ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในภูมิภาคอินโดจีนระหว่างปี 2507 เรื่อยไปจนถึงปี 2518 ทำให้ประเทศเล็กๆอย่างสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ได้รับผลกระทบจากวัตถุระเบิดไม่ต่ำกว่า 2 ล้านตัน  ปัจจุบันหลายพื้นที่ในสปป.ลาว ยังคงเต็มไปด้วยระเบิดพวงและระเบิดตกค้างที่ยังไม่ระเบิด (UXO) ระเบิดเหล่านี้ทำให้ทุกปีมีประชาชนชาวลาวจำนวนไม่น้อยที่ต้องเสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บจนต้องสูญเสียอวัยวะเช่น แขนและขา ที่สำคัญมันยังส่งผลกระทบโดยตรงต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศรวมถึงชุมชนท้องถิ่นอีกด้วย

เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้านการเก็บกู้ระเบิดจากสปป.ลาวจำนวน 30 คน เข้ารับการฝึกอบรมการดูแลตัวเองและปฐมพยาบาลผู้ได้รับบาดเจ็บจากเจ้าหน้าที่การแพทย์ของโรงพยาบาลอุดรธานี

จึงนับเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่สปป.ลาว จะต้องเร่งลดสถิติอุบัติเหตุและจำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บเพื่อให้ประชาชนได้มีพื้นที่ทำการเกษตรที่ปลอดภัยมากขึ้น เพื่อเป็นการสนับสนุนความพยายามนี้คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) จึงได้ร่วมมือกับองค์การเก็บกู้ระเบิดแห่งชาติลาว สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ สังกัดกระทรวงสาธารณสุขของไทยและศูนย์อุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลอุดรธานี จัดการอบรมให้กับเจ้าหน้าที่กู้ระเบิดจากสปป.ลาว จำนวน 30 คน ในการดูแลผู้บาดเจ็บในสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นเวลานานถึงสองสัปดาห์ ซึ่งการจัดอบรมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติเก็บกู้ระเบิด ให้สามารถดูแลตัวเองและผู้บาดเจ็บในเบื้องต้นได้อย่างมีมาตรฐาน

เจ้าหน้าที่เก็บกู้ระเบิดจากสปป.ลาว ฝึกภาคปฏิบัติการปฐมพยาบาลผู้ได้รับบาดเจ็บจากระเบิดในสถานการณ์จำลอง

วัตถุระเบิดเหล่านี้ก่อให้เกิดความเสี่ยงและอันตราย มันจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องมีการเตรียมบุคลากรให้พร้อมในการรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ” แฟรงค์ ควนซี หัวหน้าสำนักงานโครงการประจำสปป.ลาว ของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) กล่าว “หนึ่งในกลยุทธ์สำคัญก็คือการช่วยยกระดับมาตรฐานการให้บริการทางการแพทย์ของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่เก็บกู้ระเบิด”

แฟรงค์ ควนซี หัวหน้าสำนักงานโครงการประจำ สปป. ลาว ของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC)

ทั้งนี้คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) มุ่งมั่นทำงานร่วมกับรัฐบาลลาวในการส่งเสริมกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องในประเด็นนี้และให้การสนับสนุนแก่หน่วยงานการแพทย์ขององค์การเก็บกู้ระเบิดแห่งชาติลาว