เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เยาวชนไทยมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายมนุษยธรรม คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศหรือไอซีอาร์ซีได้ร่วมมือกับสภากาชาดไทยและกระทรวงศึกษาธิการพัฒนาหลักสูตร Exploring Humanitarian Law (EHL) หรือในภาษาไทยว่า การเรียนรู้กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศเพื่อเยาวชน และจากความร่วมมือของทุกฝ่ายทำให้ในวันที่ 30 พฤษภาคม 2556 ได้มีการลงนามในบันทึกข้อตกลงสามฝ่ายระหว่างกระทรวงศึกษาธิการของไทย ไอซีอาร์ซี และสภากาชาดไทย ให้มีการบรรจุหลักการเรียนรู้เรื่องกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ เข้าไว้ในหลักสูตรกิจกรรมยุวกาชาดระดับมัธยมศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการใช้หลักสูตรการเรียนรู้กฎหมายมนุษยธรรรมระหว่างประเทศเพื่อเยาวชน (EHL) ซึ่งเป็นหลักสูตรการศึกษาสากลสำหรับระดับมัธยมศึกษา ที่ไอซีอาร์ซีและผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาได้ร่วมกันจัดทำขึ้นเพื่อช่วยเหลือภาครัฐซึ่งมีพันธกิจในการเผยแพร่กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศไปสู่ภาคประชาชนตามที่บัญญัติไว้ในอนุสัญญาเจนีวา

นักเรียนนำเสนอข้อสรุปจากการอภิปรายกลุ่มระหว่างกิจกรรมการสาธิตการเรียนการสอน

นักเรียนนำเสนอข้อสรุปจากการอภิปรายกลุ่มระหว่างกิจกรรมการสาธิตการเรียนการสอน

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ (EHL)

EHL คืออะไร

– Exploring Humanitarian Law (EHL) เป็นหลักสูตรการศึกษาซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ที่ใช้ในภาวะความขัดแย้งทางอาวุธ อย่างไรก็ตามกฎหมายดังกล่าวก็มีความสำคัญในภาวะสงบสุขด้วยเช่นกัน เนื่องจากหลักสูตรดังกล่าวถูกออกแบบมาเพื่อเสริมสร้างและปลูกฝังเหล่าเยาวชนให้มีความเคารพต่อชีวิตและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และเพื่อให้ยึดถือแนวทางดังกล่าวในการใช้ชีวิต รวมทั้งในการปฏิสัมพันธ์ในสังคมต่อไป

บทบาทของไอซีอาร์ซีในการพัฒนาหลักสูตรนี้คืออะไร

-ไอซีอาร์ซีมีความร่วมมืออันแน่นแฟ้นกับสำนักการลูกเสือ ยุวกาชาด และกิจการนักเรียน ภายใต้กระทรวงธิการและสำนักยุวกาชาดของสภากาชาดไทย ในการพัฒนาหลักสูตร ไอซีอาร์ซีได้ให้การสนับสนุนการทดลองสอน การฝึกอบรมผู้สอน การปรับใช้สื่อการสอน และการจัดกิจกรรมในระดับภูมิภาคต่างๆเพื่อสร้างโอกาสในการแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ในภูมิภาคเอเชีย

นักเรียนมีมุมมองอย่างไรกับหลักสูตรนี้

-ที่ผ่านมานักเรียนที่เข้าฝึกอบรมในหลักสูตรนี้มีความตื่นตัวกับการเรียนการสอน ซึ่งมีการจัดการแสดงตามบทบาทหรือ Role Play ในบทของผู้เห็นเหตุการณ์ในสถานการณ์การปกป้องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ นักเรียนจะได้ถกถึงปัญหาที่ผู้เห็นเหตุการณ์จะต้องเผชิญในสถานการณ์ดังกล่าว รวมไปถึงผลที่ตามมาจากการตัดสินใจในสถานการณ์นั้นๆ ซึ่งสิ่งที่น่าสนใจที่สุดของหลักสูตรนี้ก็คือการให้นักเรียนรับบทบาทนำในการกระบวนการเรียนการสอน โดยครูจะเป็นเพียงผู้ช่วยแนะแนวทางและสนับสนุนการอภิปรายแลกเปลี่ยนความเห็นระหว่างนักเรียนเท่านั้น