หลักธรรมคำสอนของศาสนาพุทธมุ่งส่งเสริมให้ผู้คนมีความเห็นอกเห็นใจกันและไม่ใช้ความรุนแรงเป็นสำคัญ ดังนั้น ประเด็นเรื่องการที่พุทธศาสนาจะมีส่วนช่วยกำกับดูแลกรณีเกิดสงครามได้อย่างไรบ้างจึงไม่ค่อยได้รับการพิจารณาถึงมากนัก แต่การที่พุทธศาสนามุ่งบรรเทาความทุกข์ทรมานของผู้คนก็ถือว่ามีความสำคัญจำเป็นอย่างยิ่งต่อห้วงยามที่เกิดการสู้รบ และพุทธศาสนาเองยังมีหลักธรรมคำสอนและทรัพยากรอีกมากมาย โดยเฉพาะเรื่องของความตื่นรู้ในทิศทางของเทคโนโลยี ที่จะเป็นแนวทางให้แก่พลรบและช่วยบรรเทาความทุกข์ที่เกิดขึ้นจากผลของการกระทำของพลรบได้ด้วย
แม้นในสงครามจักพิชิตนักรบนับพันคนและนับพันหน
แต่การพิชิตอันยิ่งใหญ่มีเพียงหนึ่งเดียวคือ การพิชิตใจตน
พระธรรมบท ข้อ 103
(แปลโดย ปีเตอร์ ฮาร์วีย์)
คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) ริเริ่มบุกเบิกจัดทำโครงการวิจัยในหัวข้อดังกล่าวข้างต้น และผลของงานวิจัยในครั้งนี้ได้ก่อกำเนิดเป็นบทความวิชาการที่เปี่ยมด้วยเนื้อหาข้อมูลเชิงลึก เรื่อง “การบรรเทาความทุกข์ทรมานในภาวะสงคราม: ความสอดคล้องกันระหว่างพุทธศาสนากับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ” ซึ่งได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการชื่อ Contemporary Buddhism เมื่อปี 2021 และแปลเป็นภาษาไทยมา ณ ที่นี้
บทความเรื่องนี้เป็นผลงานการเขียนร่วมกันของนักวิชาการด้านพุทธศาสนาจำนวนหลายคน โดยมุ่งสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับหลักธรรมคำสอนและการศึกษาเชิงวิชาการด้านแนวทางตามหลักพุทธศาสนาเกี่ยวกับการทำสงคราม รวมถึงการศึกษาว่าพุทธศาสนาอาจช่วยเสริมหนุนหรือเสริมสร้างกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (IHL) หรือที่หลายคนเรียกว่าเป็นกฎแห่งสงครามหรือกฎหมายว่าด้วยการขัดกันทางอาวุธในระดับใดได้บ้าง แม้ว่า IHL จะกำหนดกฎเกณฑ์ชัดเจนให้ต้องปฏิบัติตามหากเกิดสงคราม แต่พุทธศาสนาเน้นหลักการทางจริยธรรมที่ผู้ปฏิบัตินำไปใช้ได้ในระดับที่กว้างกว่า เพื่อให้หลักการไม่ใช้ความรุนแรงยังคงได้รับการยึดมั่นอยู่เสมอ นอกจากนี้ บทความยังได้ศึกษาลงลึกกว่านั้น โดยศึกษาว่าพุทธศาสนามีการกล่าวถึงเจตนาหรือแรงจูงใจของฝ่ายต่าง ๆ ในการสู้รบอย่างไรบ้าง อีกทั้งมีข้อมูลเชิงลึกและทรัพยากรในทางจิตวิทยาใดที่จะช่วยเปลี่ยนพฤติกรรมของฝ่ายต่าง ๆ ตลอดจนส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตาม IHL หรือหลักการทางพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องอย่างไรได้บ้าง
ผู้สนใจสามารถอ่านบทความของเราที่นี่