ในวันที่ 9 สิงหาคม 2488 ระเบิดปรมาณูลูกที่สองถล่มเมืองนางาซากิของญี่ปุ่น เหตุการณ์ครั้งนั้นมีผู้รอดชีวิตหรือที่เรียกว่า hibakusha เพียง 190,000 คนและทั้งหมดยังคงจดจำภาพของความตาย การสูญเสียและกัมมันตรังสีได้อย่างชัดเจน เราจะไปติดตามเรื่องราวของชายสองคนที่รอดชีวิตจากเหตุการณ์ในครั้งนั้น พวกเขาจะย้อนรำลึกถึงวันที่มืดมิดที่สุดในชีวิตของพวกเขาให้เราฟัง บทสัมภาษณ์นี้คัดและแปลมาจากหนังสือ International Review of the Red Cross จัดพิมพ์โดยคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ 

นายซาดาโอะ ยามาโมโต ผุ้รอดชีวิตจากเมืองฮิโรชิมา

นายซาดาโอะ ยามาโมโตะ ผู้รอดชีวิตจากเมืองฮิโรชิมา

นายซาดาโอะ ยามาโมโตะ เกิดในปี 2474 และมีอายุ 14 ปีตอนที่ระเบิดปรมาณูถูกทิ้งที่เมืองฮิโรชิม่าในวันที่ 6 สิงหาคม 2488 ตอนที่เกิดระเบิดเขาอยู่ห่างจากศูนย์กลางของมัน 2.5 กิโลเมตร นับจากรอดชีวิตจากเหตุระเบิดเขาได้กลายมาเป็นผู้ให้การสนับสนุนการห้ามใช้อาวุธนิวเคลียร์ ในทศวรรษที่ 1970 เขาเป็นผู้ควบคุมการแสดงที่มีชื่อว่า Requiem for a Male Chorus ซึ่งเป็นการแสดงเพื่อไว้อาลัยให้กับนักศึกษามัธยมปลายปีหนึ่งที่เสียชีวิตในเหตุระเบิดที่ฮิโรชิมาและนับตั้งแต่นั้นมาบทเพลงนี้ก็ถูกขับขานเรื่อยมา

ตอนที่ระเบิดถูกทิ้งลงมานั้น ผมกำลังเรียนอยู่ปีสองของโรงเรียนมัธยมปลาย วันที่ 6 สิงหาคม 2488 เวลา 8 นาฬิกา 15 นาที ซึ่งเป็นตอนที่เกิดระเบิดผมกำลังทำงานอยู่ที่แท่นขุดเจาะ ตอนนั้นทุกคนสังเกตุเห็นว่ามีเครื่องบินทิ้งระเบิด บี-29 บินอยู่เหนือน่านฟ้าทางตะวันออกเฉียงใต้ แล้วเสียงสัญญาณเตือนภัยทางอากาศก็ดังขึ้นแต่ไม่นานก็เงียบไปและเหลือเครื่องบินเพียง 3 ลำเท่านั้น เราคิดว่านั่นคงเป็นเพียงเครื่องบินลาดตระเวณทั่วไป เรามองขึ้นไปบนท้องฟ้าและสังเกตุเห็นว่าเครื่องบินทั้งหมดบินอยู่เหนือตัวเมืองสักพักแล้วก็บินจากไปซึ่งมันแปลกมาก หลังจากนั้นเราก็ได้ยินเสียงระเบิดดังกึกก้องและเราทุกคนถูกคลื่นพลังงานความร้อนบางอย่างผลักให้ล้มลงกับพื้น ตัวผมเองก็หมดสติไป

เด็กนักเรียนมัธยมปลายปีหนึ่งที่โรงเรียนของผมได้รับคำสั่งให้ทำงานรื้อถอนตึกห่างจากศูนย์กลางของระเบิดเพียงครึ่งกิโลเมตร ขณะที่ระเบิดๆขึ้นพื้นดินเพียง 600 เมตร ว่ากันว่าอุณหภูมิบนผิวหน้าของศูนย์กลางจุดระเบิดสูงถึง 3,000-4,000 องศาเซลเซียส ซึ่งผมคิดว่ามันไม่ต่างอะไรกับนรกสำหรับนักเรียนกลุ่มนั้นเลย

ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องจำเป็นที่ผมจะต้องแบ่งปันเรื่องราวโศกนากฏกรรมของเด็กปีหนึ่งเหล่านั้นกับคนรุ่นต่อไปในรูปแบบของเสียงเพลง ซึ่งผมตั้งชื่อมันว่า Requiem Ishibumi ในตอนนั้นผมเป็นวาทยากรให้กับวงประสานเสียงชาย ในวันที่ 2 ตุลาคม 2513 เราเปิดการแสดง ณ จุดที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นศาลาประชาชนของเมืองฮิโรชิมา อนุสาวรีย์รำลึกถึงกลุ่มเด็กนักเรียนที่โรงเรียนของผมตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำ เราจึงเปิดการแสดงโดยที่เปิดประตูด้านที่หันออกสู่แม่น้ำไว้และอุทิศบทเพลงให้กับดวงวิญญาณที่จากไป ปัจจุบันบทเพลงนี้ถูกขับขานโดยกลุ่มนักร้องประสานเสียงของโรงเรียนเป็นประจำทุกปี ในปี 2558 ที่ผ่านมา สมาชิกดั้งเดิมของวงได้มารวมตัวกันเพื่อร่วมร้องเพลงเนื่องในโอกาสครบรอบ 70 ปี ของเหตุระเบิดที่เกิดขึ้น

เหตุระเบิดทำให้มีผู้เสียชีวิต 140,000 คนรวมทั้งนักเรียนในขณะนั้นอย่างเช่นตัวผม ตอนนั้นประชากรของเมืองฮิโรชิมามีประมาณ 350,000 คนรวมทั้งทหารที่ประจำการที่นั่นและคนที่มาจากนอกเมือง หากคำณวณดูแล้วจำนวนผู้เสียชีวิตในเหตุระเบิดคิดเป็นร้อยละ 40 ของผู้คนทั้งหมดที่อยู่ในเมืองขณะนั้น

ประวัติศาสตร์ไม่ควรเกิดซ้ำรอยเดิม ผมหวังว่าเราจะมีโลกที่เต็มไปด้วยสันติสุข ปราศจากสงครามและอาวุธนิวเคลียร์และด้วยหลักฐานที่ปรากฏเป็นที่ประจักษ์จากอดีต ผมจะทำทุกอย่างเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ให้จงได้

สงครามโลกครั้งที่สอง สภาพเมืองฮิโรชิมาห่างจากจุดศูนย์กลางของระเบิด 0.8 กิโลเมตร. 24 ชั่วโมงหลังจากเกิดเหตุระเบิด

สงครามโลกครั้งที่สอง สภาพเมืองฮิโรชิมาห่างจากจุดศูนย์กลางของระเบิด 0.8 กิโลเมตร. 24 ชั่วโมงหลังจากเกิดเหตุระเบิด

“นี่คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตอนที่เราพยายามออกตามหาพ่อของเรา หลังจากเกิดระเบิด”

นายโยชิโร่ ยามาวากิ อายุเพียง 11 ปีตอนที่ระเบิดปรมาณูถูกทิ้งที่เมืองนางาซากิ เขาและน้องชายฝาแฝดอยู่ห่างจากศูนย์กลางระเบิดประมาณ 2.2 กิโลเมตร หลังจากรอดชีวิตมาได้เขาก็กลายเป็นผู้สนับสนุนเพื่อให้มีการกำจัดอาวุธนิวเคลียร์และหวังว่าด้วยการแบ่งปันประสบการณ์ที่เกิดขึ้นกับตัวเขาจะช่วยให้ป้องกันไม่ ให้คนอื่นๆต้องได้รับผลกระทบจากอาวุธนิวเคลียร์ ในปี 2553 เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้เผยแพร่ข้อมูลให้กับโครงการโลกปราศจากอาวุธนิวเคลียร์ของรัฐบาลญี่ปุ่น

นายโยชิโร่ ยามาวากิ อายุเพียง 11 ปีตอนที่ระเบิดปรมาณูถูกทิ้งที่เมืองนางาซากิ เขาและน้องชายฝาแฝดอยู่ห่างจากศูนย์กลางระเบิดประมาณ 2.2 กิโลเมตร หลังจากรอดชีวิตมาได้เขาก็กลายเป็นผู้สนับสนุนเพื่อให้มีการกำจัดอาวุธนิวเคลียร์และหวังว่าด้วยการแบ่งปันประสบการณ์ที่เกิดขึ้นกับตัวเขาจะช่วยให้ป้องกันไม่ ให้คนอื่นๆต้องได้รับผลกระทบจากอาวุธนิวเคลียร์ ในปี 2553 เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้เผยแพร่ข้อมูลให้กับโครงการโลกปราศจากอาวุธนิวเคลียร์ของรัฐบาลญี่ปุ่น

นายโยชิโร่ ยามาวากิ ผู้รอดชีวิตจากเมืองนางาซากิ

ก่อนเวลา 11 นาฬิกา ผมและน้องชายฝาแฝดออกไปนั่งอยู่ตรงระเบียง เรารู้สึกหิวจึงตรงดิ่งเข้าไปในห้องนั่งเล่นที่หลังบ้าน ขณะที่เรากำลังนั่งอยู่ที่โต๊ะจู่ๆก็มีแสงวาบสีน้ำเงินสาดเข้ามาในห้อง จากนั้นก็มีเสียงดังกึกก้องตามมาด้วยบ้านทั้งหลังสั่นสะเทือน หลังคาบ้านปลิวหลุดออกไปจนเราเห็นท้องฟ้า เสาและกำแพงบ้านเต็มไปด้วยเศษแก้ว บ้านหลังอื่นๆในละแวกใกล้เคียงก็ตกอยู่ในสภาพเดียวกันและเมื่อมองข้ามอ่าวไปตรงบริเวณใจกลางเมืองก็มีกลุ่มเมฆสีดำของเถ้าถ่านลอยเต็มไปหมด

น้องชายกับผมออกมาจากที่หลบภัยเพื่อรอพ่อกับพี่ชายกลับมาบ้าน ประมาณหนึ่งชั่วโมงหลังจากนั้นพี่ชายก็กลับมาจากโรงงาน เขาบอกเราว่ามันอันตรายเกินไปที่จะอยู่ในหลุมหลบภัยเล็กๆและบอกให้ย้ายไปยังหลุมที่ใหญ่กว่าที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง

หลุมหลบภัยขนาดใหญ่เป็นถ้ำที่เกิดจากการสกัดหินหน้าผาเข้าไปด้านใน ที่นั่นเต็มไปด้วยผู้หญิงและเด็ก พวกเด็กๆที่วิ่งเล่นอยู่นอกบ้านตอนที่เกิดระเบิดและสัมผัสกับคลื่นความร้อนมีอาการไหม้ตามผิวหนัง ส่วนเด็กคนอื่นๆได้รับบาดเจ็บจากเศษแก้วและข้าวของต่างๆตามผิวหนัง พวกเราเฝ้ารอพ่อกลับมาด้วยใจจดจ่อตลอดทั้งคืนแต่จนเช้าพ่อก็ยังไม่กลับมา พวกเราสามคนจึงออกตามหาพ่อ

ตลอดทางเต็มไปด้วยศพที่ปะปนอยู่กับเศษเถ้าถ่าน ศพพวกนั้นมองดูเหมือนกับตุ๊กตายางสีดำซึ่งเมื่อถูกรองเท้าของเราก็จะลอกออกเหมือนเปลือกผลไม้ ในแม่น้ำก็มีศพมากมายที่อยู่ในสภาพที่ทำให้เราถึงกับอยากจะอาเจียนออกมา

โรงงานของพ่อแทบจะไม่เหลืออะไรเลยนอกจากโครงเหล็กนิดๆหน่อยๆ ที่นั่นมีชายสามคนกำลังใช้พลั่วขุดลงไปในซากอาคาร พวกเราตะโกนเรียก “พวกเรานามสกุลยามาวากิ พ่อของเราอยู่ที่ไหนพอจะทราบไหมครับ” ชายคนหนึ่งมองไปด้านหน้าแล้วบอกพวกเราว่า “พ่อของพวกเธออยู่นั่นไง” แล้วเขาก็ชี้มือไปยังซากอาคารที่ถูกระเบิดถล่มข้างหน้า

พวกเราสามคนรีบวิ่งไปที่นั่นและสิ่งที่เราพบก็คือศพของพ่อที่บวมเหมือนกับศพอื่นๆ เรายืนนิ่งพูดอะไรไม่ออก ชายที่ถือพลั่วบอกว่าหากพวกเราต้องการเอาศพของพ่อกลับไปก็ควรจะเผาเสียก่อนแต่ที่เผาศพก็ใช้งานไม่ได้เพราะถูกระเบิดจนเสียหายเช่นกัน

เมื่อไม่รู้ว่าจะทำอะไรต่อไป พวกเราเดินไปรอบๆซากที่เหลืออยู่ของโรงงานเพื่อหาเศษไม้มาเผาศพพ่อ เราวางศพของพ่อไว้ตรงจุดที่จะเผาและเอาเศษไม้มากองไว้บนตัวเขา ไฟลามเลียไปอย่างรวดเร็วและพุ่งเปลวสูงขึ้นไปบนอากาศ แต่ปรากฏว่าศพยังคงอยู่ในสภาพเดิมคือครึ่งหนึ่งมีสภาพเป็นเถ้าถ่านและอีกครึ่งถูกเผาไหม้ ที่นั่นไม่มีคนของบริษัทอยู่เลย พวกเราสามพี่น้องต้องการเก็บแค่กระดูกของพ่อแต่ในเมื่อเป็นเช่นนั้นเราจึงเก็บเอากระดูกเพียงบางส่วนไปเพราะส่วนที่ไหม้ไฟคือ ปลายมือ ปลายเท้าและส่วนท้องอีกนิดหน่อยเท่านั้น

ศพของพ่อดูเหมือนกับโครงกระดูกที่ปกคลุมด้วยเถ้าถ่านแลดูน่าสยดสยอง ยิ่งเราคิดว่าศพนี้เคยเป็นพ่อของเรา คนๆเดียวกับที่ทานข้าวและพูดคุยกับเรา ผมหันไปบอกพี่น้องคนอื่นว่า “เรากลับบ้านกันเถอะ ทิ้งศพพ่อไว้ที่นี่แหละ”

สงครามโลกครั้งที่สอง-สภาพเมืองนางาซากิหลังถูกระเบิดปรมาณู

สงครามโลกครั้งที่สอง-สภาพเมืองนางาซากิหลังถูกระเบิดปรมาณู

เมื่อคิดย้อนไปถึงเวลานั้น ผมรู้ว่านั่นเป็นสิ่งที่ผิด พี่ชายหันไปมองศพของพ่อสักครู่หนึ่งก่อนจะพูดว่ามันไม่มีอะไรที่เราจะทำได้แล้วนอกจากเอากะโหลกของพ่อกลับบ้าน     พี่ชายของผมเอาคีมมาด้วยแต่เมื่อเขาพยา ยามใช้คีมคีบกะโหลกขึ้นปรากฏว่าสภาพของมันทำให้ความตั้งใจของพวกเราต้องเปลี่ยนไป พวกเราออกวิ่งและทิ้งทุกอย่างไว้ที่นั่น

ผมคิดว่าทุกคนที่สูญเสียสมาชิกในครอบครัวหรือคนใกล้ชิดในเหตุระเบิดครั้งนั้นจะต้องผ่านประสบการณ์ที่คล้ายคลึงกันกับเรา มีคนที่เสียชีวิตเพราะระเบิดลูกเดียวลูกนั้นถึง 74,000 คน

มันเป็นภาพที่ไม่เคยลบเลือนไปจากความทรงจำของผมเลย

ตราบใดที่โลกนี้ยังมีอาวุธนิวเคลียร์อยู่ มันก็คงจะหลีกเลี่ยงที่จะเกิดหายนะภัยไม่ได้ ได้โปรดช่วยให้ความแข็งแกร่งกับพวกเราในการกำจัดอาวุธนิวเคลียร์ให้หมดไปจากโลกเพื่อให้นางาซากิเป็นสถานที่แห่งสุดท้ายบนโลกที่เผชิญกับความสูญเสียจากโศกนาฏกรรมแบบนี้ พวกเราทุกคนควรร่วมมือกันเพื่อสร้างโลกที่สงบสุข โลกที่ปราศจากสงคราม ระเบิดปรมาณูไม่ใช่อาวุธธรรมดา พวกมันจึงไม่ควรถูกนำมาใช้ไม่ว่าจะในการทำสงครามครั้งใดก็ตาม อย่างที่เราทุกคนก็รู้ แม้แต่สงครามก็ยังต้องขอบเขต