การแข่งขันศาลจำลองในกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศครั้งที่ 2 ที่จัดขึ้นที่ประเทศกัมพูชาได้ผู้ชนะคือ น้องลินนา ซามชัย และน้องรัตนะ รัดดา จากมหาวิทยาลัยภูมินทร์นิติศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ ประเทศกัมพูชา  วันนี้เราจะไปพูดคุยกับน้องๆทั้งสองคนกันค่ะ

ICRC-อยากให้น้องๆช่วยแนะนำตัวด้วยค่ะ

ลินนา-ดิฉันชื่อ ลินนา ซามชัย นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะนิติศาสตร์หลักสูตรภาษาอังกฤษและ เอกกฎหมายกัมพูชา มหาวิทยาลัยภูมินทร์นิติศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ค่ะ

รัตนะ-ผมชื่อรัตนะ รัดดา นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะนิติศาสตร์หลักสูตรภาษาอังกฤษและ เอกกฎหมายกัมพูชา มหาวิทยาลัยภูมินทร์นิติศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ครับ

ลินนาและรัตนะขณะทำการแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศ

ลินนาและรัตนะขณะทำการแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศ

ICRC-น้องๆมาเข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้ได้ยังไง มีอะไรเป็นแรงบันดาลใจ และมีการเตรียมตัวก่อนการแข่งขันอย่างไรบ้าง

ลินนา-ดิฉันเข้าร่วมการแข่งขันว่าความศาลจำลองในกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศเมื่อปีที่แล้ว แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งดิฉันได้ทราบการแข่งขันนี้มาจากคณะ เนื่องจากเป็นหนึ่งในหลักสูตรวิชาบังคับ ดิฉันได้รับแรงบันดาลใจมาจากเพื่อนร่วมทีมและโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากความผิดหวังเมื่อปีที่แล้ว  เกี่ยวเนื่องกับการเตรียมตัวการแข่งขัน ดิฉันและเพื่อนร่วมทีมได้ทำการประชุมทีมกันบ่อยครั้ง และได้ทำการกำหนดระยะเวลาเพื่อให้ทันกำหนดเส้นตาย ทั้งนี้ทีมของเราได้รับความช่วยเหลือและร่วมมือจากโค้ชและผู้ชนะจากปีก่อนอีกด้วย

รัตนะ-ผมมีความสนใจและได้สมัครเข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันว่าความศาลจำลองในกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของภาควิชาในคณะนิติศาสตร์หลักสูตรภาษาอังกฤษ  ผมได้ทราบการแข่งขันครั้งนี้จากพี่ชายของผมเอง ซึ่งเคยลงแข่งไปเมื่อปี พ.ศ. 2554 ซึ่งแรงบันดาลใจหลักของผมได้มาจากเพื่อนร่วมทีมและคนในครอบครัวรวมถึงเพื่อนของผมครับ

 ICRC- น้องๆคิดอย่างไรกับการเรียนการสอนกฎหมาย IHL ในประเทศกัมพูชา่ในปัจจุบันคะ 

ลินนา-เรื่องกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศไม่ได้เป็นที่รู้จักนักในกัมพูชา หากเทียบกับเรื่องสิทธิมนุษยชนในบริบทปัจจุบัน แต่ประชาชนจะตระหนักดีถึงศาลคดีเขมรแดง Extraordinary Chambers in the Court of Cambodia (ECCC) มากกว่า

รัตนะ-ผมคิดว่าประเทศกัมพูชาในปัจจุบันไม่ได้รู้ว่าอะไรคือ กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศและจะใช้มันอย่างไร ซึ่งอาจจะมาจากข้อเท็จจริงที่ว่ามันไม่มีสงครามเกิดขึ้นแล้วในปัจจุบัน ทั้งนี้โดยส่วนตัวผมคิดว่าไม่มีใครอยากเจอกับสภาวะสงคราม ซึ่งไม่ใช่แค่ประเทศกัมพูชาเท่านั้น แต่ประชาชนทั่วโลกต่างไม่คิดว่าในสภาวะสงครามนั้นจะมีกฎหมายที่คอยควบคุมสงครามอยู่ ผมคิดว่ากฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศนั้น ไม่เป็นที่รู้จักกันโดยกว้างขวางยกเว้นผู้ที่ศึกษาวิชากฎหมายเท่านั้น

