผ่านระบบออนไลน์เมื่อช่วงเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ในการจัดอบรมครั้งนี้ มีการบรรยายเนื้อหาความรู้เกี่ยวกับการทำงานด้านมนุษยธรรมในสถานการณ์การขัดกันทางอาวุธ รวมทั้งฐานทางกฎหมายของการทำงานด้านมนุษยธรรมที่ระบุไว้ในกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (IHL) เพื่อให้ผู้เข้ารับอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความท้าทายต่าง ๆ ของการทำงานเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในสถานการณ์การสู้รบ นอกจากนี้ การจัดอบรมยังได้กล่าวถึงความสำคัญของการสร้างเครือข่ายและการประสานความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานด้านมนุษยธรรมกับหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานทางศาสนา ...