ชีวิตในอัฟกานิสถานไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับคนทั่วไป และยิ่งยากเข้าไปใหญ่เมื่อคุณเป็นผู้พิการในประเทศ

หลังสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีวิชากายอุปกรณ์จากมหาวิทยาลัย Afghanistan national Abdul Qadir Najm นักกายอุปกรณ์ทั้ง 9 มองสถานการณ์ความขัดแย้งและจำนวนผู้พิการที่เพิ่มขึ้นทุกวัน จึงตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโทเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีให้เพื่อนร่วมชาติ

Najm และเพื่อนร่วมอุดมการณ์อีก 8 ท่าน เข้าร่วมโครงการหลักสูตรนานาชาติ แบบเรียนทางไกลผสมผสาน ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC), Human Study e.V. และ โรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

โครงการนี้ใช้เวลา 6 ภาคการศึกษา ใน 4 ปี ถือเป็นครั้งแรกสำหรับการฝึกสอนในอัฟกานิสถานที่รวมคลาสเรียนออนไลน์ workshop/สัมนา และการฝึกปฎิบัติจริงไว้ด้วยกัน (Blended Learning Education) เมื่อผ่านการฝึกสุดทรหด ผู้เข้าร่วมโครงการทั้ง 9 ต้องเดินทางมาประเทศไทยเพื่อผ่านด่านสุดท้าย การสอบปฎิบัติจริง 5 วันที่มหาวิทยาลัยมหิดล ในกรุงเทพฯ

‘ความรู้คือพลัง’ Najm ตอบในทันทีเมื่อเราถามถึงเหตุผลเบื่องหลังการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ ‘การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายจะกลายเป็นแรงบันดาลใจที่ยิ่งใหญ่ให้กับผู้พิการทุกท่าน’

เพื่อนร่วมงานของเขา Mahpekay Sidiqy หนึ่งในสองนักกายอุปกรณ์สาวจากอัฟกานิสถาน ชี้ให้อีกประเด็นที่น่าสนใจ เมื่อผู้พิการหญิงบางส่วนปฎิเสธที่จะเข้ารับการรักษาถ้าโรงพยาบาลไม่มีนักกายอุปกรณ์หญิงประจำการ ‘น่าเสียดายที่ผู้เชี่ยวชาญหญิงในประเทศมีอยู่น้อยมาก ฉันและเพื่อนอีกคน เป็นผู้หญิงสองคนแรกที่ได้ผ่านการอบรมทักษะขั้นสูงในระดับปริญญาโท’

นอกจากสถานการณ์ในประเทศที่ไม่สงบ ไฟฟ้าตัดวันละหลายครั้ง สัญญานอินเตอร์เน็ตไม่เสถียร และอีกหลายปัจจัย Najm, Sidiqy และเพิ่อนร่วมงานที่เหลือ ยังต้อง

ทำงานและเรียนไปพร้อมกัน ความสำเร็จในครั้งนี้นับว่ายิ่งใหญ่ และยังไม่มีใครทำได้มาก่อนในอัฟกานิสถาน และอาจเป็นต้นแบบที่ดีให้การพัฒนาระบบการเรียนการสอนทางไกลในประเทศที่มีความข้อจำกัดในการเข้าถึงการศึกษาระดับสูง หรือมียากลำบากในการเดินทางออกนอกประเทศเพราะภาวะสงครามและความไม่สงบ