บรรยากาศระหว่างการแข่งขันศาลจำลองในกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศรอบชิงชนะเลิศที่ประเทศกัมพูชา

บรรยากาศระหว่างการแข่งขันศาลจำลองในกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศรอบชิงชนะเลิศที่ประเทศกัมพูชา

ICRC- น้องๆคิดว่ากฎหมาย IHL มีความสำคัญอย่างไร ทำไมเราจึงควรรู้เกี่ยวกับกฎหมายตัวนี้คะ

ลินนา-กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศมีความสำคัญต่อโลกปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่เป็นภาวะสงคราม กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศจะมีผลใช้บังคับเพื่อปกป้องพลเรือนรวมถึงวัตถุพลเรือน

ทุกวันนี้โลกยังคงมีสงครามอยู่ ไม่ว่าจะเป็นที่ประเทศซีเรีย ที่จำนวนประชากรที่ได้รับบาดเจ็บมีเป็นจำนวนมากจากความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ซึ่งหากเราทราบกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศมากขึ้นเท่าไหร่นั้น ก็จะทำให้เราทราบถึงสิ่งที่เราต้องการในชีวิตมากขึ้นเท่านั้น

รัตนะ- กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ ไม่ได้เป็นที่รู้จักหรือได้ยินบ่อยนัก อย่างไรก็ดี กฎหมายดังกล่าวเป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดการความขัดแย้ง ช่วยลดหรือหลีกเลี่ยงความสูญเสียชีวิตพลเรือน ผู้บาดเจ็บหรือความเสียหายจากวัตถุพลเรือน

ทั้งนี้ กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศนั้น คือ หลักเกณฑ์ในภาวะสงครามและนี่คือเหตุผลที่ทำไมเราในฐานะนักศึกษากฎหมายจำเป็นที่จะต้องรู้ความสำคัญของกฎหมายดังกล่าว

คณะกรรมการ ผู้เข้าร่วมการแข่งขัน และนิสิตนักศึกษาถ่ายรูปร่วมกันหลังจบการแข่งขัน

คณะกรรมการ ผู้เข้าร่วมการแข่งขัน และนิสิตนักศึกษาถ่ายรูปร่วมกันหลังจบการแข่งขัน

ICRC-รู้สึกอย่างไรกับชัยชนะที่ได้รับและน้องๆจะมีการเตรียมตัวไปแข่งขันที่ฮ่องกงอย่างไรบ้างคะ

ลินนา-ทีมของดิฉันไม่ได้ตั้งความหวังไว้สูงไปกว่าความพยายามที่เราตั้งใจทำอย่างสุดความสามารถ เพราะคู่แข่งเรามีมากจากทั้งมหาวิทยาลัยของเราและมหาวิทยาลัยอื่นอีกด้วย จริงๆแล้วทีมของเราเลือกที่จะมีความหวังโดยคาดหวังให้น้อยที่สุด

หลังจากที่ได้รับชัยชนะในครั้งนี้ ดิฉันมีความยินดีและรู้สึกขอบคุณ เพื่อนร่วมทีมเป็นอย่างมาก ทีมเราจะเตรียมตัวโดยพยายามอย่างดีที่สุดในการค้นคว้าและกำหนดเส้นตายเพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงทันเวลา

รัตนะ-ผมมั่นใจว่าจะพัฒนาขึ้นในการแข่งขันระดับประเทศ ซึ่งตอนนี้ผมก็รู้สึกดีมากๆครับ ผมจะพยายามพัฒนาไปเรื่อยๆ โดยใช้วิธีการทำงานแบบเดิมแต่เสริมสร้างความแข็งแกร่งของทีมมากขึ้น เพื่อที่จะบรรลุถึงเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ขึ้น

ICRC-น้องๆมีคติประจำใจอะไรกันบ้างไหมคะ 

ลินนา- ดิฉันมีคติประจำใจว่า “ไม่ยอมแพ้และสิ่งที่ยิ่งใหญ่ย่อมใช้เวลา”

รัตนะ- คติประจำใจของผมคือ “สิ่งดีๆจะมาสำหรับผู้ที่เฝ้ารอ สิ่งที่ยิ่งใหญ่จะมาสำหรับผู้ที่อดทน”

น้องๆที่เข้าร่วมการแข่งขันศาลจำลองในกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศถ่ายภาพร่วมกัน

น้องๆที่เข้าร่วมการแข่งขันศาลจำลองในกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศถ่ายภาพร่วมกัน

English version 

ICRC-Could you please introduce yourself?

Lynna-My name is Lynna Samchhay. I am in my fourth year in faculty of Law majoring in Cambodian Law and English Language Based Bachelor of Law (ELBBL) at Royal University of Law and Economics.

Ratana-My name is Rathanak Rethda. I am in my fourth year in faculty of law majoring in Cambodian Law and English Language Based Bachelor of Law (ELBBL) at Royal University of Law and Economics.

ICRC- What was your motivation to join International Humanitarian Law Moot Court competition?

Lynna-I joined IHL Moot Court competition last year, but I couldn’t make it very far. I knew about it from ELBBL program as one of its requirements. I got an inspiration from my partner and particularly, my failure.

Ratana-I enrolled myself in IHL moot court competition as one of the requirement in ELBBL program. I knew this IHL moot court competition from my brother since he competed in IHL moot court competition in 2011. My inspiration came from my partner and all my family and friends.

ICRC- What do you think about learning and teaching International Humanitarian Law (IHL) in Cambodia?   

Lynna- IHL is not yet a well-known subject in Cambodia in contrast to Human rights at the moment, but more people are aware of it through Extraordinary Chambers in the Court of Cambodia (ECCC).

Ratana- I think Cambodia currently does not really know what IHL is and how it is applicable. Due to the facts, that there was no war happening nowadays. Personally, I think no one wants war and at the same time people not just in Cambodia, but all around the world people did not even think during war time there is rules of war. I think IHL is not really well-known among people in this country except those who study law.

ICRC- How does IHL matter in today’s world? 

Lynna- IHL is very important to each part of the world today as it is very special since it comes into effect during armed conflict for the protection of civilians and civilian objects. There are wars occurring in our present days such as in Syria which we can see how serious its population are suffering from all the conflict. The more we know about IHL, the more we know what we need in the place we live.

Ratana- IHL is not something in which we used to hear most of the time, however, it is a very essential tool for parties to conflict aware of what to be done, minimized or avoid the loss of civilian life, injuries or destruction to civilian objects. IHL is a rule of war and that is why we as a law student especially need to know it.

ICRC- How do you and your team prepare for the 15th ICRC Moot Court competition in Hong Kong? 

Lynna- My team did not have any high expectation rather than trying our best because there are many competitors from our school and other university, instead we chose to hope for the best and expect for the worst. After winning this competition, I am very happy and thankful, especially to my partner. We will prepare with our best efforts in researching and having timeline in order to get tasks done on time and for better understanding.

Ratana- I was confident that I would advance in national round and I am now feeling great. I will try the same method and to strengthen the team’s spirit in order to achieve a bigger goal.

ICRC-What is your motto? 

Lynna- “Never Give Up. Great Things Take Time”.

Ratana-“Good Things Come To Those Who Wait. Great Things Come To Those Who Are Patient”.